by author1 author1

กากน้ำตาล

เรื่องน่ารู้ของ กากน้ำตาล กับประโยชน์สุขภาพที่คุณอาจจะยังไม่เคยรู้

กากน้ำตาล คืออะไร

กากน้ำตาล (Molasses) หมายถึง น้ำเชื่อมแบบข้นๆ ที่เราใช้เพื่อเติมความหวาน ในอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มต่างๆ กากน้ำตาลนี้ เป็นผลพลอยได้ที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลทราย โดยการต้มน้ำอ้อยจนงวด แล้วปล่อยให้ตกผลึกเป็นน้ำตาลทราย กากน้ำตาลจะเป็นส่วนน้ำเชื่อมข้นๆ ที่หลงเหลืออยู่จากการตกผลึกนั้น

 

 

กากน้ำตาลนั้นจะมีอยู่หลายประเภท เช่น

กากน้ำตาลอ่อน (Light molasses) เป็นกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวน้ำอ้อยครั้งแรก จะมีสีอ่อนสุด และมีรสหวานที่สุด โดยปกติมักจะใช้ในการอบขนม

กากน้ำตาลเข้ม (Dark molasses) เป็นกากน้ำตาลจากการเคี่ยวน้ำอ้อยครั้งที่สอง จะมีความข้นมากกว่า และมีความหวานน้อยกว่า สามารถใช้ในการอบขนมได้ แต่เรามักจะใช้เพื่อแต่งสีและกลิ่นมากกว่า

กากน้ำตาลดำ (Blackstrap molasses) หมายถึงกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวน้ำอ้อยในครั้งที่สาม เป็นกากน้ำตาลที่มีความข้นหนืดมากที่สุด และมีสีเข้มที่สุดจนเป็นสีดำ มีรสหวานของน้ำตาลเพียงแค่ประมาณ 50% และมักจะมีรสขมปนมาด้วย ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้เป็นอาหารสัตว์ หรือใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร

กากน้ำตาลมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด

กากน้ำตาลนั้นแตกต่างจากน้ำตาลทรายที่เรากินกันอยู่เป็นประจำ เนื่องจากภายในกากน้ำตาลนั้นจะมีวิตามินและแร่ธาตุอยู่ กากน้ำตาลในปริมาณ 1 ช้อนชา หรือประมาณ 20 กรัม จะมีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้

หน่วยเป็น % ของความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน ( % Daily Value)

นอกจากคุณค่าทางโภชนาการแล้ว กากน้ำตาลยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพ  ดังต่อไปนี้

ลดความดันโลหิต

โพแทสเซียมที่สามารถพบได้มากในกากน้ำตาลนั้น สามารถช่วยลดระดับของความดันโลหิตได้ โดยภายในกากน้ำตาล 1 ช้อนชา จะให้โพแทสเซียมมากถึง 293 มก. มิหนำซ้ำ โพแทสเซียมในกากน้ำตาลยังสามารถดูดซึมได้ง่ายกว่าสารให้ความหวานอื่นๆ อีกด้วย

ป้องกันมะเร็ง

สารประกอบที่พบในกากน้ำตาลนั้นมีสรรพคุณในการต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะสารประกอบที่เรียกว่า cyanidin-3-O-glucoside chloride ที่มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

กากน้ำตาลนั้นอุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร ที่สามารถช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง สามารถปกป้องร่างกายจากโรคได้ดียิ่งขึ้น เช่น สังกะสีที่ช่วยเสริมการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว

ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนนั้นเกิดจากการที่กระดูกขาดแคลเซียม และอ่อนแอไปตามกาลเวลา ภายในกากน้ำตาล 1 ช้อนชา จะมีแคลเซียมอยู่ 41 มก. และยังมีวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ ที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กระดูกอีกด้วย

กากน้ำตาลดีกว่าน้ำตาลทราย รึเปล่านะ ?

