by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำจุลินทรีย์

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำจุลินทรีย์


1.น้ำจุลินทรีย์ที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

 

3.ผลิตภัณฑ์ผงจุลินทรีย์ที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการทำ FLUIDIZED BED GRANULATOR จากผงกล้วย

ขั้นตอนการทำ FLUIDIZED BED GRANULATOR  จากผงกล้วย

1.ผงกล้วยที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องทำแกรนูลแบบฟลูอิดไดซ์เบด (Fluidized Bed Granulator) อบผงด้วยลมร้อนในตัวถังเกาะกลุ่มด้วยสารช่วยยึดเกาะ

3.ผลิตภัณฑ์ผงกล้วยเกาะกลุ่มที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการทำแห้งแบบลูกกลิ้งจากน้ำแป้งกล้วยดิบ

ขั้นตอนการทำแห้งแบบลูกกลิ้งจากน้ำแป้งกล้วยดิบ


1.แป้งกล้วยที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้งคู่ ( TWIN DRUM DRYER ) ทำวัตถุดิบของเหลวให้แห้งโดยเทวัตถุดิบของเหลวลงในช่องระหว่างลูกกลิ้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงน้ำแป้งกล้วยดิบที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารแต่งกลิ่นเปลือกไม้แอปเปิ้ลรมควัน

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารแต่งกลิ่นเปลือกไม้แอปเปิ้ลรมควัน


1.เปลือกไม้ที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

 

3.ผลิตภัณฑ์ผงสารแต่งกลิ่นเปลือกไม้แอปเปิ้ลรมควัน

by author1 author1

ใบย่านาง

ใบย่านาง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้เถาเลื้อย เถากลมขนาดเล็ก มีเนื้อไม้ เลื้อยพันตามต้นไม้ หรือกิ่งไม้ เถามีสีเขียว ยาว 10-15 เมตร เถาอ่อนสีเขียว เมื่อเถาแก่จะมีสีคล้ำ แตกเป็นแนวถี่ เถาอ่อนมีขนนุ่มสีเทา มีเหง้าใต้ดิน กิ่งก้านมีรอยแผลเป็นรูปจานที่ก้านใบหลุดไป มีขนประปราย หรือเกลี้ยง ใบเดี่ยว หนา สีเขียวเข้มเป็นมัน เรียงแบบสลับ รูปไข่ ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ฐานใบมน ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ผิวใบเรียบมัน ไม่มีหูใบ เนื้อใบคล้ายกระดาษ แต่แข็ง เหนียว มีเส้นใบกึ่งออกจากโคนใบรูปฝ่ามือ 3-5 เส้น และมีเส้นแขนงใบ 2-6 คู่  ออกเป็นพวง ตามข้อและซอกใบ ติดบนก้านยาว 3-4 มิลลิเมตร เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มและแดงสด เมล็ดรูปเกือกม้า พบตามป่าเต็งรัง ป่าดิบใกล้ทะเล ตามริมน้ำในป่าละเมาะ พบมากในที่รกร้าง ไร่ สวน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน

 

สรรพคุณ

ตำรายาไทย  ใช้ ราก รสจืด รสจืดขม ใช้ในตำรับยาแก้ไข้เบญจโลกวิเชียร (ประกอบด้วยรากย่านาง รวมกับรากเท้ายายม่อม รากมะเดื่อชุมพร รากคนทา รากชิงชี่ อย่างละเท่าๆกัน)

  • แก้ไข้ (ใช้รากแห้งครั้งละ 1 กำมือ หรือประมาณ 15 กรัม ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็น) ใบ รสจืดขม รับประทานถอนพิษ แก้ไข้ อีสุกอีใส หัด ลิ้นกระด้างคางแข็ง เป็นยากวาดคอ
  • แก้พิษเมาเบื่อ กระทุ้งพิษไข้ แก้เมาสุรา ถอนพิษผิดสำแดง นำมาต้มกินเป็นยาแก้อีสุกอีใส ตุ่มผื่น แก้ไข้ ขับพิษต่างๆ
  • แก้ท้องผูก ก้านที่มีใบผสมกับพืชอื่นใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย

ชาวบ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ น้ำคั้นจากใบ มีรสขม ปรุงใส่แกงหน่อไม้แกงอ่อม หรือแกงอีสานต่างๆ เป็นเครื่องชูรสได้ดีชนิดหนึ่ง เส้นใยจากเถา เหนียวมาก ใช้ทำเชือก หรือใช้มัดตับหญ้าคาที่ใช้มุงหลังคาได้

การศึกษาพิษวิทยา

สารสกัดใบย่านางด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ 50 ฉีดเข้าไปใต้ผิวหนังของหนู ปริมาณ 10 กรัม ต่อน้ำหนักตัวของหนู 1 กิโลกรัม (คิดเป็นปริมาณ 6,250 เท่าของปริมาณที่คนได้รับ) ไม่แสดงความเป็นพิษ

 

 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  • เมื่อทำน้ำย่านางเสร็จแล้วควรดื่มทันที เพราะถ้าทิ้งไว้นานเกินไปจะเกิดกลิ่นเหม็นเปรี้ยวหรือเกิดการบูดขึ้นได้ แต่สามารถนำมาแช่ตู้เย็นได้ และควรดื่มให้หมดภายใน 3 วัน
  • ในการดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนอาหารหรือตอนท้องว่างประมาณครึ่งแก้ว 3 ครั้งต่อวัน
  • บางคนที่รู้สึกว่าน้ำย่านาง เหม็นเขียว รับประทานยากสามารถนำน้ำย่านางไปต้มให้เดือดแล้วนำมาดื่มหรือจะผสมกับน้ำสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ก็ได้ เช่น ขิง ตะไคร้ ขมิ้น หรือจะผสมกับน้ำมะพร้าว น้ำมะนาว น้ำตาล หรือแม้แต่น้ำหวานก็ได้เช่นกัน
  • ควรดื่มปริมาณแต่พอดี หากดื่มแล้วรู้สึกแพ้ พะอืดพะอม ก็ควรลดความเข้มข้นของสมุนไพรที่ใส่ลงไปให้น้อยลง

แหล่งที่มา : http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=148

แหล่งที่มา : https://www.disthai.com/16941446

by author1 author1

มันสำปะหลัง

ประโยชน์ของมันสำปะหลัง (Benefits of Cassava)

มันสำปะหลังคืออะไร  

มันสำปะหลัง  เป็นผักชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้เป็นแหล่งของพลังงานและคาร์โบไฮเดรต ในประเทศกำลังพัฒนานิยมรับประทานมันสำปะหลังกันอย่างมาก

มันสำปะหลัง เป็นพืชที่มีพื้นที่ปลูกอยู่ในเขตร้อนของโลก เนื่องจากสามารถเติบโตได้ในสภาวะที่ยากลำบาก เป็นพืชที่ทนแล้งมากที่สุดชนิดหนึ่ง

ส่วนของมันสำปะหลังที่นิยมบริโภคกันมากที่สุด คือ หัวมัน ซึ่งมีประโยชน์หลากหลายมาก สามารถนำมาขูด หรือบดเป็นแป้งเพื่อทำขนมปังและแครกเกอร์ หรือรับประทานทั้งหัว

 

ประกอบด้วยสารอาหารหลักไม่กี่อย่าง

หัวมันสำปะหลังต้มสุกขนาด 3.5 ออนซ์ (100 กรัม) ให้พลังงาน 112 แคลอรี่ โดย 98% มาจากคาร์โบไฮเดรต ส่วนที่เหลือมาจากโปรตีนและไขมันเล็กน้อย

ในมันสำปะหลังต้มสุก 3.5 ออนซ์ (100 กรัม) พบสารอาหารต่อไปนี้

  • พลังงาน : 112 แคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต : 27 กรัม
  • ไฟเบอร์ : 1 กรัม
  • ไทอามีน : 20% ของ RDI
  • ฟอสฟอรัส : 5% ของ RDI
  • แคลเซียม : 2% ของ RDI
  • ไรโบฟลาวิน : 2% ของ RDI

