by author1 author1

กรดยางออแกนิก

กรดยางออแกนิก นวัตกรรมใหม่ไม่กัดคน

ได้เป็นอย่างดี นอกจากราคาจะถูกกว่าแล้ว ยังมีความปลอดภัยกว่าด้วยการใช้กรดส้มยาง หรือ กรดแอซิติก กรดฟอร์มิก กรดกำมะถัน เพื่อให้น้ำยางแข็งตัวก่อนนำไปแปรรูปเป็นยางแท่ง ยางแผ่น เป็นเรื่องที่เกษตรกรชาวสวนยางรู้จักใช้กันมานาน แต่ก็ยังมีปัญหาราคาแพง กรดส้มยางมีฤทธิ์กัดกร่อน ใช้โดยไม่ระมัดระวัง กรดส้มยางมีสิทธิ์กระเด็นเข้าตาทำให้บอดได้ หากราดพลาดไปโดนหน้ายางจะกลายเป็นตายนึ่ง กรีดยางไม่ได้ กรดส้มหกไหลลงพื้นดินทำให้ต้นยางรากเน่าตาย เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว กลุ่มเกษตรไทยไชโย ภาคตะวันออก ได้ร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ผลิตกรดออแกนิก ที่สามารถใช้แทนกรดน้ำส้ม

 

แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/content/449235

นายประมุข เวชย์สกล นักวิชาการกลุ่มเกษตรไทยไชโย เผยว่า ได้ใช้เวลาคิดค้นกรดตัวนี้มากว่า 2 ปี และจากการนำไปทดสอบใช้งานจริง หยดลงถ้วยน้ำยาง 24 ซีซี หรือ 3 ช้อนแกงต่อน้ำยาง 1 ถ้วย 300 ซีซี กวนให้เข้ากัน ไม่ต้องปาดฟองอากาศออก ทิ้งไว้ให้จับตัวเป็นก้อน ปรากฏว่า น้ำยางแข็งตัวไว ก้อนยางสีสวย ไม่ติดก้นถ้วย นำไปแขวนไว้บนราวให้แห้งประมาณ 7-10 วัน คุณสมบัติไม่ต่างจากการใช้กรดน้ำส้มแบบเดิมทุกประการ

 

แต่ความปลอดภัยมีมากกว่า สังเกตได้จากกรดออแกนิกไม่มีกลิ่นของสารระเหยที่รุนแรงกับจมูก และเมื่อยางแข็งตัว เกษตรกรสามารถใช้มือเปล่าไล่บิดน้ำทิ้งใต้โคนต้นได้ โดยไม่ต้องกลัวว่าต้นยางจะเสียหาย ขี้ยางไม่มีกลิ่นเหม็น

และที่เห็นได้ชัดเจน สามารถนำกรดออแกนิกมาราดมือได้โดยไม่มีอันตราย ไม่รู้สึกแสบคันแต่อย่างใด ไม่เหมือนกรดส้มยางแบบเดิมที่ราดแล้วจะเกิดแสบคันและพุพองตามมา อีกทั้งเมื่อนำยางก้อนถ้วยไปทำเป็นยางแผ่นก็ไม่ทำความเสียหายให้กับเครื่องมือรีดยาง

แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/content/449235

 

 

 

 

แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/content/449235

 

 

 

by author1 author1

ใบย่านาง

ใบย่านาง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้เถาเลื้อย เถากลมขนาดเล็ก มีเนื้อไม้ เลื้อยพันตามต้นไม้ หรือกิ่งไม้ เถามีสีเขียว ยาว 10-15 เมตร เถาอ่อนสีเขียว เมื่อเถาแก่จะมีสีคล้ำ แตกเป็นแนวถี่ เถาอ่อนมีขนนุ่มสีเทา มีเหง้าใต้ดิน กิ่งก้านมีรอยแผลเป็นรูปจานที่ก้านใบหลุดไป มีขนประปราย หรือเกลี้ยง ใบเดี่ยว หนา สีเขียวเข้มเป็นมัน เรียงแบบสลับ รูปไข่ ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ฐานใบมน ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ผิวใบเรียบมัน ไม่มีหูใบ เนื้อใบคล้ายกระดาษ แต่แข็ง เหนียว มีเส้นใบกึ่งออกจากโคนใบรูปฝ่ามือ 3-5 เส้น และมีเส้นแขนงใบ 2-6 คู่  ออกเป็นพวง ตามข้อและซอกใบ ติดบนก้านยาว 3-4 มิลลิเมตร เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มและแดงสด เมล็ดรูปเกือกม้า พบตามป่าเต็งรัง ป่าดิบใกล้ทะเล ตามริมน้ำในป่าละเมาะ พบมากในที่รกร้าง ไร่ สวน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน

 