แม้ว่ากากน้ำตาลจะปลอดภัยสำหรับการรับประทาน และมีคุณค่าทางสารอาหารมากกว่าน้ำตาลทรายที่เราบริโภคกันตามปกติ แต่สุดท้ายแล้ว กากน้ำตาลก็ยังคงเป็นน้ำตาลประเภทหนึ่ง ดังนั้นการรับประทานกากน้ำตาล จึงยังคงมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการรับประทานน้ำตาลตามปกติ

การรับประทานกากน้ำตาลในปริมาณมาก อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบต่อระบบการย่อยอาหาร และทำให้เกิดอาการท้องเสียได้

นักโภชนาการส่วนใหญ่นั้น ไม่แนะนำการรับประทานกากน้ำตาลเป็นอาหารเสริม หรือรับประทานเพื่อคุณค่าทางสารอาหารเหล่านั้น แต่หากคุณตั้งใจจะกินน้ำตาลอยู่แล้ว กากน้ำตาลก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีในการเพิ่มความหวาน เพราะจะทำให้คุณได้คุณค่าทางโภชนาการเพิ่มมากอีกด้วย

 

แหล่งที่มา : https://hellokhunmor.com

 

by author1 author1

ชาแดงไต้หวัน

ชาแดงไต้หวันและประโยชน์มากมายที่คุณไม่เคยรู้

รู้หรือไม่ ว่า “ชาแดงไต้หวัน” เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวไต้หวัน ประเทศเล็กๆ ที่อาศัยอยู่บนเกาะ มีวัฒนธรรม และความโดดเด่นทางด้านอาหาร โดยเฉพาะใบชา  ที่หลายๆ คน ชอบดื่ม ด้วยรสชาติที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะชาแดงไต้หวัน ซึ่งเป็นชาสารพัดประโยชน์มากมาย ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

ชาแดง คือ การนำยอดอ่อนของชาอู่หลง มาผ่านกระบวนการนวด หลังจากนั้นจึงนำไปอบให้แห้ง เพื่อทำให้เกิดสีและรสชาติที่อยู่ระหว่างกลางของชาเขียวและชาดำ แต่ชาแดงจะมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในเรื่องของสีที่แดงสว่าง และกลิ่นของชาที่หอมละมุน

4 ประโยชน์ของ ชาแดงไต้หวัน

  • ป้องกันโรคหัวใจ การดื่มชาแดงเป็นประจำทุกวัน สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และลดระดับคอเลสตอรอลได้ถึง 5 เปอร์เซ็นต์
  • ป้องกันโรคมะเร็ง  เนื่องจากในชาแดงจะมีสารชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “ฟลาโวนอยด์” โดยสารชนิดนี้มีคุณสมบัติช่วยป้องกันหรือยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็งได้
  • ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน  ช่วยเพิ่มสารอินซูลินในการเผาผลาญไขมัน มากขึ้นถึง 150 เท่า
  • ดื่มชาเพื่อลดน้ำหนัก   เพราะ ในชามีสารที่ช่วยยับยั้งไขมัน และเผาผลาญไขมันได้มากถึง 78 แคลอรี่ อีกทั้งยังช่วยให้ระบบขับข่ายทำงานได้ดีขึ้น ควรดื่มชา วันละ 2-3 ถ้วย จะยิ่งได้ผลดีมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากดื่มชาในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจทำให้มีโทษได้เหมือนกัน ดังนั้นควรดื่มชาให้เหมาะสมในแต่ละวัน เพื่อความกลมกล่อมและสุขภาพที่ดีของตัวคุณเอง

 

แหล่งที่มา : https://crmrkitchen.com

by author1 author1

สมุนไพร

ข้อระวังจากการใช้สมุนไพร 

สมุนไพร ขึ้นชื่อว่ามีประโยชน์ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ มากมาย แต่ในทางตรงกันข้าม สมุนไพรก็สามารถให้โทษ และอันตรายแก่ผู้ใช้ได้ หากไม่รู้จักใช้ หรือใช้ไม่ถูกต้อง

https://www.bangkokbiznews.com/news/956061

โทษและอันตรายจากการใช้สมุนไพร ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 3 ประการ ดังนี้

  1. อันตรายที่เกิดจากโรคที่ขาดการรักษา เช่น

โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคหืด ซึ่งแพทย์ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ช่วยได้เพียงการให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ และป้องกันโรคแทรกซ้อน บางคนอาจทานยาจนเบื่อ เลยหยุดทานยา และหันมารักษาด้วยสมุนไพรแทน แต่สมุนไพรหลายชนิดอาจไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรค

นอกจากนี้ โรคที่เป็นอาจไม่แสดงอาการชัดทำให้เข้าใจว่า โรคหายแล้ว จึงหยุดการรักษาที่ถูกวิธีไป ซึ่งนานไปโรคเดิมอาจกลับมากำเริบ และส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้

  1. อันตรายที่เกิดจากฤทธิ์ของสมุนไพรโดยตรง

สมุนไพรหลายชนิด จะมีสารเคมีที่เป็นพิษร้ายแรงปะปนอยู่ ถ้าได้รับเข้าไปจะทำให้เกิดอาการจากพิษนั้น ๆ เช่น มะเกลือ ผลของมันเมื่อแก่เต็มที่จนมีสีดำ อาจจะมีสาร naphthalene ซึ่งเป็นพิษต่อประสาทตาโดยตรง หรือ ยี่โถ เราพบว่า มีพิษอยู่ในใบของมัน หากได้รับสารนี้จะทำให้หัวใจเต้นช้าลง และอาจหยุดได้

  1. อันตรายจากสารเจือปนในสมุนไพร

ซึ่งทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ทำการตรวจวิเคราะห์ยาสมุนไพร เพื่อหาสารเจือปนที่จะเป็นอันตรายพบว่า ส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของ arsenic 60% และสาร steroids กว่า 30% นอกจากนั้นยังมีสารอันตรายอื่นๆ อีกมากมาย

  • arsenic ถือว่าเป็นยาอันตราย ในตำราแพทย์โบราณ เชื่อว่าสารนี้มีคุณสมบัติกระตุ้นให้กระชุ่มกระชวย แต่ถ้ารับมากไปอาจจะเกิดพิษได้ ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษนี้อาจมีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากขึ้นด้วย
  • steroids มีคุณสมบัติบรรเทาอาการของโรคหลายชนิด หากใช้นาน ๆ จะมีอาการข้างเคียง และอันตรายมาก หากใช้ติดต่อกันนานจะทำให้ติดยา และถ้าหยุดยาเฉียบพลัน อาจทำให้ช็อคได้
  • สารปรอท หากมีผสมในสมุนไพร จะทำให้เกิดพิษ มีอาการปากเปื่อย เหงือกอักเสบ ไตวาย เป็นต้น
  • สารตะกั่ว ตะกั่วเป็นพิษทำให้มีอาการปวดท้อง โลหิตจาง กล้ามเนื้ออ่อนแรงจากปลายประสาทผิดปกติ เป็นต้น
  • การใช้สมุนไพร เปรียบเสมือนดาบสองคม สิ่งใดก็ตามที่มีประโยชน์มาก สิ่งนั้นก็อาจมีโทษได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นการใช้สมุนไพรก็ควรจะใช้อย่างระมัดระวัง ศึกษาสรรพคุณให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ หรือปรึกษาผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้

 

แหล่งที่มา : https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/

by author1 author1

โหระพา

โหระพา ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

ประโยชน์และสรรพคุณโหระพา

โหระพา เป็นพืชที่มีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหารหลากชนิดในประเทศไทย ซึ่งช่วยปรุงแต่งกลิ่นรสของอาหารให้น่ากินยิ่งขึ้น ช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารหลาย ใบและยอดอ่อนใช้กินเป็นผักสด เป็นเครื่องแนมอาหารคาวหรืออาหารว่างได้เป็นอย่างดี นิยมนำมาใช้เป็นผักจิ้มหรือกินสดมากกว่ากะเพรา รวมถึงนิยมใช้กินร่วมกับอาหารที่มีรสจัดและกลิ่นแรง

ส่วนในประเทศทางตะวันตก  นิยมกินใบแห้งเป็นเครื่องเทศ และน้ำสลัดที่ใช้โหระพาเป็นส่วนผสม (pesto) เป็นน้ำสลัดที่ใช้ประจำในอาหารอิตาเลียน ส่วนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก็นิยมกินใบโหระพา แต่ใช้โหระพาจากอียิปต์ ฝรั่งเศส และมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีกลิ่นต่างจากโหระพาของไทย แลใช้น้ำมันโหระพาใช้แต่งกลิ่นซอสมะเขือเทศ ขนมผิง ลูกอม ผักดอง ไส้กรอก และเครื่องดื่ม

