by author1 author1

อาหารทางสายยาง

การให้อาหารทางสายยาง (Tube Feeding)

สูตรอาหารทางสายยางมีอะไรบ้าง ?

  1. อาหารสูตรน้ำนมผสม (Milk based formula)

 

แหล่งที่มา : http://www.kluaynamthai2.com

อาหารสูตรนี้ใช้นมและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นส่วนผสมสำคัญ ประกอบกับส่วนผสมอื่น เช่น น้ำตาล น้ำมันพืช ไข่ เพื่อให้ผู้รับประทานได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนของวัตถุดิบที่น้ำมาใช้จะขึ้นอยู่กับพลังงานและสารอาหารที่แพทย์กำหนด

อาหารสูตรน้ำนมผสมเตรียมง่าย ใช้เวลาน้อย เหมาะสำหรับผู้ป่วยเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากมีส่วนประกอบของนมเป็นหลัก มักจะก่อให้เกิดอาการท้องเสียสำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ดื่มนมมาเป็นระยะเวลานาน และไม่มีน้ำย่อยน้ำตาลแลคโตส (Lactose) แล้ว

  1. อาหารสูตรปั่นผสม (Blenderized formula)

อาหารสูตรนี้มีคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วน ใช้วัตถุดิบจากอาหาร 5 หมู่ ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำตาล และไขมัน นำมาทำให้สุก แล้วปั่นผสมเข้าด้วยกัน จากนั้นจึงกรองเอาส่วนที่ปั่นไม่ละเอียดออกเพื่อให้อาหารสามารถไหลผ่านสายให้อาหารได้

อาหารสูตรปั่นผสมเหมาะสำหรับผู้ใหญ่เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการแพ้นมวัว (Lactose intolerance) สามารถปรับเปลี่ยนวัตถุดิบได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการเตรียม แต่สุดท้ายจะต้องได้คุณค่าครบถ้วนตามที่แพทย์กำหนด โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน

  1. อาหารสูตรสำเร็จ (Commercial formula)

อาหารสูตรนี้ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร มีสัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน ให้คุณค่าสารอาหารแตกต่างกันตามรายละเอียดที่ระบุไว้ที่ภาชนะบรรจุ มีทั้งชนิดผงและน้ำ สามารถนำไปละลายน้ำตามสัดส่วนที่กำหนด หรือเปิดภาชนะบรรจุก็ใช้ได้ทันที

 

แบ่งเป็น 5 สูตรตามสารอาหาร ดังนี้

  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนจากนม (Milk-protein base formula) ใช้นมเป็นแหล่งโปรตีน มักเป็นนมสด (Whole milk) หรือนมขาดมันเนย (Non-fat milk) มีลักษณะเป็นผง
  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลือง (Soy-protein base formula) ใช้ถั่วเหลืองเป็นแหล่งของโปรตีน (Soy Protein Isolate) มีลักษณะเป็นผง
  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนจากนมและถั่วเหลืองผสมกัน (Milk and soy-protein base formula) ใช้ทั้งนมและนมถั่วเหลืองเป็นแหล่งของโปรตีน มีทั้งชนิดผงและชนิดน้ำ
  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนขนาดโมเลกุลเล็ก (Protein hydrolysate) เป็นสูตรนมที่นำโปรตีนมาย่อยสลายด้วยเอนไซม์ส่วนหนึ่งให้มีขนาดเล็กลงเป็นสายโมเลกุลสั้นๆ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่แพ้โปรตีนจากทั้งนมวัวและนมถั่วเหลือง
  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนอยู่ในสภาพกรดอะมิโน (Amino acid-based formula) เป็นสูตรนมที่มีโปรตีนซึ่งผ่านกระบวนการย่อยเป็นกรดอะมิโน ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ทันที

แหล่งที่มา : https://hd.co.th/tube-feeding

 

อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้อาหารทางสายยาง

  1. อาหารเหลว หรือ อาหารสำเร็จรูป (ตามคำสั่งของแพทย์ )
  2. กระบอกให้อาหารทางสายยาง
  3. สำลี แอลกอฮอล์
  4. สบู่ล้างมือ หรือแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ

 