สรรพคุณ

ตำรายาไทย  ใช้ ราก รสจืด รสจืดขม ใช้ในตำรับยาแก้ไข้เบญจโลกวิเชียร (ประกอบด้วยรากย่านาง รวมกับรากเท้ายายม่อม รากมะเดื่อชุมพร รากคนทา รากชิงชี่ อย่างละเท่าๆกัน)

  • แก้ไข้ (ใช้รากแห้งครั้งละ 1 กำมือ หรือประมาณ 15 กรัม ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็น) ใบ รสจืดขม รับประทานถอนพิษ แก้ไข้ อีสุกอีใส หัด ลิ้นกระด้างคางแข็ง เป็นยากวาดคอ
  • แก้พิษเมาเบื่อ กระทุ้งพิษไข้ แก้เมาสุรา ถอนพิษผิดสำแดง นำมาต้มกินเป็นยาแก้อีสุกอีใส ตุ่มผื่น แก้ไข้ ขับพิษต่างๆ
  • แก้ท้องผูก ก้านที่มีใบผสมกับพืชอื่นใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย

ชาวบ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ น้ำคั้นจากใบ มีรสขม ปรุงใส่แกงหน่อไม้แกงอ่อม หรือแกงอีสานต่างๆ เป็นเครื่องชูรสได้ดีชนิดหนึ่ง เส้นใยจากเถา เหนียวมาก ใช้ทำเชือก หรือใช้มัดตับหญ้าคาที่ใช้มุงหลังคาได้

การศึกษาพิษวิทยา

สารสกัดใบย่านางด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ 50 ฉีดเข้าไปใต้ผิวหนังของหนู ปริมาณ 10 กรัม ต่อน้ำหนักตัวของหนู 1 กิโลกรัม (คิดเป็นปริมาณ 6,250 เท่าของปริมาณที่คนได้รับ) ไม่แสดงความเป็นพิษ

 

 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  • เมื่อทำน้ำย่านางเสร็จแล้วควรดื่มทันที เพราะถ้าทิ้งไว้นานเกินไปจะเกิดกลิ่นเหม็นเปรี้ยวหรือเกิดการบูดขึ้นได้ แต่สามารถนำมาแช่ตู้เย็นได้ และควรดื่มให้หมดภายใน 3 วัน
  • ในการดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนอาหารหรือตอนท้องว่างประมาณครึ่งแก้ว 3 ครั้งต่อวัน
  • บางคนที่รู้สึกว่าน้ำย่านาง เหม็นเขียว รับประทานยากสามารถนำน้ำย่านางไปต้มให้เดือดแล้วนำมาดื่มหรือจะผสมกับน้ำสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ก็ได้ เช่น ขิง ตะไคร้ ขมิ้น หรือจะผสมกับน้ำมะพร้าว น้ำมะนาว น้ำตาล หรือแม้แต่น้ำหวานก็ได้เช่นกัน
  • ควรดื่มปริมาณแต่พอดี หากดื่มแล้วรู้สึกแพ้ พะอืดพะอม ก็ควรลดความเข้มข้นของสมุนไพรที่ใส่ลงไปให้น้อยลง

แหล่งที่มา : http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=148

แหล่งที่มา : https://www.disthai.com/16941446

by author1 author1

มันสำปะหลัง

ประโยชน์ของมันสำปะหลัง (Benefits of Cassava)

มันสำปะหลังคืออะไร  

มันสำปะหลัง  เป็นผักชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้เป็นแหล่งของพลังงานและคาร์โบไฮเดรต ในประเทศกำลังพัฒนานิยมรับประทานมันสำปะหลังกันอย่างมาก

มันสำปะหลัง เป็นพืชที่มีพื้นที่ปลูกอยู่ในเขตร้อนของโลก เนื่องจากสามารถเติบโตได้ในสภาวะที่ยากลำบาก เป็นพืชที่ทนแล้งมากที่สุดชนิดหนึ่ง

ส่วนของมันสำปะหลังที่นิยมบริโภคกันมากที่สุด คือ หัวมัน ซึ่งมีประโยชน์หลากหลายมาก สามารถนำมาขูด หรือบดเป็นแป้งเพื่อทำขนมปังและแครกเกอร์ หรือรับประทานทั้งหัว

 

ประกอบด้วยสารอาหารหลักไม่กี่อย่าง

หัวมันสำปะหลังต้มสุกขนาด 3.5 ออนซ์ (100 กรัม) ให้พลังงาน 112 แคลอรี่ โดย 98% มาจากคาร์โบไฮเดรต ส่วนที่เหลือมาจากโปรตีนและไขมันเล็กน้อย

ในมันสำปะหลังต้มสุก 3.5 ออนซ์ (100 กรัม) พบสารอาหารต่อไปนี้

  • พลังงาน : 112 แคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต : 27 กรัม
  • ไฟเบอร์ : 1 กรัม
  • ไทอามีน : 20% ของ RDI
  • ฟอสฟอรัส : 5% ของ RDI
  • แคลเซียม : 2% ของ RDI
  • ไรโบฟลาวิน : 2% ของ RDI