นอกจากนี้ โหระพามีประโยชน์ด้านอื่นๆ อีกเช่นใบและลำต้นของโหระพาเมื่อนำมากลั่นจะได้น้ำมันหอมระเหยซึ่งใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ใช้แต่งกลิ่นอาหารพวกลูกกวาด ซอสมะเขือเทศ ผักดอง น้ำส้ม ไส้กรอก เครื่องดื่มชนิดต่างๆ ฯลฯ ใช้แต่งกลิ่นยาสีฟันและยาที่ใช้กับปากและคอ  ทำโลชั่น ครีม แชมพู สบู่ ฯลฯและน้ำมันโหระพายังใช้ไล่แมลง หรือฆ่าแมลงบางชนิดได้ เช่น ยุงและแมลงวันได้อีกด้วย

สำหรับสรรพคุณทางยาของโหระพานั้น ตามตำรายาไทยระบุว่า

ใบ : มีกลิ่นฉุน รสร้อน แก้ลมวิงเวียน ขับลม แก้ท้องขึ้น ท้องอืด แก้ปวดท้อง ช่วยย่อยอาหาร

ทั้งต้น : แก้พิษตานซาง แก้เด็กนอนสะดุ้งผวาเพราะโทษน้ำดี

เมล็ด : แก้บิด ทำให้อุจจาระไม่เกาะลำไส้ เป็นยาระบาย ใช้พอกฝีรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

 

ส่วนในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน   มีผลการศึกษาวิจัยระบุว่า  ใบโหระพา มีบีต้าแคโรทีนสูง  สามารถช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดและมะเร็งได้  โดยโหระพา 1 ขีด มีบีตาแคโรทีน ถึง 452.16 ไมโครกรัม

องค์ประกอบทางเคมี

ใบโหระพา มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณร้อยละ 0.1-1.5 เมื่อทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างจาก headspace  และตรวจสอบด้วย gas chromatography พบว่า ในน้ำมันหอมระเหยประกอบด้วยสารเมทิลชาวิคอล (methylchavicol) เป็นสารหลัก (ร้อยละ 93) และสารกลุ่มเทอร์พีน ได้แก่ลินาโลออล (linalool) และซินีออล(1,8-cineol)

นอกจากนี้ ยังมีสารยูจีนอล (eugenol) กรดกาเฟอิก (caffeic acid) และกรดโรสมารินิก (rosmarinic acid)Ocimine, alpha-pinene, eucalyptol , geraniol,limonene, eugenol methyl ether.methyl cinnaminate, 3- hexen -1- ol, estragole

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของโหระพา

ที่มา : Wikipedia

 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  • หญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่กำลังให้นมบุตรสามารถรับประทานโหระพาในปริมาณปกติ ที่พบได้จากอาหารทั่วไปได้อย่างปลอดภัย แต่การใช้ในปริมาณมากอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
  • สำหรับสตรีมีครรภ์และเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี รวมถึงผู้สูงอายุ ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันหอมระเหยจากโหระพาเพราะทำให้เกิดอาการแพ้ง่าย
  • ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติอาจเสี่ยงมีเลือดออกมากยิ่งขึ้นเมื่อรับประทานน้ำมันโหระพาหรือสารสกัดจากโหระพา เนื่องจากมีฤทธิ์ชะลอการแข็งตัวของเลือด
  • เมื่อดื่มน้ำโหระพาคั้น อาจจะมีอาการข้างเคียง คือ จะทำให้มึนงงและระคายเคืองคอเล็กน้อย
  • โหระพาอาจมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต เพื่อความปลอดภัย ผู้มีความดันโลหิตต่ำควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ เพราะอาจส่งผลให้มีความดันลดต่ำเกินไปจนเป็นอันตรายได้
  • ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดควรหยุดใช้โหระพาหรืออาหารเสริมโหระพาในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้มีเลือดออกมากในระหว่างการผ่าตัด

แหล่งที่มา : https://www.disthai.com/

 

 

by author1 author1

กระชายดำ

ประโยชน์ดีๆกระชายดำ

กระชายดำมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้หนาแน่นในแถบมาเลเซีย สุมาตรา เกาะบอร์เนียว อินโดจีน และในประเทศไทย และมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเอเชียเขตร้อน ในประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย และพม่า สำหรับประเทศไทยนั้นมีการปลูกกระชายดำมากได้แก่จังหวัด พิษณุโลก เพชรบูรณ์ น่านเลย ตาก กาญจนบุรี และจังหวัดอื่นๆ ทางภาคเหนือ