ขั้นตอนการให้อาหารทางสายยาง มีดังต่อไปนี้

  1. เตรียมของเครื่องใช้ในการให้อาหารทางสายยาง อาหารเหลวและยาที่เตรียมให้ผู้ป่วย
  2. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีเสมหะขับออกเองไม่ได้ ให้ดูดเสมหะก่อน เพื่อป้องกันผู้ป่วยไอสำลักอาหารขณะให้อาหารทางสายยาง
  3. การจัดท่า –ถ้าลุกนั่งได้ให้อยู่ในท่านั่ง ถ้าช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ให้จัดท่าศีรษะสูง อย่างน้อย 60 องศา
  4. ล้างมือ
  5. จับบริเวณปลายสายยาง พับสายยางไว้เพื่อป้องกันลมเข้ากระเพาะอาหาร ผู้ป่วยจะได้ไม่มีอาการท้องอืด
  6. ทดสอบดูว่า ปลายสายยางให้อาหาร ยังอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่ โดยเปิดจุกแล้วเอากระบอกที่มีลูกสูบมาต่อ จากนั้นปล่อยสายที่พับไว้ลัวดึงลุกสูบ เพื่อประเมินอาหารหรือน้ำที่ยังคงเหลือค้างในกระเพาะอาหาร
  • ถ้ามีอาหารหรือน้ำเหลือค้างมากกว่า 50 ซีซี ให้ดันอาหารกลับเข้าไปอย่างช้าๆ และเลื่อนเวลาออกไปครั้งละ 1 ชั่วโมง แล้วมาประเมินใหม่อีกครั้ง
  • ถ้ามีอาหารหรือน้ำเหลือค้างน้อยกว่า 50 ซีซี ให้ดันอาหารกลับเข้าไปอย่างช้าๆ และให้อาหารได้เลย
  • ถ้าไม่มีอาหารและน้ำเหลือค้าง สามารถให้อาหารได้เลย

** หมายเหตุ     ในกรณีดึงอาหารออกมาแล้ว สีอาหารเปลี่ยนไปเปลี่ยนเป็นสีแดง,สีน้ำตาล,สีดำ ควรปรึกษาศูนย์สาธารณะสุขหรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน

  • หลังจากประเมินอาหารเสร็จ สามารถให้อาหารได้ ให้พับสายยางและปลดกระบอกออก จากนั้นนำปลายสายถุงอาหารมาต่อกับจุก แขวนถุงอาหารไว้กับเสาสูงๆและหมุนตัวล็อคขึ้นให้อาหารไหล
  • พออาหารหมด ให้หมุนตัวล็อคลงเพื่อปิด และให้พับสายไว้และปลดสายถุงอาหารออก นำกระบอกที่ไม่มีลูกสูบมาต่อกับจุกเติมน้ำลงไปประมาณ 10 -20 ซีซี ปล่อยสายที่พับไว้เพื่อให้น้ำไหลจนกระทั่งน้ำเหลือในกระบอกประมาณ 10 ซีซี ให้พับสายไว้ จากนั้นนำยาที่บดละลายน้ำไว้เทเติมลงไป (ระวังยาจะอุดตัน) ปล่อยสายที่พับไว้ พอยาไหลเกือบหมดกระบอก ให้พับสายและเติมน้ำลงไปอีกประมาณ 30 ซีซี ปล่อยสายที่พับไว้ ให้น้ำไหลจนหมดและไม่เห็นน้ำเหลือค้างในสายยาง (ตั้งแต่ปลายสายจนถึงจมูกผู้ป่วย ) จากนั้นปิดจุก
  • หลังจากให้อาหารและยาเสร็จเรียบร้อย ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูง 60 องศาต่อไปอีกประมาณ 1 ชั่วโมง
  • การเก็บอาหารปั้น โดยปกติจะเก็บได้ 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง ในช่องธรรมดา ถ้าจะนำอาหารมาให้ผู้ป่วยต้องอุ่นก่อน โดยนำถุงอาหารปั้นไปแช่น้ำร้อน

แหล่งที่มา : http://www.kluaynamthai2.com


การดูแลรักษาสายยางให้อาหาร
 

  1. เปลี่ยนพลาสเตอร์ที่ติดสายยางกับจมูกทุก 2 – 3วัน หรือเมื่อหลุด
  2. ทำความสะอาดรูจมูก และรอบจมูกด้วยไม้พันสำลี หรือผ้าชุบน้ำ
  3. ระวังสายยางเลื่อหลุด ควรทำเครื่องหมายไว้เป็นจุดสังกตด้วย
  4. ถ้าสายยางเลื่อนหลุดไม่ควรใส่เอง เพราะอาจใส่ผิดไปเข้าหลอดลม ให้มาพบแพทย์
  5. ควรนำมาพบแพทย์เพื่อเปลี่ยนสายให้อาหารเมื่อสกปรก หรือ ทุก 1 เดือน

แหล่งที่มา : https://www.saintlouis.or.th/article/show/_11-0-2022-13:16