by author1 author1

สารสกัดจากเมล็ดองุ่น

สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed extract)

 

 

แหล่งที่มา : https://www.boon-herb.com/herballibrary/grape-seed-extract

ตั้งแต่อดีต คนโบราณไม่เพียงแต่ใช้องุ่นเพื่อการรับประทานและการดื่มเท่านั้น แต่ยังมีการนำเอาองุ่นไปทำเป็นยาอีกด้วย หลายส่วนของต้นองุ่นได้ถูกนำไปใช้สำหรับทำเป็นยาหรือสมุนไพร จนกระทั่งในปี ค.ศ.1970 นักชีวเคมีชาวฝรั่งเศสได้นำเอาเมล็ดองุ่นไปทำการสกัดและในที่สุดได้พบสารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากชื่อว่า   “โอลิโกเมอริก โปรแอนโธไซยานิดินส์ (Oligomeric Proanthocyanidins) หรือ OPCs”

 

OPCs คืออะไร

 

แหล่งที่มา : https://www.cbinterlab.com/product/static-cat0Product2

OPCs เป็นสารสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มของไบโอฟลาโวนอยด์ มีคุณสมบัติที่สำคัญในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง และละลายน้ำได้ดี ดังนั้นจึงมีประสิทธิภาพมากในการปกป้องเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายจากการถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ รวมถึงมีประสิทธิภาพในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าวิตามินซีถึง 20 เท่า และมากกว่าวิตามินอีถึง 50 เท่า

 

หน้าที่ของสารสกัดเมล็ดองุ่น

  1. หัวใจและหลอดเลือด
  • ยับยั้งการเกาะตัวของคอเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือด จึงป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
  • เพิ่มความสามารถในการไหลเวียนของโลหิต
  1. ดวงตา
  • ป้องกันการเสื่อมของดวงตา ต้อกระจก ช่วยให้สายตาปรับการมองเห็นในที่มืดได้ดี
  1. ภูมิแพ้
  • ลดอาการภูมิแพ้ OPC มีคุณสมบัติในการต้านสารฮีสตามีน จึงช่วยลดอาการภูมิแพ้ หอบหืด
  1. สมอง
  • ป้องกันโรคสมองเสื่อมหรือ อัลไซน์เมอร์ โดยที่ OPCs จะเข้าไปขัดขวางการทำลายเซลล์สมองจากอนุมูลอิสระ
  1. ผิว
  • ช่วยลดริ้วรอย ฝ้าและกระให้จางลง โดย OPCs จะช่วยต้านอนุมูลอิสระที่จะมาทำลายคอลลาเจนอิลาสตินและการผลิตเม็ดสี อันเป็นสาเหตุทำให้ผิวเสื่อมสภาพ และเกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร

 

ข้อควรระวัง : ไม่แนะนำสำหรับผู้ที่มีภาวะเลือดแข็งตัวช้าหรือใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และควรหยุดการรับประทานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนและหลังการผ่าตัดหรือทำฟัน

 

แหล่งที่มา : https://biopharm.co.th/

by author1 author1

ขั้นตอนการทำแห้งแบบลูกกลิ้งจากอาหารทางสายยาง

ขั้นตอนการทำแห้งแบบลูกกลิ้งจากอาหารทางสายยาง

 

1.อาหารทางสายยางที่นำมาแปรรูป


2.แปรรูปด้วย เครื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้งคู่ ( TWIN DRUM DRYER ) ทำวัตถุดิบของเหลวให้แห้งโดยเทวัตถุดิบของเหลวลงในช่องระหว่างลูกกลิ้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงอาหารทางสายยางที่ได้

by author1 author1

กล้วยน้ำว้าดิบ

กล้วยน้ำว้าดิบ พบสารสำคัญสรรพคุณล้นในการรักษาโรค

ขึ้นชื่อว่ากล้วย ผลไม้รสชาติหวาน อร่อย กินได้ง่ายทุกเพศ ทุกวัย หากินได้ทั่วทุกแห่งในโลก แต่สำหรับประเทศเรานั้นมีกล้วยเพียงไม่กี่ชนิดที่คนนิยมกินมาก เช่น กล้วยหอม กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง และกล้วยน้ำว้า โดยเฉพาะกล้วยอย่างหลังสุด “กล้วยน้ำว้า” มีสรรพคุณทางยามากมาย จนมีการศึกษาและงานวิจัยออกมายืนยันสรรพคุณอยู่เรื่อย ๆ เราจึงรวบรวม งานวิจัยผงกล้วยน้ำว้าดิบ ที่เรียกได้ว่าสรรพคุณล้นหลามในการรักษาโรค