การแปรรูปมันสำปะหลังเป็นการลดคุณค่าทางโภชนาการ

การแปรรูปมันหัวมันสำปะหลังด้วยการปอกเปลือก สับ และปรุงอาหาร เป็นการลดคุณค่าทางโภชนาการลงอย่างมาก  เนื่องจากวิตามินและแร่ธาตุจำนวนมากถูกทำลาย จากกระบวนการแปรรูปเช่นเดียวกับไฟเบอร์ และแป้งที่ให้พลังงานต่ำ

ดังนั้น มันสำปะหลังที่นิยมนำมาแปรรูปมากขึ้น เช่น  แป้งมันสำปะหลัง และ การ์รี่ จึงมีคุณค่าทางโภชนาการที่จำกัดมาก  ตัวอย่าง เช่น ไข่มุกมันสำปะหลัง 1 ออนซ์ (28 กรัม) ให้ แต่พลังงานและแร่ธาตุเล็กน้อย

การต้มหัวมันสำปะหลังเป็นวิธีการปรุงอาหารวิธีหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าสามารถกักเก็บสารอาหารไว้ได้มากที่สุด ยกเว้นวิตามินซี ซึ่งไวต่อความร้อนและถูกชะล้างในน้ำได้ง่าย

 

คุณสมบัติของแป้งมันสำปะหลัง

มันสำปะหลัง เป็นแป้งที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ ซึ่งเป็นแป้งชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติคล้ายกับเส้นใยที่ละลายน้ำได้   การบริโภคอาหารที่มีแป้งที่ย่อยไม่ได้อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวมหลายประการ

  • ประการแรก แป้งที่ย่อยไม่ได้จะเป็นอาหารของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ ซึ่งอาจช่วยลดการอักเสบ และส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร

นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษา การมีส่วนช่วยในการเผาผลาญอาหารที่ดีขึ้นของแป้งที่ย่อยไม่ได้และลดความเสี่ยงต่อโรคอ้วน และโรคเบาหวาน

เนื่องจากนอกเหนือจากบทบาทในการส่งเสริมความอิ่มและลดความอยากอาหารแล้ว ยังมีศักยภาพในการฟื้นฟูการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วย

 

 

 

ประกอบด้วยสารต้านโภชนาการ

ข้อเสียของมันสำปะหลัง ที่สำคัญอย่างหนึ่งของมันสำปะหลังคือประเด็นของสารต้านโภชนาการ

สารต้านโภชนาการ เป็นสารประกอบจากพืชที่อาจรบกวนการย่อยอาหารและขัดขวางการดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุในร่างกาย

สารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดที่พบในมันสำปะหลัง มีดังนี้ :

  • ซาโปนิน(Saponins) : เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจมีข้อเสีย เช่น ลดการดูดซึมวิตามิน และแร่ธาตุบางชนิด
  • ไฟเตต (Phytate) : สารต้านอนุมูลอิสระนี้อาจรบกวนการดูดซึมของแมกนีเซียมแคลเซียมเหล็กและสังกะสี
  • แทนนิน(Tannins): รู้จักกันดีว่ามีผลในการลดความสามารถในการย่อยโปรตีนและขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง และไทอามีน

 

อันตรายของมันสำปะหลัง

การบริโภคมันสำปะหลังดิบโดยปรุงไม่ถูกวิธี หรือบริโภคในปริมาณมากอาจเป็นอันตราย  เนื่องจากมันสำปะหลังดิบมีสารเคมีที่เรียกว่า  “ไซยาโนจินิกไกลโคไซด์”   ซึ่งสามารถปล่อยไซยาไนด์ในร่างกายภายหลังการบริโภค เมื่อรับประทานบ่อยๆ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นพิษของไซยาไนด์ ซึ่งอาจมีผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์และเส้นประสาท มีความสัมพันธ์กับการเป็นอัมพาตและอวัยวะถูกทำลาย จนอาจถึงแก่ชีวิตได้

 

วิธีปรุงมันสำปะหลัง

โดยทั่วไป สามารถบริโภคมันสำปะหลังได้อย่างปลอดภัยเมื่อถูกปรุงเป็นอาหารอย่างถูกต้อง และรับประทานเป็นครั้งคราวในปริมาณปานกลาง  ขนาดบริโภคที่เหมาะสมคือประมาณ 1 / 3–1 / 2 ถ้วย

วิธีสามารถรับประทานมันสำปะหลังได้อย่างปลอดภัย 

 