ประโยชน์และสรรพคุณกระชายดำ

  • ใช้บำรุงกำลัง
  • แก้ปวดเมื่อยและอาการเหนื่อยล้า
  • ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • ช่วยขับลมพิษ
  • เป็นยาอายุวัฒนะ
  • แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง
  • ใช้กวาดคอเด็ก แก้โรคตานซางในเด็ก
  • บำรุงประสาท
  • แก้อาการนอนไม่ค่อยหลับในตอนกลางคืน
  • บำรุงโลหิตของสตรี
  • รักษาโรคภูมิแพ้
  • ช่วยขับลม แก้ท้องอืด
  • ช่วยรักษากลากเกลื้อนและติดเชื้อผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา
  • รักษาโรคเกาต์
  • แก้อาการเหน็บชา
  • ใช้ต้มกับน้ำให้สตรีหลังคลอดบุตรดื่ม จะช่วยขับน้ำนม รักษาอาการตกเลือด

ในการใช้กระชายดำแบบพื้นบ้านในสมัยก่อนนั้น จะนำมาทำเป็นยาลูกกลอน คือ เอาผงแห้งมาผสมน้ำผึ้งและปั้นเป็นลูกๆ หรือนำมาดองเหล้า (ในอัตราส่วน 1 กิโลกรัม : เหล้าขาว 3 ขวด : น้ำผึ้ง 1 ขวด) ดองทิ้งไว้ประมาณ 9 – 15 วัน แล้วนำมาใช้ดื่มวันละ 1 – 2 เป๊กกระชายดำไม่ได้เป็นยาปลุกอารมณ์ทางเพศ แต่ระยะเวลาการแข็งตัวที่นานขึ้น และสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาดังกล่าวก็สามารถรับประทานเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรกขึ้นได้)หากสุภาพสตรีทานแล้วจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนทางเพศ

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของกระชายดำ

  1. ฤทธิ์ต้านอักเสบ สาร 5,7 – ได้เมธอกซีฟลาโวน (5,7-DMF) ที่แยกได้จากเหง้ากระชายดำมีฤทธิ์ต้านการอักเสบเทียบได้กับยามาตรฐานหลายชนิด คือ แอสไพริน , อินโดเมธาซิน , ไฮไดรคอร์ติโซน และเพรดนิโซโลน จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบของสารนี้ ในสัตว์ทดลองด้วยวิธีการต่าง ๆ พบว่าสาร 5,7-DMF สามารถต้านการอักเสบแบบเฉียบพลันได้ดีกว่าแบบเรื้อรัง โดยแสดงฤทธิ์ยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าหนูขาวจากสารคาราจีนแนน และเคโอลินได้ดีกว่าฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง granuloma จากการฝังสำลีใต้ผิวหนัง นอกจากนี้ พบว่า สาร 5,7-DMF มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด exudation และการสร้างสาร prostaglandin อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบในช่องปอดของหนูขาว (rat pleurisy) (วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล และอำไพ ปั้นทอง,2528)
  2. ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ สาร 5,7,4′-trimethoxyflavone และ 5,7,3′ ,4′ –tetramethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย ส่วนสาร 3,5,7,4′-tetramethoxyflavone และ 5,7,4′-trimethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Candida albicans และแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Mycobacterium อย่างอ่อน (Wattanapitayakui S, Nawinprasert A, Herunsalee A, et al,2003)
  3. พิษต่อเซลล์มะเร็ง (cytotoxic activity) จากการทดสอบผลของฟลาโวนอยด์ 9 ชนิดของกระชายดำต่อเซลล์มะเร็ง เช่น KB , BC หรือ NCI-H187 ไม่พบว่ามีสารใดทำให้เกิดพิษต่อเซลล์มะเร็งที่ทดสอบ (วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล และอำไพ ปั้นทอง,2528)
  4. ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดง มีรายงานการวิจัยว่า สารสกัดด้วยเอธานอลของกระชายดำมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta) ละลดการหดเกร็งของ ลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) ของหนูขาว และยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของคน. (Yenchai C, Prasaphen K, Doodee S, et al,200)

 

แหล่งที่มา : https://tuemaster.com/blog/

by author1 author1

ผักเคล ประโยชน์ดีดี เพื่อคนรักสุขภาพ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงงงง!!