สารสำคัญในกล้วยน้ำว้าดิบผง

แหล่งที่มา : http://www.thaicrudedrugom

ในผงกล้วยน้ำว้าดิบ  นั้นจะประกอบไปด้วยสารสำคัญอย่าง  สารแทนนิน (Tannin)  ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารตกตะกอนโปรตีน  มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี  จึงช่วยเคลือบป้องกันผนังกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่ให้ถูกทำลายโดยอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน  อาหารที่ส่งผลต่อการระคายเคืองที่กระเพาะ รวมถึงกรดในกระเพาะในช่วงที่ท้องว่าง

 นอกจากนี้กล้วยดิบ  ยังช่วยรักษาอาการท้องเสียได้ด้วย

ซึ่งสารอีกตัวหนึ่งที่สำคัญมากที่พบได้ในกล้วยดิบ นั่นคือ  เซโรโทนิน  ออกฤทธิ์กระตุ้นให้ผนังเยื่อบุกระเพาะอาหารหลั่งเมือกออกมาเคลือบกระเพาะ ป้องกันการถูกกรดในกระเพาะอาหารย่อยอีกทีหนึ่ง

ยังมีงานวิจัยศึกษาว่า กล้วยน้ำว้าดิบ  ช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร โดยทำการทดลองกับหนูขาวด้วยการป้อนกล้วยน้ำว้าดิบ  พบว่า กล้วยนั้นสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะ โดยกลไกการออกฤทธ์น่าจะเกิดการกระตุ้นให้เซลล์ในเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจากการหลั่งสารจำพวก Mucin ที่หลั่งออกมาเพื่อเคลือบกระเพาะ ซึ่งได้ผลที่ดีกว่ายาปฏิชีวนะอย่าง Aluminium hydroxide, Cimetidine และ Poslagiandin

 

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในผู้ที่อ้วนลงพุง โดยพบว่า การกินผงกล้วยดิบมีผลช่วยลดขนาดรอบสะโพก (hip circumference) ลดระดับน้ำตาลในเลือดและความดัน  การกินผงกล้วยดิบมีผลช่วยให้รูปร่างและค่าทางชีวเคมีในเลือดของผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินและมีภาวะอ้วนลงพุงดีขึ้นได้ แต่ไม่ได้ผลในกลุ่มผู้ที่น้ำหนักเกิน แต่ไม่ถึงกับอ้วนลงพุง

แหล่งที่มา : https://www.krodlaiyon.com/research-banana-namwa/

 

แหล่งที่มา : https://www.kasettambon.com

วิธีการทำแป้งกล้วย

  • นํากล้วยดิบตัดแยกเป็นผล ล้างด้วยน้ำให้สะอาด
  • ลวกในน้ำเดือดเป็นเวลา 45 วินาทีและแช่ในน้ำเย็นทันที
  • ปอกเปลือกและหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แช่ในสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ความเข้มข้น ร้อยละ 0.1 เป็นเวลา 30 นาที (การเตรียมทําโดยชั่ง โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ 1 กรัม เติมน้ำทำให้ได้สารละลาย 1 ลิตร และคนให้ละลาย) นําขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำ เกลี่ยบนถาดซึ่งเป็นตะแกรงโปร่ง
  • นําไปทําให้แห้ง โดยนําเข้าอบในตู้อบแห้งแบบใช้ลมร้อน ควบคุมอุณหภูมิ 55-60°C หรือตากให้แห้ง โดยใช้แสงแดด หรือเครื่องอบแห้งพลังแสงอาทิตย์จนแห้งกรอบ
  • นําไปบดให้เป็นผง แล้วร่อนผ่านตะแกรงร่อน ขนาด 80 Mesh บรรจุในภาชนะบรรจุปิดสนิท