  • ปอกเปลือก : เปลือกของหัวมันสำปะหลังเป็นบริเวณที่มีสารประกอบส่วนใหญ่สำหรับสร้างไซยาไนด์
  • การแช่น้ำ : การแช่มันสำปะหลังโดยจุ่มลงในน้ำเป็นเวลา 48–60 ชั่วโมงก่อนที่จำปรุงอาหาร และรับประทาน อาจช่วยลดปริมาณสารเคมีที่เป็นอันตรายได้
  • ปรุงให้สุก : เนื่องจากสารเคมีที่เป็นอันตรายพบอยู่ในมันสำปะหลังดิบ จึงจำเป็นต้องปรุงให้สุกโดยการต้มย่าง หรืออบ เป็นต้น ปัจจุบันนิยมนำมาอบและบดเป็นมันบด
  • บริโภคร่วมกับโปรตีน : การกินโปรตีนร่วมกับมันสำปะหลังอาจเป็นประโยชน์ เนื่องจากโปรตีนช่วยกำจัดไซยาไนด์ที่เป็นพิษ
  • รับประทานอาหารให้สมดุล : คุณสามารถป้องกันผลข้างเคียงจากมันสำปะหลังได้โดยรับประทานอาหารอย่างหลากหลายในแต่ละมื้ออาหารของคุณ และไม่รับประทานมันสำปะหลังเพื่อแหล่งโภชนาการเพียงอย่างเดียวของคุณ

 

แหล่งที่มา : https://ihealzy.com/benefits-of-cassava/

by author1 author1

สารละลายคอนกรีต

Plasticizer สำหรับสารละลายคอนกรีต: อะไรคืออะไรและทำไมต้องใช้ ?

สารเติมแต่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสารละลายคอนกรีต ซึ่งได้จากวิธีทางเคมีเรียกว่า plasticizers

พลาสติกสำหรับปูนซีเมนต์มีการแบ่งหลายเกรด ซึ่งแต่ละเกรดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน

  • plasticizer จะช่วยลดการใช้วัสดุก่อสร้าง
  • คุณสมบัติการยึดเกาะของคอนกรีตดีขึ้นและสัดส่วนของซีเมนต์ต่อน้ำยังคงเหมือนเดิม
  • น้ำในสารละลายดังกล่าวแข็งตัวที่อุณหภูมิต่ำอุณหภูมิและความแข็งแรงคอนกรีตเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ลดค่าใช้จ่าย สำหรับการทำความร้อนการแก้ปัญหาหรือการใช้สารเคมีอื่น ๆ
  • ความต้านทานต่อน้ำและความหนาแน่นของก๊าซของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

การจำแนกประเภทของสารเติมแต่ง

  • ตัวเร่งปฏิกิริยาหรือตัวยับยั้งการแข็งตัวของคอนกรีต
  • (คุณสมบัติทนต่อการกัดเซาะอุณหภูมิสูง ฯลฯ )

plasticizer สำหรับปูนก่ออิฐ มีความแข็งแรงปานกลางหรืออ่อน มีส่วนผสมของ mono-, bi- และ polyvalent

คุณภาพและประสิทธิภาพของพลาสติก

ลักษณะทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปแต่ชนิดและคุณสมบัติของพลาสติไซเซอร์ จะได้รับ

ผลกระทบรวมถึงคุณภาพของซีเมนต์ด้วย

สรุปแล้วเราสามารถพูดได้ว่าพลาสติไซเซอร์สำหรับปูน (ราคาขึ้นอยู่กับผู้ผลิต) ไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุนของวัสดุก่อสร้างเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มผลิตภาพแรงงานด้วย

แหล่งที่มา : https://th.stuklopechat.com/

by author1 author1

น้ำกระชาย

น้ำกระชายเสริมภูมิคุ้มกัน

กระชาย เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการใช้เป็นอาหารและยามานาน  ภูมิปัญญาพื้นบ้านใช้แก้โรคที่เกิดในปาก  เช่น  ปากเปื่อย  ปากเป็นแผล  รักษาอาการจมูกไม่ได้กลิ่น ไซนัสอักเสบ  ช่วยย่อยอาหาร  เพิ่มสมรรถภาพทางเพศชองเพศชาย  ยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง  แก้ปวดเมื่อย

มีการศึกษาพบว่า สารสกัดของกระชายสามารถแสดงฤทธิ์ในการต้านไวรัสซาร์ส ในระยะหลังการติดเชื้อและยังพบว่าสารแพนดูราทิน (pan-duratin) ของกระชายขาวมีฤทธิ์ในการต้านไวรัสทั้งในระยะก่อนและหลังการติดเชื้อ และยังมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเชื้อเอดส์ ต้านไวรัสไข้เลือดออกในกลุ่ม Flaviviridae family และยังยั้งเชื้อพิโคร์นาไวรัส (picornaviruses) ซึ่งก่อโรคมือเท้าปาก

นอกจากนี้ยัง พบว่า ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ แต่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในสัตว์ทดลองและในคนต่อไป