การแปรรูปมันสำปะหลังเป็นการลดคุณค่าทางโภชนาการ

การแปรรูปมันหัวมันสำปะหลังด้วยการปอกเปลือก สับ และปรุงอาหาร เป็นการลดคุณค่าทางโภชนาการลงอย่างมาก  เนื่องจากวิตามินและแร่ธาตุจำนวนมากถูกทำลาย จากกระบวนการแปรรูปเช่นเดียวกับไฟเบอร์ และแป้งที่ให้พลังงานต่ำ

ดังนั้น มันสำปะหลังที่นิยมนำมาแปรรูปมากขึ้น เช่น  แป้งมันสำปะหลัง และ การ์รี่ จึงมีคุณค่าทางโภชนาการที่จำกัดมาก  ตัวอย่าง เช่น ไข่มุกมันสำปะหลัง 1 ออนซ์ (28 กรัม) ให้ แต่พลังงานและแร่ธาตุเล็กน้อย

การต้มหัวมันสำปะหลังเป็นวิธีการปรุงอาหารวิธีหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าสามารถกักเก็บสารอาหารไว้ได้มากที่สุด ยกเว้นวิตามินซี ซึ่งไวต่อความร้อนและถูกชะล้างในน้ำได้ง่าย

 

คุณสมบัติของแป้งมันสำปะหลัง

มันสำปะหลัง เป็นแป้งที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ ซึ่งเป็นแป้งชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติคล้ายกับเส้นใยที่ละลายน้ำได้   การบริโภคอาหารที่มีแป้งที่ย่อยไม่ได้อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวมหลายประการ

  • ประการแรก แป้งที่ย่อยไม่ได้จะเป็นอาหารของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ ซึ่งอาจช่วยลดการอักเสบ และส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร

นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษา การมีส่วนช่วยในการเผาผลาญอาหารที่ดีขึ้นของแป้งที่ย่อยไม่ได้และลดความเสี่ยงต่อโรคอ้วน และโรคเบาหวาน

เนื่องจากนอกเหนือจากบทบาทในการส่งเสริมความอิ่มและลดความอยากอาหารแล้ว ยังมีศักยภาพในการฟื้นฟูการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วย

 

 

 

ประกอบด้วยสารต้านโภชนาการ

ข้อเสียของมันสำปะหลัง ที่สำคัญอย่างหนึ่งของมันสำปะหลังคือประเด็นของสารต้านโภชนาการ

สารต้านโภชนาการ เป็นสารประกอบจากพืชที่อาจรบกวนการย่อยอาหารและขัดขวางการดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุในร่างกาย

สารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดที่พบในมันสำปะหลัง มีดังนี้ :

  • ซาโปนิน(Saponins) : เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจมีข้อเสีย เช่น ลดการดูดซึมวิตามิน และแร่ธาตุบางชนิด
  • ไฟเตต (Phytate) : สารต้านอนุมูลอิสระนี้อาจรบกวนการดูดซึมของแมกนีเซียมแคลเซียมเหล็กและสังกะสี
  • แทนนิน(Tannins): รู้จักกันดีว่ามีผลในการลดความสามารถในการย่อยโปรตีนและขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง และไทอามีน

 

อันตรายของมันสำปะหลัง

การบริโภคมันสำปะหลังดิบโดยปรุงไม่ถูกวิธี หรือบริโภคในปริมาณมากอาจเป็นอันตราย  เนื่องจากมันสำปะหลังดิบมีสารเคมีที่เรียกว่า  “ไซยาโนจินิกไกลโคไซด์”   ซึ่งสามารถปล่อยไซยาไนด์ในร่างกายภายหลังการบริโภค เมื่อรับประทานบ่อยๆ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นพิษของไซยาไนด์ ซึ่งอาจมีผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์และเส้นประสาท มีความสัมพันธ์กับการเป็นอัมพาตและอวัยวะถูกทำลาย จนอาจถึงแก่ชีวิตได้

 