แหล่งที่มา : https://www.kasettambon.com

 

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากอาหารทางสายยาง

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากอาหารทางสายยาง

1.น้ำอาหารทางสายยางนำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงอาหารทางสายยางที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการบีบน้ำมันจากเมล็ดถั่วดาวอินคา

ขั้นตอนการบีบน้ำมันจากเมล็ดถั่วดาวอินคา

 

1.ถั่วดาวอินคาที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วยเครื่อง OIL PRESS เครื่องหีบน้ำมันแบบเย็น เป็นเครื่องสกัดน้ำมันแบบเย็นโดยแรงบีบอัดแบบเกลียวเพื่อสกัดน้ำมันออกจากวัตถุดิบ

3.ผลิตภัณฑ์น้ำมันถั่วดาวอินคาที่ได้

by author1 author1

ถั่วดาวอินคา

ดาวอินคา ประโยชน์ดี ๆ สรรพคุณเด่น ๆ และข้อมูลงานวิจัย

ถิ่นกำเนิดดาวอินคา

ดาวอินคา เป็นพืชวงศ์ Euphorbiaceae เช่นเดียวกับ ยางพารา สบู่ดำ หรือมันสำปะหลัง ถั่วดาวอินคาในปัจจุบันก็มีการเพาะปลูกดาวอินคาในแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีการนำดาวอินคามาแปรรูป เช่น น้ำมันดาวอินคาที่ได้จากการสกัด ถั่วดาวอินคาอบเกลือ หรือถั่วดาวอินคาคั่ว

 

ประโยชน์และสรรพคุณดาวอินคา

  1. มีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลในเลือด
  2. สามารถต้านอนุมูลอิสระและป้องกันการออกซิเดชันของไขมัน
  3. ช่วยลดไขมันในเลือดและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
  4. ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมมาบำรุงกระดูกได้ดีขึ้น
  5. ช่วยรักษาความแข็งแรงของเยื่อหุ้มเซลล์
  6. ลดการอักเสบของหลอดเลือด

เมล็ดดาวอินคา สามารถใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว เช่น ถั่วคั่วเกลือ ถั่วทอด หรือ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร อาทิ ซอส ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว รวมถึงแปรรูปเป็นแป้ง

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ดาวอินคา

ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดรูปแบบ / ขนาดการใช้หรือขนาดรับประทานดาวอินคาอย่างแน่ชัด โดยบางงานวิจัยระบุว่า เมล็ดดาวอินคารับประทานไม่ได้

เนื่องจากมีสารกลุ่มที่ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ทริปซิน (trypsin inhibitor) แต่สามารถนำมาหีบเอาน้ำมันมาใช้รับประทานเพื่อให้ได้ประโยชน์จากน้ำมันดาวอินคา และบางงานวิจัยระบุว่าเมล็ดดาวอินคาสามารถรับประทานได้เมื่อทำให้สุกแล้ว

 

องค์ประกอบทางเคมี

ส่วนคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดดาวอินคา (คั่วเกลือ ปริมาณ 100 กรัม)

เมล็ดดาวอินคาเป็นแหล่งของโปรตีน (ประมาณ 27%)

แหล่งที่มา : Wikipedin

  • พลังงาน 607 กิโลแคลอรี
  • โปรตีน 32.14 กรัม
  • ไขมันทั้งหมด 46.43 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 17.86 กรัม
  • น้ำตาล 3.57 กรัม
  • แคลเซียม 143 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 4.59 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 643 มิลลิกรัม