ส่วนผสม

  • กระชายเหลืองสดครึ่งกิโล (หรือจะใช้สูตรผสมก็ได้ โดยใช้กระชายเหลือง 5 ส่วน กระชายดำ 1 ส่วน และกระชายแดง 1 ส่วน)
  • น้ำผึ้ง
  • น้ำมะนาว
  • น้ำเปล่าต้มสุกที่ทิ้งไว้จนเย็น

ขั้นตอนการทำน้ำกระชาย

  • นำกระชายมาล้างให้สะอาด ตัดหัวและท้ายทิ้งไป ถ้าขูดเปลือกออกบ้างก็จะดีมาก
  • นำมาหั่นเป็นท่อน ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการนำมาปั่น
  • เตรียมผ้าขาวบางรองด้วยกระชอน
  • นำกระชายที่เตรียมไว้ใส่ในโถปั่นและผสมกับน้ำเปล่าต้มสุกพอประมาณ แล้วปั่นจนละเอียด
  • เทใส่กระชอนที่เตรียมไว้ ถ้าน้ำน้อยก็ให้ผสมน้ำเปล่าลงไปอีก แล้วคั้นเอาแต่น้ำเท่านั้น

 

เมื่อจะดื่มก็เพียงแค่นำมาผสมกับน้ำมะนาว น้ำผึ้งในถ้วยแล้วคนให้เข้ากัน แล้วจึงใส่น้ำกระชายตามลงไป

เมื่อผสมจนรสชาติกลมกล่อมตามที่ต้องการแล้วก็เป็นอันเสร็จ

แต่ถ้ากลัวว่ากลิ่นกระชายจะแรงไป ก็สามารถใช้ใบบัวบกหรือใบโหระพามาปั่นรวมกันก็ได้ตามใจชอบ เพราะไม่มีส่วนผสมที่เป็นสูตรตายตัวเท่าไหร่

Tip : น้ำกระชายไม่ควรเก็บไว้นานมาก เพราะจะทำให้ความซ่าและความหอมของกระชายลดน้อยลง ทำให้เกิดตะกอนที่ก้น ถ้าจะให้ดีที่สุดก็ควรดื่มให้หมดภายใน 1 อาทิตย์ จะได้ทั้งรสชาติที่ซ่า ดื่มแล้วชื่นใจ พร้อมประโยชน์เต็ม ๆ ด้วย แต่สำหรับผู้ที่ดื่มน้ำกระชายแล้วมีอาการแปลก ๆ ร้อนวูบวาบ หรือมีอาการเหงื่อออกหรือเรอออกมาก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเป็นอาการปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ หากดื่มไปสักพักเดี๋ยวก็ชินไปเอง

แหล่งที่มา : https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2348

https://www.opsmoac.go.th/surin-local_wisdom-preview-422891791854

 

 

 

 

 

 

by author1 author1

EM น้ำดำ

EM (Effective Microorganisms)

คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพที่ได้รับการคัดสรรเป็นอย่างดี มีประโยชน์ต่อคน พืช สัตว์ และ สิ่งแวดล้อม  ซึ่ง EM นั้นจะประกอบด้วย ดังนี้

► กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic Bacteria) คุณสมบัติ สังเคราะห์สารอินทรีย์และสร้างความอุดมสมบูรณ์

► กลุ่มจุลินทรีย์สร้างกรดแลคติก (Lactic Acid Bacteria) คุณสมบัติ ต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ

► กลุ่มจุลินทรีย์หมัก เช่น ยีสต์ (Yeast) คุณสมบัติ ช่วยในการย่อยสลาย

 ประสิทธิภาพของ EM

  • ปรับสภาพดิน น้ำ อากาศ ให้ดีขึ้น
  • สามารถเปลี่ยนสภาพความเป็นกรด-ด่าง ให้สมดุล
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการหมัก การย่อยสลาย ทำให้เกิดสารอาหารเป็นปุ๋ย
  • ลดการใช้สารพิษ สารเคมี เพื่อสิ่งแวดล้อม ที่ดีกว่า
  • สามารถป้องกันเชื้อโรค และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพืชและสัตว์

 ลักษณะทั่วไปของ EM

EM เป็นจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ เรียกว่า กลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ต้องคำนึงถึงเสมอว่า EM เป็นสิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะ ดังนี้

  • ต้องการที่อยู่ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ
  • ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
  • เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้
  • เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
  • EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้น ควรนำไปใช้งานในช่วงเย็นของวัน
  • เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย

EM เป็น จุลินทรีย์จากธรรมชาติ ที่คัดสรรมาเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ก่อโรค ประสิทธิภาพสูง ไม่เป็นพิษกับคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งช่วยลดการใช้สารเคมี ใช้เพื่อปรับสมดุลให้กับดิน, บำบัดน้ำเสีย, กำจัดกลิ่นจากขยะมูลฝอย เป็นต้น

 

ประโยชน์ใช้สอยของ  EM เราสามารถนำประโยชน์มาใช้ในด้านใดบ้าง ?