วิธีปรุงมันสำปะหลัง

โดยทั่วไป สามารถบริโภคมันสำปะหลังได้อย่างปลอดภัยเมื่อถูกปรุงเป็นอาหารอย่างถูกต้อง และรับประทานเป็นครั้งคราวในปริมาณปานกลาง  ขนาดบริโภคที่เหมาะสมคือประมาณ 1 / 3–1 / 2 ถ้วย

วิธีสามารถรับประทานมันสำปะหลังได้อย่างปลอดภัย 

 

  • ปอกเปลือก : เปลือกของหัวมันสำปะหลังเป็นบริเวณที่มีสารประกอบส่วนใหญ่สำหรับสร้างไซยาไนด์
  • การแช่น้ำ : การแช่มันสำปะหลังโดยจุ่มลงในน้ำเป็นเวลา 48–60 ชั่วโมงก่อนที่จำปรุงอาหาร และรับประทาน อาจช่วยลดปริมาณสารเคมีที่เป็นอันตรายได้
  • ปรุงให้สุก : เนื่องจากสารเคมีที่เป็นอันตรายพบอยู่ในมันสำปะหลังดิบ จึงจำเป็นต้องปรุงให้สุกโดยการต้มย่าง หรืออบ เป็นต้น ปัจจุบันนิยมนำมาอบและบดเป็นมันบด
  • บริโภคร่วมกับโปรตีน : การกินโปรตีนร่วมกับมันสำปะหลังอาจเป็นประโยชน์ เนื่องจากโปรตีนช่วยกำจัดไซยาไนด์ที่เป็นพิษ
  • รับประทานอาหารให้สมดุล : คุณสามารถป้องกันผลข้างเคียงจากมันสำปะหลังได้โดยรับประทานอาหารอย่างหลากหลายในแต่ละมื้ออาหารของคุณ และไม่รับประทานมันสำปะหลังเพื่อแหล่งโภชนาการเพียงอย่างเดียวของคุณ

 

แหล่งที่มา : https://ihealzy.com/benefits-of-cassava/

by author1 author1

กาแฟ

กาแฟ

กาแฟ (Coffee) เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดกาแฟคั่วซึ่งได้จากต้นกาแฟ นิยมดื่มร้อนๆ แต่สามารถดื่มแบบเย็นได้ด้วย บางครั้งนิยมใส่นมหรือครีมลงในกาแฟด้วย

ในกาแฟหนึ่งถ้วยมีคาเฟอีนอยู่ประมาณ 80-140 มิลลิกรัม กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับชาและน้ำ นอกจากนี้ กาแฟยังเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีการส่งออกมากเป็นอันดับที่หกของโลก

ชนิดของเมล็ดกาแฟ

พันธุ์หลักๆ ที่ได้รับความนิยมมี 2 พันธุ์ ได้แก่ อาราบิก้า (Arabica) ซึ่งเป็นกาแฟแบบดั้งเดิม และมีรสชาติดี และ โรบัสต้า (Robusta) ซึ่งมีปริมาณกาเฟอีนสูง และสามารถปลูกในที่ที่ปลูกอาราบิก้าไม่ได้

การผลิตเมล็ดกาแฟ

การบ่ม ในการผลิตกาแฟ วิธีที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันดีนัก  กาแฟหลายๆ ประเภทจะมีคุณภาพดีขึ้นเมื่อผ่านการบ่ม รสเปรี้ยวของมันจะลดลง ในขณะที่ความกลมกลืนของรสชาติโดยรวมก็จะเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตหลายๆ รายมักจะขายเมล็ดกาแฟออกไปหลังจากได้บ่มเอาไว้แล้วถึง 3 ปี และร้านที่ขึ้นชื่อเป็นพิเศษบางร้าน (เช่น “Toko Aroma” ในเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย) ถึงกับบ่มเมล็ดที่ยังไม่ได้คั่วไว้ถึง 8 ปีทีเดียว