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

งานวิจัยทางคลินิกที่ศึกษาถึงผลของน้ำมันดาวอินคา ว่ามีคุณสมบัติที่สามารถนำมาใช้แทนโอเมก้า-3 ที่มีอยู่ในน้้ามันปลาได้หรือไม่  โดยมีงานวิจัยที่ศึกษาผลของน้ำมันจากดาวอินคาต่อการลดระดับไขมันในเลือด ทดลองในผู้ป่วยที่มีปัญหาคลอเรสเตอรอลในเลือดสูง โดยให้รับประทานน้ำมันที่สกัดจากดาวอินคา 5 หรือ10 มิลลิลิตรเป็นระยะเวลา 4 เดือน พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มมีผลคลอเรสเตอรอลทั้งหมดและไขมันที่ไม่จำเป็นในเลือดลดลง และเพิ่มระดับไขมันเอชดีแอล แสดงให้เห็นถึงว่ากรดไขมันโอเมก้า-3 ที่อยู่ในดาวอินคาออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่สกัดออกมาได้จากน้ำมันปลา

 

 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  • เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดขนาดการใช้ดาวอินคาอย่างแน่ชัด ดังนั้นในการใช้ป้องกันหรือบำบัดรักษาโรค ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
  • ไม่ควรใช้ติดต่อกันในปริมาณมากเป็นเวลานาน เพราะอาจส่งผลต่อระบบต่างๆในร่างกาย
  • ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปของดาวอินคา ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา

 

by author1 author1

อาหารทางสายยาง

การให้อาหารทางสายยาง (Tube Feeding)

สูตรอาหารทางสายยางมีอะไรบ้าง ?

  1. อาหารสูตรน้ำนมผสม (Milk based formula)

 

แหล่งที่มา : http://www.kluaynamthai2.com

อาหารสูตรนี้ใช้นมและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นส่วนผสมสำคัญ ประกอบกับส่วนผสมอื่น เช่น น้ำตาล น้ำมันพืช ไข่ เพื่อให้ผู้รับประทานได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนของวัตถุดิบที่น้ำมาใช้จะขึ้นอยู่กับพลังงานและสารอาหารที่แพทย์กำหนด

อาหารสูตรน้ำนมผสมเตรียมง่าย ใช้เวลาน้อย เหมาะสำหรับผู้ป่วยเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากมีส่วนประกอบของนมเป็นหลัก มักจะก่อให้เกิดอาการท้องเสียสำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ดื่มนมมาเป็นระยะเวลานาน และไม่มีน้ำย่อยน้ำตาลแลคโตส (Lactose) แล้ว

  1. อาหารสูตรปั่นผสม (Blenderized formula)

อาหารสูตรนี้มีคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วน ใช้วัตถุดิบจากอาหาร 5 หมู่ ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำตาล และไขมัน นำมาทำให้สุก แล้วปั่นผสมเข้าด้วยกัน จากนั้นจึงกรองเอาส่วนที่ปั่นไม่ละเอียดออกเพื่อให้อาหารสามารถไหลผ่านสายให้อาหารได้

อาหารสูตรปั่นผสมเหมาะสำหรับผู้ใหญ่เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการแพ้นมวัว (Lactose intolerance) สามารถปรับเปลี่ยนวัตถุดิบได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการเตรียม แต่สุดท้ายจะต้องได้คุณค่าครบถ้วนตามที่แพทย์กำหนด โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน

  1. อาหารสูตรสำเร็จ (Commercial formula)

อาหารสูตรนี้ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร มีสัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน ให้คุณค่าสารอาหารแตกต่างกันตามรายละเอียดที่ระบุไว้ที่ภาชนะบรรจุ มีทั้งชนิดผงและน้ำ สามารถนำไปละลายน้ำตามสัดส่วนที่กำหนด หรือเปิดภาชนะบรรจุก็ใช้ได้ทันที

 