  • การเกษตร เช่น การเตรียมแปลงปลูก การดูแลพืช ผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ชีวภาพต้นทุนต่ำ
  • ปศุสัตว์ เช่น ผสมน้ำและอาหารให้สัตว์กิน ผสมน้ำให้สัตว์เลี้ยงกิน เช่น ให้เป็ด ไก่ สุกร สัตว์เลี้ยงแข็งแรง ไม่เกิดโรค มูลของสัตว์เลี้ยงไม่มีกลิ่นเหม็น
  • ในครัวเรือน ใช้ทำความสะอาด กำจัดกลิ่นในบริเวณต่าง ๆ เช่น ห้องครัว หรือใช้เทลงท่อป้องกันการอุดตันของท่อและรางระบายน้ำ
  • การประมง เช่น การเตรียมบ่อ ปรับสภาพน้ำ

ข้อสังเกตุ
 EM ดี จะมีสีน้ำตาล และกลิ่นหอมเปรี้ยว
 EM เสีย จะมีสีดำ และมีกลิ่นเหม็นเน่า (ควรเทลงส้วมหรือนำไปกำจัดวัชพืช)

วิธีเก็บรักษา EM

  • เก็บในที่ร่ม ที่อุณหภูมิ 20-45 °C
  • อย่าทิ้ง EMไว้กลางแดดและอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ
  • ถ้ายังไม่เปิดใช้ เก็บไว้ได้นาน 1 ปี
  • ถ้าเปิดใช้แล้ว เก็บไว้ได้นาน 6 เดือน
  • ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษเข้าปะปน
  • การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดภายในระยะเวลาที่เหมาะสม

 

แหล่งที่มา : https://marumothai.com/article/em

by author1 author1

เลือดหมูช่วยฟื้นฟูเซลล์ปอด

เลือดหมูช่วยฟื้นฟูเซลล์ปอด

หมูสัตว์อู๊ดๆๆ ที่มนุษย์กินเป็นอาหาร ได้กลายมาเป็นพระเอกหน้าใหม่ในวงการพัฒนาวิจัยทางการแพทย์ต่อจากหนูทดลอง และ ลิงแสม ซึ่งเคยเป็นสัตว์ที่มีพันธุกรรมใกล้เคียงมนุษย์ในการพัฒนายาและวัคซีนมากที่สุด

ล่าสุด สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จในการทดลอง ฟื้นฟูปอดที่เสียหายหลังได้รับบริจาคมาจากผู้เสียชีวิต ด้วยการเชื่อมต่อปอดนั้นเข้ากับหลอดเลือดที่ลำคอของหมูเป็นๆ เพื่อให้กระแสเลือดจากตัวหมูไหลเวียนเข้ามาฟื้นฟูเซลล์ปอด

 

รายงานวิจัยนี้ ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสาร  Nature Medicine ระบุว่า ปอดของมนุษย์ที่ได้รับบริจาคมาเพื่อการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายมี จำนวนมากที่เสียหายใช้การไม่ได้จนต้องทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย การทดลองครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จที่ทำให้แพทย์ค้นพบวิธีที่ช่วยซ่อมแซมปอดให้กลับมาอยู่ในสภาพดีเช่นเดิมได้ โดยใช้เลือดจากหมูที่ยังมีชีวิตอยู่

 

รายงานวิจัยดังกล่าว ระบุว่า วิธีนี้นอกจากจะช่วยซ่อมแซม ฟื้นฟูปอดให้ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยเพิ่มจำนวนปอดที่สามารถนำไปผ่าตัดปลูกถ่ายเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยได้มากขึ้นกว่าเดิมถึง 3 เท่า โดยใช้เวลาเพียง 24 ชั่วโมง สามารถแก้ปัญหาความขาดแคลนซึ่งมาจากการที่ปอดเป็นอวัยวะบอบบางเสียหายง่าย และเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วหลังนำออกจากร่างกายผู้บริจาคเพียงไม่กี่ชั่วโมง

การทดลองฟื้นฟูปอดครั้งนี้ ทำการฟื้นฟูปอดจากผู้บริจาคอวัยวะ 6 ราย ซึ่งแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าปอดมีความเสียหายจนไม่สามารถใช้ผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายได้ โดยนอกจากจะเชื่อมต่อปอดดังกล่าวเข้ากับระบบไหลเวียนโลหิตของหมูเป็นๆ ที่ถูกวางยาสลบอยู่แล้ว ยังมีการใช้เครื่องช่วยหายใจปั๊มอากาศเข้าสู่ปอด และให้ยากดภูมิคุ้มกันเพื่อไม่ให้ร่างกายของผู้รับบริจาคปอดต่อต้านเซลล์บางส่วนจากร่างกายหมูที่อาจเข้าไปปนเปื้อนอยู่ด้วย