ผักเคล (Kale) หรือ “ผักคะน้าใบหยัก”

มีลักษณะสีเขียวเข้ม ใบหยิก เป็นที่นิยมอย่างมากในต่างประเทศ ซึ่งหลายคนต่างยกให้ผักเคลเป็น Superfood

  • กรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6 ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของไขข้อและข้อกระดูก ช่วยต้านทานโรคไขข้ออักเสบได้ดี
  • แคลเซียมสูง ซึ่งแคลเซียมจะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก ช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง
  • ธาตุเหล็กสูง ซึ่งวิตามินเคจะช่วยให้เลือดแข็งตัวได้ดี เลือดลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย ช่วยให้เซลล์เติบโต
  • วิตามินเอสูง ช่วยปกป้องสายตา ทำให้ดวงตาแข็งแรงขึ้น ลดอาการปวดล้าของดวงตาจากการใช้งานหนัก
  • วิตามินซีสูงซึ่งวิตามินจะช่วยป้องกันโรคหวัด ทั้งยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  • ต้านมะเร็ง มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูงทั้ง แคโรทีนอยด์ โพลีฟีนอล และฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยป้องกันจากโรคมะเร็ง
  • ลดคอเลสเตอรอลได้ดี ผักเคลมีสารที่จะช่วยรักษาระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ
  • ดีท็อกซ์ล้างลำไส้ ผักเคลมีไฟเบอร์และซัลเฟอร์สูงจึงช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย เป็นการล้างสารพิษที่ตกค้าง จึงเป็นการดีท๊อกซ์ลำไส้และช่วยลดปัญหาของโรคลำไส้อักเสบ

แหล่งที่มา : https://mthai.com/health/44895.html

 

by author1 author1

สารแต่งกลิ่นรส Flavor

สารแต่งกลิ่นรส Flavor

กลิ่นรส (Flavor) เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้บริโภคจะพิจารณาเป็นสิ่งแรก นอกเหนือจากลักษณะภายนอกและคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร ถ้ากลิ่นรสไม่ดีแม้มีสิ่งอื่น ๆ จะดีหมด ผู้บริโภคมักจะไม่เลือกรับประทาน อุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่จึงใช้กลิ่นรสเพื่อบ่งบอกเอกลักษณ์เฉพาะของรสชาตินั้น ๆ ที่อยากให้ผู้บริโภคจดจำสินค้าได้

โดยทั่วไปในปัจจุบันนี้  Flavor  จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่  คือ

1. สารกลิ่นรสตามธรรมชาติ (Natural Flavoring)

หมายถึง วัตถุปรุงแต่งกลิ่นรสที่ได้จากพืช หรือสัตว์ ที่ปกติมนุษย์ใช้บริโภคโดยผ่านวิธีทางกายภาพ เช่น ชา กาแฟ โกโก้  เครื่องเทศ (Spice) ได้แก่ พริกไทย ขมิ้น ข่า อบเชย กานพลู ตะไคร้ เป็นต้น

2. สารแต่งกลิ่นรสเลียนแบบธรรมชาติ (Natural Identical Flavoring)

หมายถึง วัตถุปรุงแต่งกลิ่นรสที่ได้จากการแยกวัตถุที่ให้กลิ่นรสโดยวิธีทางเคมี หรือได้จากวัตถุที่สังเคราะห์ขึ้น จะต้องมีคุณลักษณะทางเคมีเหมือนวัตถุที่พบในผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เช่น น้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) โอลิโอเรซิน (Oleoresin) และสารสกัด (Extract)

3. สารแต่งกลิ่นสังเคราะห์ (Artificial Flavoring)

หมายถึง วัตถุปรุงแต่งกลิ่นรสที่ได้จากวัตถุที่ยังไม่เคยพบในผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ที่ปกติมนุษย์ใช้บริโภค และให้ความหมายรวมถึงวัตถุปรุงแต่งกลิ่นรสสังเคราะห์  เช่น วานิลลิน (Vanillin) เป็นวัตถุปรุงแต่งกลิ่นรสสังเคราะห์ที่มีกลิ่น คล้ายกลิ่นวานิลลาที่ได้จากการสกัดธรรมชาติ
แหล่งที่มา :  https://www.fit-biz.com/th/flavoring-additives.html

by author1 author1

แตงโมเหลือง VS แตงโมแดง

แตงโมเหลือง VS แตงโมแดง  สรุปอะไรดีกว่ากัน ?

