by author1 author1

เกร็ดความรู้วัตถุดิบ ใบหม่อนเเละน้ำยางพา

ใบหม่อน กินได้ไหม?

ประโยชน์หม่อน
1. ใบสดเมื่อนำใบมาเคี้ยวสดๆจะมีรสหวานอมขมเย็นเล็กน้อย บางท้องถิ่นนำมากินสด
2. ปัจจุบันนิยมนำใบมาตากแห้ง และชงดื่มเป็นน้ำชาใบหม่อน ซึ่งจะให้กลิ่นหอมมีเอกลักษณ์ และรสชาติเหมือนชา แต่อมหวานเล็กน้อย

 

ใบหม่อน (ต้มน้ำหรือใบแห้งชงเป็นชาดื่ม)
– ช่วยในการผ่อนคลาย
– แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
– ช่วยลดไข้หวัด และอาการปวดหัว
– ช่วยแก้อาการวิงเวียนศรีษะ
– แก้ไอ แก้เจ็บคอ แก้คอแห้ง
– ต้านอนุมูลอิสระ ลดการเสื่อมสภาพของเซลล์
– ช่วยลดน้ำตาลในเลือด และช่วยทุเลาอาการจากโรคเบาหวาน
– ลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด
– ป้องกันโรคหัวใจ และหลอดเลือด
– ช่วยลดความดันเลือด
– ต้านแบคทีเรีย ช่วยแก้อาการท้องเสีย

ข้อแนะนำการนำไปใช้
1. การเลือกใบหม่อนเพื่อทำยา ควรเลือกใบเขียวสด ดูอวบทั่วทั้งใบ และไม่มีรอยกัดกินของแมลง
2. การนำใบหม่อนมาทำยาสามารถทำด้วยวิธีการตากแห้งใบ แล้วบดอัดใส่แคปซูลรับประทานหรือการนำใบแห้งมาต้มดื่มเป็นชาใบหม่อน
3. ไม่ควรใช้ยาต่อเนื่อง และในปริมาณที่มากๆ เพราะอาจได้รับสารแทนนินที่มีผลต่อระบบการย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดท้องอืด อาหารไม่ย่อยได้
4. หากพบมีอาการแพ้หรือมีผลผิดปกติในร่างกาย ให้หยุดการใช้ทันที

แหล่งที่มา : https://puechkaset.com/

 

 

น้ำยางพารา

น้ำยางสดเป็นของเหลวสีขาวคล้าย ๆ น้ำกะทิหรือน้ำนม น้ำยางสดจะมีความหนืดเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีฤทธิ์เป็นกลางและมีประจุลบจึงต้องใช้สารที่มีประจุบวกในการจับตัวยาง น้ำยางหลังจากกรีด ถ้าหากตั้งทิ้งไว้นานกว่า 4 ชั่วโมง จะเริ่มเสียสภาพสังเกตจากน้ำยางขณะที่ยังสดจะเหลวสามารถกระจายตัวได้ดีในน้ำ

  • น้ำยางสดเริ่มเสียสภาพจะข้นหนืด        ⇒  การกระจายตัวในน้ำจะช้ากว่าปกติ
  • น้ำยางเริ่มบูดน้ำยางจะเริ่มเกาะตัวเป็นเม็ดเล็ก ๆ  ⇒ หยดน้ำยางเพียง 1 หยด ลงในน้ำ ถ้าน้ำยางเริ่มเสียสภาพจะเห็นการจับตัว                                                                                      ของเนื้อยางเป็นเม็ดเล็ก ๆ ในน้ำ
  • น้ำยางยังสดอยู่                                      ⇒   หยดลงในน้ำจะสามารถกระจายตัวได้อย่างรวดเร็ว

 

น้ำยางที่เสียสภาพจะไม่แนะนำให้ผลิตเป็นยางแผ่นดิบ เพราะจะเกิดฟองอากาศในแผ่นยาง และไม่แนะนำให้ผลิตเป็นน้ำยางข้นเพราะจะไม่สามารถควบคุมค่าความบูดของน้ำยางได้ นอกเสียจากจะนำไปทำเป็นยางก้อนหรือเข้าสู่กระบวนการผลิตยางแท่ง

แหล่งที่มา :    http://www.raot.co.th/ewt_news.php?nid=5980&filename=index

by author1 author1

ขั้นตอนการต้มสกัดจากใบหม่อนและขั้นตอนการระเหยเข้มข้นจากน้ำใบหม่อน

ขั้นตอนการต้มสกัดจากใบหม่อนและขั้นตอนการระเหยเข้มข้นจากน้ำใบหม่อน

1.ใบหม่อน

2.นำเข้าหม้อต้มสกัด

3.ผลิตภัณฑ์น้ำใบหม่อนที่ได้

4.นำเข้าเครื่อง FALLING  FILM  EVAPORATOR

5.ผลิตภัณฑ์น้ำใบหม่อนเข้มข้นที่ได้