ผลการทดลอง ปรากฏว่าเนื้อปอดส่วนที่ขาวซีดเหมือนกับได้ตายไปแล้ว กลับมาเป็นสีชมพูสดภายในเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งแสดงถึงการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ตามปกติเกือบทั้งหมด ทั้งยังพบว่าเนื้อ เยื่อและโครงสร้างของปอดกลับมามีคุณภาพในระดับดีพอที่จะนำไปผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายได้

ที่ผ่านมา ก่อนที่จะมีการ ทดลองครั้งนี้ ในการฟื้นฟูปอดที่เสื่อมสภาพ แพทย์จะใช้อุปกรณ์ EVLP ปั๊มอากาศและของเหลวที่มีออกซิเจนสูงเข้าไปช่วยฟื้นฟูปอดที่เสียหาย แต่ก็ไม่ได้ผลดีนัก ทีมนักวิจัยจึงพยายามคิดวิธีที่จะใช้การทำงานของร่างกายคนหรือสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่แทน เพื่อให้สารอาหารที่จำเป็นและถ่ายเอาสารที่เป็นอันตรายออกจากปอดได้ดีขึ้น

ในอนาคต ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มีแผนจะพัฒนาเทคนิควิธีนี้ต่อไป เพื่อให้ถึงขั้นที่ผู้รับการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายใช้ระบบไหลเวียนโลหิตของตนเองฟื้นฟูปอดที่ได้รับบริจาคมาได้ ซึ่งจะสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาทางจริยธรรมและการที่ภูมิคุ้มกันของคนไข้ต่อต้านอวัยวะใหม่ด้วย ที่สำคัญหากการรักษาสภาพปอดที่เสียหายสามารถทำ ได้ดี โอกาสที่จะลดการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากโรคโควิด-19 ก็อาจมีมากขึ้น เนื่องจากสาเหตุการเสียชีวิตจากโควิค-19 คือ ระบบหายใจล้มเหลวจากภาวะปอดอักเสบ

ผลการทดลองดังกล่าว ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Nature โดยนักวิจัย ระบุว่า จุดประสานประสาทหรือไซแนปส์ (Synapse) ซึ่งเป็นรอยต่อที่เชื่อมการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทสมองแต่ละเซลล์ ได้กลับมามีความเคลื่อนไหวอีกครั้ง แม้สมองหมูที่ใช้ทดลองจะได้ชื่อว่าเป็นสมองที่ตายไปแล้วถึง 10 ชั่วโมง ทั้งนี้ สมองหมูดังกล่าวสามารถมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อยาบางชนิดได้เหมือนกับสมองที่ยังไม่ตาย ทั้งยังมีอัตราการใช้ ออกซิเจนมากเท่ากับสมองในภาวะปกติ แต่ไม่พบสัญญาณการเคลื่อนไหวของสัญญาณไฟฟ้าตลอดทั่วทั้งสมอง ซึ่งแสดงว่า แม้สมองจะฟื้นตัวแต่สติสัมปชัญญะ การรับรู้และความคิดอ่านอาจไม่ได้เกิดขึ้น

ความรู้ที่ได้จากการทดลองดังกล่าว อาจจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์, ดีเมนเชีย หรือซีนาย ดีเมนเชีย รวมทั้งการฟื้นฟูเซลล์สมองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ประสบอุบัติเหตุจนสมองได้รับความกระทบกระเทือน หรือทารกที่สมองขาดออกซิเจนเมื่อแรกเกิดในอนาคต

 

แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/health/1896681

by author1 author1

โปรไบโอติกส์ ( Probiotic )

โปรไบโอติกส์ ( Probiotic ) มีประโยชน์อย่างไรสำหรับสัตว์เลี้ยง ?

โปรไบโอติกส์ คือ แบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ของเรา  โดยมีหน้าที่หลัก คือ การรักษาสมดุลในลำไส้ ช่วยย่อยอาหารที่เราย่อยไม่ได้ เพื่อให้เราได้รับสารอาหารได้ครบถ้วน ยับยั้งแบคทีเรียที่จะก่อโรคได้ นอกจากนี้ยังทำให้เรามีร่างกายที่แข็งแรงเราสามารถรับแบคทีเรีย โปรไบโอติกส์เหล่านี้ จากอาหารที่เราทานอย่าง เช่น โยเกิร์ต กิมจิ หรือ แหนม  แต่อย่าสับสนกับ พรีไบโอติก (prebiotic)

พรีไบโอติก  คือ อาหารซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อย และไม่ถูกดูดซึมได้ในระบบทางเดินอาหาร ทั้งกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก แต่จะถูกย่อยด้วยแบคทีเรียบริเวณในลำไส้ใหญ่ โดยจะกระตุ้นการทำงานและส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์โปรไบโอติก (probiotic) มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จัดเป็นอาหารในกลุ่ม functional food

แล้วสูตรอาหารและของว่างน้อง ๆ ที่ผสมโปรไบโอติกส์ จะดีเหมือนกับที่เรารับประทานหรือไม่  ?