แบ่งเป็น 5 สูตรตามสารอาหาร ดังนี้

  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนจากนม (Milk-protein base formula) ใช้นมเป็นแหล่งโปรตีน มักเป็นนมสด (Whole milk) หรือนมขาดมันเนย (Non-fat milk) มีลักษณะเป็นผง
  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลือง (Soy-protein base formula) ใช้ถั่วเหลืองเป็นแหล่งของโปรตีน (Soy Protein Isolate) มีลักษณะเป็นผง
  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนจากนมและถั่วเหลืองผสมกัน (Milk and soy-protein base formula) ใช้ทั้งนมและนมถั่วเหลืองเป็นแหล่งของโปรตีน มีทั้งชนิดผงและชนิดน้ำ
  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนขนาดโมเลกุลเล็ก (Protein hydrolysate) เป็นสูตรนมที่นำโปรตีนมาย่อยสลายด้วยเอนไซม์ส่วนหนึ่งให้มีขนาดเล็กลงเป็นสายโมเลกุลสั้นๆ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่แพ้โปรตีนจากทั้งนมวัวและนมถั่วเหลือง
  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนอยู่ในสภาพกรดอะมิโน (Amino acid-based formula) เป็นสูตรนมที่มีโปรตีนซึ่งผ่านกระบวนการย่อยเป็นกรดอะมิโน ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ทันที

แหล่งที่มา : https://hd.co.th/tube-feeding

 

อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้อาหารทางสายยาง

  1. อาหารเหลว หรือ อาหารสำเร็จรูป (ตามคำสั่งของแพทย์ )
  2. กระบอกให้อาหารทางสายยาง
  3. สำลี แอลกอฮอล์
  4. สบู่ล้างมือ หรือแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ

 

ขั้นตอนการให้อาหารทางสายยาง มีดังต่อไปนี้

  1. เตรียมของเครื่องใช้ในการให้อาหารทางสายยาง อาหารเหลวและยาที่เตรียมให้ผู้ป่วย
  2. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีเสมหะขับออกเองไม่ได้ ให้ดูดเสมหะก่อน เพื่อป้องกันผู้ป่วยไอสำลักอาหารขณะให้อาหารทางสายยาง
  3. การจัดท่า –ถ้าลุกนั่งได้ให้อยู่ในท่านั่ง ถ้าช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ให้จัดท่าศีรษะสูง อย่างน้อย 60 องศา
  4. ล้างมือ
  5. จับบริเวณปลายสายยาง พับสายยางไว้เพื่อป้องกันลมเข้ากระเพาะอาหาร ผู้ป่วยจะได้ไม่มีอาการท้องอืด
  6. ทดสอบดูว่า ปลายสายยางให้อาหาร ยังอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่ โดยเปิดจุกแล้วเอากระบอกที่มีลูกสูบมาต่อ จากนั้นปล่อยสายที่พับไว้ลัวดึงลุกสูบ เพื่อประเมินอาหารหรือน้ำที่ยังคงเหลือค้างในกระเพาะอาหาร
  • ถ้ามีอาหารหรือน้ำเหลือค้างมากกว่า 50 ซีซี ให้ดันอาหารกลับเข้าไปอย่างช้าๆ และเลื่อนเวลาออกไปครั้งละ 1 ชั่วโมง แล้วมาประเมินใหม่อีกครั้ง
  • ถ้ามีอาหารหรือน้ำเหลือค้างน้อยกว่า 50 ซีซี ให้ดันอาหารกลับเข้าไปอย่างช้าๆ และให้อาหารได้เลย
  • ถ้าไม่มีอาหารและน้ำเหลือค้าง สามารถให้อาหารได้เลย

** หมายเหตุ     ในกรณีดึงอาหารออกมาแล้ว สีอาหารเปลี่ยนไปเปลี่ยนเป็นสีแดง,สีน้ำตาล,สีดำ ควรปรึกษาศูนย์สาธารณะสุขหรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน

  • หลังจากประเมินอาหารเสร็จ สามารถให้อาหารได้ ให้พับสายยางและปลดกระบอกออก จากนั้นนำปลายสายถุงอาหารมาต่อกับจุก แขวนถุงอาหารไว้กับเสาสูงๆและหมุนตัวล็อคขึ้นให้อาหารไหล
  • พออาหารหมด ให้หมุนตัวล็อคลงเพื่อปิด และให้พับสายไว้และปลดสายถุงอาหารออก นำกระบอกที่ไม่มีลูกสูบมาต่อกับจุกเติมน้ำลงไปประมาณ 10 -20 ซีซี ปล่อยสายที่พับไว้เพื่อให้น้ำไหลจนกระทั่งน้ำเหลือในกระบอกประมาณ 10 ซีซี ให้พับสายไว้ จากนั้นนำยาที่บดละลายน้ำไว้เทเติมลงไป (ระวังยาจะอุดตัน) ปล่อยสายที่พับไว้ พอยาไหลเกือบหมดกระบอก ให้พับสายและเติมน้ำลงไปอีกประมาณ 30 ซีซี ปล่อยสายที่พับไว้ ให้น้ำไหลจนหมดและไม่เห็นน้ำเหลือค้างในสายยาง (ตั้งแต่ปลายสายจนถึงจมูกผู้ป่วย ) จากนั้นปิดจุก
  • หลังจากให้อาหารและยาเสร็จเรียบร้อย ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูง 60 องศาต่อไปอีกประมาณ 1 ชั่วโมง
  • การเก็บอาหารปั้น โดยปกติจะเก็บได้ 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง ในช่องธรรมดา ถ้าจะนำอาหารมาให้ผู้ป่วยต้องอุ่นก่อน โดยนำถุงอาหารปั้นไปแช่น้ำร้อน

แหล่งที่มา : http://www.kluaynamthai2.com


การดูแลรักษาสายยางให้อาหาร
 

  1. เปลี่ยนพลาสเตอร์ที่ติดสายยางกับจมูกทุก 2 – 3วัน หรือเมื่อหลุด
  2. ทำความสะอาดรูจมูก และรอบจมูกด้วยไม้พันสำลี หรือผ้าชุบน้ำ
  3. ระวังสายยางเลื่อหลุด ควรทำเครื่องหมายไว้เป็นจุดสังกตด้วย
  4. ถ้าสายยางเลื่อนหลุดไม่ควรใส่เอง เพราะอาจใส่ผิดไปเข้าหลอดลม ให้มาพบแพทย์
  5. ควรนำมาพบแพทย์เพื่อเปลี่ยนสายให้อาหารเมื่อสกปรก หรือ ทุก 1 เดือน

แหล่งที่มา : https://www.saintlouis.or.th/article/show/_11-0-2022-13:16

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำสารสกัดเมล็ดองุ่น

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำสารสกัดเมล็ดองุ่น


1.องุ่นนำมาแปรรูป

 

2.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

 

3.ผลิตภัณฑ์ผงสารสกัดเมล็ดองุ่นที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการหั่นย่อย,สกัดแอลกอฮอล์,ต้มสกัด,สเปรย์ดรายจากขมิ้นชัน

ขั้นตอนการหั่นย่อย,สกัดแอลกอฮอล์,ต้มสกัด,สเปรย์ดรายจากขมิ้นชัน


1.ขมิ้นชันที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องหั่นเห็ดหลินจือ/เครื่องหั่นกิ่งใบ เครื่องจักรที่ใช้ในการหั่นผลิตภัณฑ์ให้มีขนาดตามที่ต้องการ และมีขนาดที่สม่ำเสมอ เป็นเครื่องที่ใช้สำหรับหั่นใบอ่อนและแข็งของสมุนไพรหลายชนิด

3.ผลิตภัณฑ์ขมิ้นชันหั่นย่อยที่ได้

4.แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการต้มสกัดแอลกอฮอล์ เครื่องสกัดด่วน (HI SPEED EXTRACTOR) สามารถใช้สกัดสารสำคัญจากวัตถุดิบออกมาเป็นน้ำสกัดได้อย่างรวดเร็ว

5.ผลิตภัณฑ์น้ำสกัดขมิ้นชันที่ได้

6.ใบหม่อนที่นำมาแปรรูป แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการต้มสกัด ถังต้มกวนผสม ( HEATING MIXING TANK )ถังกวนผสมใช้กวนผสมของเหลว และให้ความร้อนด้วย HOT OIL

7.ผลิตภัณฑ์น้ำขมิ้นที่ได้

8.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

9.ผลิตภัณฑ์ผงขมิ้นชันที่ได้

 

by author1 author1

โกโก้ (Cocoa)

โกโก้ (Cocoa) ทานอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

โกโก้ (Cocoa) คืออะไร ?