การคั่ว กระบวนการคั่วเป็นขั้นตอนที่ขาดไม่ได้ในการที่จะได้กาแฟรสชาติดีสักถ้วยหนึ่ง  เมื่อถูกคั่ว เมล็ดกาแฟสีเขียวก็จะพองออกจนเกือบจะมีขนาดเป็นสองเท่าของของเดิม พร้อมทั้งเปลี่ยนสีและความหนาแน่นไป เมื่อเมล็ดได้รับความร้อน จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและในที่สุดก็จะกลายเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ แบบสีของผลอบเชย (cinnamon) และจะมีสีเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะถูกยกออกจากความร้อน

ในการคั่วแบบอ่อนๆ กาแฟจะเก็บรสชาติดั้งเดิมไว้ได้ดีกว่า รสชาติดั้งเดิมนี้จะขึ้นอยู่กับดินและสภาพอากาศในที่ที่ต้นกาแฟได้เติบโตขึ้นมา  เมล็ดกาแฟจากพื้นที่ที่มีชื่อเสียง เช่น เกาะชวา และประเทศเคนยา จะถูกคั่วเพียงอ่อนๆ เท่านั้นเพื่อให้ยังคงรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์อยู่ให้มากที่สุด ยิ่งเมล็ดกาแฟถูกคั่วให้เข้มมากขึ้นเท่าไหร่ รสชาติดั้งเดิมของมันก็จะยิ่งถูกบดบังด้วยรสที่เกิดจากการคั่วมากขึ้นเท่านั้น กาแฟบางประเภทที่ถูกคั่ว จนรสชาติแทบจะไม่ได้บ่งบอกถึงสถานที่ปลูกเลย จะถูกขายโดยใช้ระดับของการคั่วเป็นหลัก โดยเริ่มตั้งแต่ “คั่วอ่อนๆ (Light Cinnamon Roast)” ไปจนถึง “การคั่วแบบเวียนนา (Vienna Roast)” และ “การคั่วแบบฝรั่งเศส (French Roast)” และอื่นๆ

การบด

ความละเอียดของกากที่ได้จากการบดมีผลอย่างมากต่อรสชาติ ยิ่งบดกาแฟละเอียดเท่าไร ก็จะยิ่งได้รสชาติที่เข้มข้นและครบบริบูรณ์มากขึ้นเท่านั้น เหตุผลหลักที่บางคนไม่บดละเอียดมากนัก คือเพื่อไม่ให้กากสามารถผ่านตัวกรองชนิดหยาบๆ ออกไปได้ (เช่น cafetiere)

การผลิตกากกาแฟพร้อมชงมี 3 วิธีด้วยกัน

  • การโม่
  • การสับ
  • การบดเป็นผง

การชง

การชงกาแฟมีหลากหลายวิธี ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทตามการให้น้ำกับกากกาแฟ ได้ 4  ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

การต้มเดือด : กาแฟตุรกี วิธีการดั้งเดิมในการชงกาแฟ ซึ่งยังคงใช้อยู่ในตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ ตุรกี และกรีซ  ได้แก่ การต้มผงกาแฟละเอียดเข้ากับน้ำในหม้อคอคอด ซึ่งเรียกว่า ไอบริก (ibrik) และปล่อยให้เดือดเล็กน้อย บางครั้งก็จะเติมน้ำตาลเข้าไปในหม้อด้วยเพื่อเพิ่มรสหวาน และยังเพิ่มรสและกลิ่นด้วยกระวาน (cardamom) ผลที่ได้ คือ กาแฟเข้มข้นถ้วยเล็กๆ มีฟองอยู่ข้างบน และกากกาแฟกองหนาเหมือนโคลนอยู่ที่ก้น

การใช้ความดัน : เอสเพรสโซ ถูกชงด้วยน้ำเดือด้วยความดัน และมักเป็นพื้นฐานนำไปผสมกาแฟหลายๆ ชนิด หรือไม่ก็เสิร์ฟเปล่าๆ ก็ได้ (มักจะเป็นหลังจากมื้อค่ำ) กาแฟชนิดนี้ เป็นหนึ่งในประเภทที่แรงที่สุดที่ดื่มกันโดยทั่วไป และมีรสชาติและความมัน (crema) ที่เป็นเอกลักษณ์