อยากให้ทุกคนทำความเข้าใจกันก่อนว่า แบคทีเรียในท้องของสัตว์เลี้ยงมีทั้งสายพันธุ์ที่เหมือนและต่างจากเรา  ระบบทางเดินอาหารของน้อง ๆ  ก็ต่างจากเรามากมาย  ดังนั้น การที่เราเลือกอาหารที่ผสมโปรไบโอติกส์ให้กับสัตว์เลี้ยง ต้องคำนึงถึงหลายสิ่งไม่เช่นนั้น  การทานโปรไบโอติกส์ก็จะเปล่าประโยชน์

https://www.tech-supply.co.th

 

by author1 author1

มะขามแดง

มะขามแดงสยาม

เป็นชื่อสายพันธุ์มะขามเปรี้ยวที่ให้เนื้อเป็นสีแดง แตกต่างจากมะขามเปรี้ยวที่เห็นโดยทั่วไป โดยทางสวนดวงจินดา ได้นำมาคัดเลือกสายพันธ์จากต้นแม่พันธุ์ในประเทศที่มีลักษณะเด่นในแง่ของการให้ผลดก

สำหรับความเป็นมาของมะขามเปรี้ยวเนื้อสีแดงนี้ สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากการกลายพันธุ์ แต่ไม่ทราบที่มาจากเป็นการกลายจากเมล็ดธรรมชาติหรือการผสมเกสร เมื่อไปพบต้นพันธุ์ จึงได้นำมาทดลองปลูก และดำเนินการคัดสายพันธุ์ จนได้พันธุ์ที่มีความนิ่ง ให้ผลผลิตสูง และตั้งชื่อว่าให้ว่า มะขามแดงสยาม

 

 

ลักษณะการให้ผลผลิต ปีแรกของการออกปลูกจะเริ่มติดดอก แต่จะเริ่มเก็บผลผลิตในปีที่ 2 โดยปริมาณผลผลิตมากน้อยตามอายุและความสมบูรณ์ของต้น ปกติต้นมะขามที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไปและมีการจัดการดูแลดี จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 50 – 60 กิโลกรัมต่อต้น การติดของฝักจะมีตลอดทั้งปี ฝักจะมีขนาดใหญ่ ให้เนื้อหนา ตามปกติฝักจะสุกในช่วงฤดูหนาว สามารถปลูกได้ในทุกสภาพพื้นที่ และชอบแสงแดด

  • การขยายพันธุ์

โดยการทาบกิ่ง

  • การใช้ประโยชน์

ฝักอ่อนเนื้อสีแดง ใช้ปรุงอาหารได้อร่อย อีกทั้งยังนำไปตากแห้ง บดให้เป็นผงชงรับประทานได้  ส่วนใบอ่อน ดอก  ให้รสเปรี้ยว ใส่ต้มยำ ต้มโคล้ง   ,  ฝักแก่  ใช้ทำเป็นมะขามเปียก

แหล่งที่มา : https://guikaset.blogspot.com/2016/02/blog-post_1.html

by author1 author1

ซิลิกา (Silica)

ประโยชน์ของ ซิลิกา ( Silica / SiO2 ) และการนำไปใช้อุตสาหกรรมต่างๆ

1. ซิลิกา ( Silica / SiO2 ) ซิลิกาเป็นวัตถุดิบสำหรับเป็นส่วนผสมในวัสดุก่อสร้าง

2. ซิลิกาอสัณฐาน ( Amorphous Silica )

    • ใช้เป็นองค์ประกอบตัวเร่งปฏิกิริยา
    • ใช้เป็นสารเพิ่มความแข็งแรง และความหนาแน่นในผลิตภัณฑ์ยาง พลาสติก และโพลีเมอร์ เป็นต้น
    • ใช้เป็นสารเพิ่มแรงยึดติดในผลิตภัณฑ์กาว
    • ใช้เป็นสารลดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างของแข็งที่แขวนลอยในของเหลว
    • ใช้เป็นสารเพิ่มความหนืดในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น จารบี หมึกพิมพ์ สี ยา และเครื่องสำอาง เป็นต้น
    • ใช้เป็นสารอิมัลซิไฟเออร์ทำให้สารที่ไม่ละลายกันผสมเข้ากันได้ดี เช่น น้ำกับน้ำมัน
    • ใช้เป็นสารป้องกันการเกิดโฟม
    • ใช้เป็นสารปรับสภาพพื้นผิวให้มีคุณสมบัติชอบน้ำ
    • ใช้เป็นสารเพิ่มความเงา
    • ใช้เป็นสารดูดความชื้น
    • ใช้เป็นสารเติมแต่ง

แหล่งที่มา : https://farm.vayo.co.th/blog/silica/