โกโก้ เป็นเมล็ดของพืชชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาผลิตช็อกโกแลต ภายในโกโก้ มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งอาจนำมาใช้รักษา หรือป้องกันโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง ทั้งนี้แม้ว่าโกโก้จะเต็มไปด้วยคุณประโยชน์สารพัด แต่ผู้บริโภคก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดตามมาได้อีกด้วย

โกโก้ (Cocoa) และ ช็อกโกแลต (Chocolate) มีที่มาเดียวกัน คือ มาจากเมล็ดโกโก้ เพียงแต่โกโก้ผ่านกระบวนการแปรรูป และรีดไขมันออกจนเหลือเพียง 0-25%

 

แหล่งกำเนิดของโกโก้

แหล่งกำเนิดโกโก้นั้น มาจากต้นโกโก้ (Cocoa tree) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Theobroma cacao” ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกาใต้ มีอยู่ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Forastero, Criollo และ Trinitario

ส่วนของต้นโกโก้ที่นำมาสกัดเป็นโกโก้ให้เรารับประทานนั้น คือ เมล็ดซึ่งอยู่ในผลโกโก้ โดยเมล็ดจะต้องถูกนำไปหมักให้มีกลิ่นหอม แล้วนำไปตากแห้งเพื่อให้ความชื้นลดลง จากนั้นจะถูกนำไปคั่ว จนได้สิ่งที่เรียกว่า “คาเคา นิบส์ (Cocoa nib)” ซึ่งเป็นเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอม รสชาติขมเป็นเอกลักษณ์

 

 

ประโยชน์ของโกโก้

โกโก้ ประกอบไปด้วยแคลอรี่  ไขมัน, โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, ใยอาหาร และแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงสารอีกหลายชนิด เช่น สารต้านอนุมูลอิสระฟลาโวนอยด์, สารอีพิคาเทชิน, สารคาเทชิน, สารโพรไซยานิดีน เป็นต้น สารสำคัญต่าง ๆ ในโกโก้ย่อมส่งผลดีต่อร่างกายไม่มากก็น้อย ดังนี้

  • ช่วยเสริมสร้างหัวใจให้แข็งแรง
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยคลายเครียด
  • ช่วยทำให้ผิวสวย
  • บำรุงสมอง
  • ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า
  • เร่งการเผาผลาญ

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ผงโกโก้ 100 กรัม ให้พลังงาน 228 กิโลแคลอรี่ ประกอบไปด้วย

  • โปรตีน : 19.60 กรัม
  • ไขมัน : 13.70 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต : 57.90 กรัม
  • ไฟเบอร์ : 37 กรัม
  • น้ำตาล : 1.75 กรัม

 

การรับประทานโกโก้ให้ได้ประโยชน์

  • กินผงโกโก้วันละ 1 ช้อนโต๊ะ จะช่วยเสริมสร้างให้หัวใจแข็งแรง โดยอาจโรยหน้าขนม หรือชงเป็นเครื่องดื่มก็ได้
  • ควรกินโกโก้ที่เป็นโกโก้แท้ 100% และไม่ควรใส่ส่วนผสมอย่างนม หรือน้ำตาล เพิ่มเข้าไป
  • หากอยากผิวสวย ให้ดื่ม หรือกินโกโก้ติดต่อกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์

 

ข้อควรระวังในการรับประทานโกโก้

  • การกินโกโก้แบบเพิ่มนม และน้ำตาล จะทำให้ระดับน้ำตาล และไขมันในเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โกโก้มีสารทีโอโบรมายสูง มีฤทธิ์คล้ายคาเฟอีนอ่อนๆ ถ้ากินเข้าไปปริมาณมากอาจทำให้ใจสั่น และนอนไม่หลับได้

หากคำนึงถึงสุขภาพเป็นหลัก ควรเลือกรับประทานโกโก้ในรูปแบบดาร์กช็อกโกแลต ซึ่งมีปริมาณเนื้อโกโก้สูง และมีไขมันจากนมกับน้ำตาลต่ำ แม้รสชาติจะขมไปบ้าง แต่ก็ดีต่อสุขภาพมากกว่าช็อกโกแลตนม และไวท์ช็อกโกแลตอย่างแน่นอน

 

แหล่งที่มา : https://www.sgethai.com/article/