การใช้แรงโน้มถ่วง : การชงแบบหยด (หรือแบบกรอง) เป็นการหยดน้ำร้อนผ่านกากกาแฟที่วางอยู่ในที่กรอง (อาจเป็นกระดาษหรือโลหะเจาะรู) ความเข้มขึ้นอยู่กับสัดส่วนระหว่างน้ำกับกาแฟ แต่โดยปกติแล้วจะไม่เข้มข้นเท่าเอสเพรสโซ

การจุ่ม : เฟรนช์เพรส (หรือ cafetiere) เป็นกระบอกแก้วที่สูงและแคบ ประกอบด้วยลูกสูบที่มีตัวกรอง กาแฟและน้ำร้อนจะถูกผสมกันในกระบอก (ประมาณ2-3นาที) ก่อนที่ตัวลูกสูบ ซึ่งอยู่ในรูปฟอยล์โลหะ จะถูกกดลง เพื่อให้เหลือแต่น้ำกาแฟอยู่ข้างบนพร้อมเสิร์ฟ ถุงกาแฟ (ลักษณะเดียวกับถุงชา) เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมน้อยกว่าการใช้ถุงชงชามาก เนื่องจากมันมีขนาดใหญ่กว่ามาก (ปริมาณกาแฟที่ต้องใส่เข้าไปในถุงมากกว่าปริมาณชามาก)

กาแฟแต่ละชนิด

  • กาแฟดำ

ชงด้วยวิธีการหยดน้ำ อาจเป็นแบบให้น้ำซึมหรือแบบเฟรนช์เพรส เสิร์ฟโดยไม่ใส่นม อาจเติมน้ำตาลได้ ผู้คนมักเข้าใจผิดว่ากาแฟดำกับเอสเพรสโซเป็นอย่างเดียวกัน แต่ที่จริงแล้วกาแฟทั้งสองชนิดมีข้อแตกต่างกันหลายข้อ ข้อที่สำคัญคือ ถ้วยเสิร์ฟของเอสเพรสโซมีขนาดเล็กกว่า เพราะนิยมดื่มให้หมดในอึกเดียว ปกติแล้วเอสเพรสโซจะไม่ใส่น้ำตาลหรือนม เอสเพรสโซที่ชงถูกวิธีจะต้องมีฟองสีทองลอยอยู่ด้านบน รสชาติของเอสเพรสโซจะติดปากหลังจากดื่มนานกว่า (15-30 นาที)

  • เอสเพรสโซ (espresso)

คือ กาแฟที่มีรสแก่และเข้ม ซึ่งมีวิธีการชงโดยใช้แรงอัดไอน้ำหรือน้ำร้อนผ่านเมล็ดกาแฟคั่วที่ การสั่งกาแฟ “caffe” ในร้านโดยทั่วไปก็คือ สั่งเอสเพรสโซ ด้วยวิธีการชงแบบใช้แรงอัด ทำให้เอสเพรสโซมีรสชาติกาแฟซึ่งเข้มข้นและหนักแน่น ต่างจากกาแฟทั่ว ๆ ไป

  • คาปูชิโน (cappuccino)

คาปูชิโนมีส่วนประกอบหลัคือ เอสเพรสโซ และ นม การชงคาปูชิโนโดยส่วนใหญ่มักมีอัตราส่วนของเอสเพรสโซ 1/3 ส่วน ผสมกับนมสตีม (นมร้อนผ่านไอน้ำ) 1/3 ส่วน และนมตีเป็นโฟมละเอียด 1/3 ส่วนลอยอยู่ด้านบน นอกจากนั้นอาจโรยหน้าด้วยผงซินนามอน หรือ ผงโกโก้เล็กน้อยตามความชอบ