แตงโม เป็นผลไม้ที่คนไทยอย่างเราหากินได้ง่ายมากๆ จนทำให้เรามองข้ามความสำคัญ และไม่เห็นถึงคุณค่าของมัน แต่หันไปสนใจกับผลไม้นำเข้าราคาแพง แถมหายากอย่างอื่น มารับประทานแทน หารู้ไม่ว่า เรามีสิ่งดีๆ อยู่ใกล้ตัวอยู่แล้ว

แตงโมเนื้อสีแดง 

มีกลิ่นและรสชาติที่หอมหวานกว่าสีเหลือง  มีสารแคโรทีนอยด์  ชนิดไลโคปีน  ต้านอนุมูลอิสระ สารไลโคปีน  ที่ให้ประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และภาวะหัวใจวาย มีมากกว่าสารไลโคปีนที่อยู่ในมะเขือเทศถึง 60 %

 

 

แตงโมที่มีเนื้อสีเหลือง

 เนื้อสีเหลือง มีความหวานฉ่ำน้ำ อมเปรี้ยวนิดๆ คุณค่าทางโภชนาการของแตงโม มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีน้ำมาก แล้วก็ยังเป็นแหล่งวิตามินเอ วิตามินซี ในรูปแบบของเบต้าแคโรทีน มีสารไลโคปีนน้อยกว่า แต่จะมีสารแซนโทฟีล   ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของไลโคปีน

Tip

โดยปกติแล้วแตงโมทั้งลูก ถ้ายังไม่ได้ถูกผ่า สามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องได้นาน 1 สัปดาห์ ถ้าผ่าแตงโมออกมาแล้ว ควรแช่เย็นเก็บไว้ และกินให้หมดภายใน 2-3 วัน

 

แหล่งที่มา : https://thaifruit.megazy.com/detail/index?name=fruit-tip-watermelon-red-yellow

 

 

by author1 author1

ประโยชน์อันทรงพลังของออริกาโนเพื่อสุขภาพ

11 ประโยชน์อันทรงพลังของออริกาโนเพื่อสุขภาพ

ออริกาโน เป็นของครอบครัวมินต์ (Lamiaceae) สปีชีส์ส่วนใหญ่ของสกุล Origanum มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่เมดิเตอร์เรเนียน

พืชออริกาโน ประกอบด้วยใบเล็ก ๆ ที่มีกลิ่นฉุน ใบเหล่านี้มีการใช้รูปแบบสดหรือแห้ง ใช้กันอย่างแพร่หลายในอาหารเมดิเตอร์เรเนียนต่างๆ แต่นอกเหนือจากการใช้ในการปรุงอาหารแล้ว สมุนไพรนี้ยังใช้ในการแพทย์อีกด้วย

ประโยชน์ของออริกาโน่

 

 

 

 

 

 

1.เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ออริกาโน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง

2. ป้องกันโรคกระดูกพรุน Oregano มีสารที่เรียกว่า beta-caryophilin (E-BCP) ซึ่งยับยั้งการอักเสบในร่างกาย

3.ต่อต้านปรสิตและต่อต้านจุลินทรีย์

4.ช่วยย่อยอาหาร ออริกาโน เป็นยาชูกำลังย่อยอาหาร อาการอาหารไม่ย่อยและท้องร่วง

5.ต้านการอักเสบและยาแก้ปวด   คือ  บรรเทาความเจ็บปวดและเร่งการหายของบาดแผล

6 ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

7. ระบบทางเดินหายใจ

8. ต้านมะเร็ง

9.มีพลังผ่อนคลาย

10.ความตึงเครียดต่ำ

11.ฮอร์โมน ป้องกันโรคกระดูกพรุนและโรคหัวใจและหลอดเลือดการกระทำที่เกิดจากเอสโตรเจน