  • ลาเต้

เป็นภาษาอิตาลีแปลว่านม ส่วนในประเทศอื่น จะหมายถึง กาแฟลาเต้ หรือเครื่องดื่มกาแฟที่เตรียมด้วยนมร้อน โดยการเทเอสเพรสโซ 1/3 ส่วน และนมร้อนอีก 2/3 ส่วน ลงในถ้วยพร้อมๆ กัน และจะหยอดโฟมนมหนาประมาณ 1 ซม. ทับข้างบน ในการชงกาแฟลาเต้ บาริสต้า (หรือผู้ชงกาแฟที่ชำนาญงาน) จะใช้วิธีขยับข้อมือเล็กน้อยขณะที่รินนมและโฟมนมลงบนกาแฟ ทำให้เกิดลวดลายต่าง ๆ เรียกว่า ลาเต้อาร์ต (latte art) หรือศิลปะฟองนมในถ้วยกาแฟ

  • มอคค่า (Mocha)

ในนี้หมายถึงกาแฟมอคค่า เป็นกาแฟอราบิก้าชนิดหนึ่ง ซึ่งปลูกอยู่บริเวณท่าเรือมอคค่าในประเทศเยเมน กาแฟมอคค่ามีสีและกลิ่นคล้ายชอคโกแลต (แม้ว่าจะไม่มีส่วนประกอบของชอคโกแลตในมอคค่าเลยก็ตาม) อันเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้กาแฟมอคค่าเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ มอคค่า ยังหมายถึงเครื่องดื่มกาแฟซึ่งมี เอสเพรสโซ่ และ โกโก้ เป็นส่วนประกอบ เสิร์ฟทั้งแบบร้อนและแบบเย็นใส่น้ำแข็ง

  • อเมริกาโน หรือ คาเฟ่ อเมริกาโน (cafe americano)

คือ เครื่องดื่มกาแฟชนิดหนึ่ง ซึ่งมีวิธีการชงโดยเติมน้ำร้อนผสมลงไปในเอสเพรสโซ การเจือจางเอสเพรสโซ ซึ่งเป็นกาแฟเข้มข้นด้วยน้ำร้อน ทำให้อเมริกาโนมีความแก่พอ ๆ กับกาแฟธรรมดา แต่มีกลิ่นและรสชาติที่เข้มข้น อเมริกาโนเหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบกาแฟดำ แต่ไม่แก่และหนักเท่าเอสเพรสโซ

 

  • กาแฟขาว (white coffee)

เป็นชาสมุนไพรชนิดหนึ่ง ค้นพบที่เมืองเบรุต นิยมดื่มกันมากในประเทศเลบานอนและซีเรีย และนิยมทานคู่กับ ขนมหวาน ในประเทศทางยุโรปบางประเทศ จะกล่าวถึง ไวต์คอฟฟี (white coffee) ในลักษณะของกาแฟใส่นม ในขณะเดียวกันไวต์คอฟฟีในสหรัฐอเมริกาจะหมายถึง กาแฟที่กลั่นไว้นานจนมีสีคล้ายกับสีเหลือง

แหล่งผลิตกาแฟที่มีชื่อเสียง

  • จาไมกา
  • บราซิล
  • โคลัมเบีย
  • ฮาวาย
  • อินโดนีเซีย
  • อินเดีย
  • เอธิโอเปีย
  • เคนยา
  • เวียดนาม

แหล่งที่มา : http://www.anatomy.dent.chula.ac.th/coffee.html

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำจับเลี้ยง

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำจับเลี้ยง

1.จับเลี้ยงที่นำมาแปรรูป ทำเป็นของเหลวโดยใช้หม้อต้มก่อน  ถังต้มกวนผสม ( HEATING MIXING TANK )

2.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงน้ำจับเลี้ยงที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำหมักโกโก้

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำหมักโกโก้

1.โกโก้ที่นำมาแปรรูป ทำเป็นของเหลวโดยใช้หม้อต้มก่อน  ถังต้มกวนผสม ( HEATING MIXING TANK )

2.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงน้ำหมักโกโก้ที่ได้

 

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำยางพารา

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำยางพารา

1.น้ำยางพาราที่นำมาแปรรูป

2. แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงน้ำยางพาราที่ได้