แหล่งที่มา : https://th.thpanorama.com/articles/nutricin/11-poderosos-beneficios-del-organo-para-la-salud.html

by author1 author1

น้ำกระชายเสริมภูมิคุ้มกัน

น้ำกระชายเสริมภูมิคุ้มกัน

กระชาย เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการใช้เป็นอาหารและยามานาน  ภูมิปัญญาพื้นบ้านใช้แก้โรคที่เกิดในปาก  เช่น  ปากเปื่อย  ปากเป็นแผล  รักษาอาการจมูกไม่ได้กลิ่น ไซนัสอักเสบ  ช่วยย่อยอาหาร  เพิ่มสมรรถภาพทางเพศชองเพศชาย  ยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง  แก้ปวดเมื่อย

มีการศึกษาพบว่า สารสกัดของกระชายสามารถแสดงฤทธิ์ในการต้านไวรัสซาร์ส ในระยะหลังการติดเชื้อและยังพบว่าสารแพนดูราทิน (pan-duratin) ของกระชายขาวมีฤทธิ์ในการต้านไวรัสทั้งในระยะก่อนและหลังการติดเชื้อ และยังมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเชื้อเอดส์ ต้านไวรัสไข้เลือดออกในกลุ่ม Flaviviridae family และยังยั้งเชื้อพิโคร์นาไวรัส (picornaviruses) ซึ่งก่อโรคมือเท้าปาก

นอกจากนี้ยัง พบว่า ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ แต่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในสัตว์ทดลองและในคนต่อไป

ส่วนผสม

  • กระชายเหลืองสดครึ่งกิโล (หรือจะใช้สูตรผสมก็ได้ โดยใช้กระชายเหลือง 5 ส่วน กระชายดำ 1 ส่วน และกระชายแดง 1 ส่วน)
  • น้ำผึ้ง
  • น้ำมะนาว
  • น้ำเปล่าต้มสุกที่ทิ้งไว้จนเย็น

 

ขั้นตอนการทำน้ำกระชาย

  • นำกระชายมาล้างให้สะอาด ตัดหัวและท้ายทิ้งไป ถ้าขูดเปลือกออกบ้างก็จะดีมาก
  • นำมาหั่นเป็นท่อน ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการนำมาปั่น
  • เตรียมผ้าขาวบางรองด้วยกระชอน
  • นำกระชายที่เตรียมไว้ใส่ในโถปั่นและผสมกับน้ำเปล่าต้มสุกพอประมาณ แล้วปั่นจนละเอียด
  • เทใส่กระชอนที่เตรียมไว้ ถ้าน้ำน้อยก็ให้ผสมน้ำเปล่าลงไปอีก แล้วคั้นเอาแต่น้ำเท่านั้น

 

เมื่อจะดื่มก็เพียงแค่นำมาผสมกับน้ำมะนาว น้ำผึ้งในถ้วยแล้วคนให้เข้ากัน แล้วจึงใส่น้ำกระชายตามลงไป

เมื่อผสมจนรสชาติกลมกล่อมตามที่ต้องการแล้วก็เป็นอันเสร็จ

แต่ถ้ากลัวว่ากลิ่นกระชายจะแรงไป ก็สามารถใช้ใบบัวบกหรือใบโหระพามาปั่นรวมกันก็ได้ตามใจชอบ เพราะไม่มีส่วนผสมที่เป็นสูตรตายตัวเท่าไหร่

Tip : น้ำกระชายไม่ควรเก็บไว้นานมาก เพราะจะทำให้ความซ่าและความหอมของกระชายลดน้อยลง ทำให้เกิดตะกอนที่ก้น ถ้าจะให้ดีที่สุดก็ควรดื่มให้หมดภายใน 1 อาทิตย์ จะได้ทั้งรสชาติที่ซ่า ดื่มแล้วชื่นใจ พร้อมประโยชน์เต็ม ๆ ด้วย แต่สำหรับผู้ที่ดื่มน้ำกระชายแล้วมีอาการแปลก ๆ ร้อนวูบวาบ หรือมีอาการเหงื่อออกหรือเรอออกมาก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเป็นอาการปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ หากดื่มไปสักพักเดี๋ยวก็ชินไปเอง

แหล่งที่มา : https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2348

https://www.opsmoac.go.th/surin-local_wisdom-preview-422891791854