by satit.t satit.t

การสเปรย์ดราย

 

การสเปรย์ดราย หรือ การอบผงแห้งแบบพ่นฝอย

เป็นการแปรรูปจากของเหลวให้เป็นผงแห้งละเอียด โดยที่ของเหลวถูกพ่นเป็นละอองฝอยในถังอบแห้งที่มีลมร้อนภายใน

เมื่อละอองฝอยโดนลมร้อน น้ำจะระเหยออกกลายเป็นผงแห้ง

 

by satit.t satit.t

ต้นทุนการผลิตด้วยเครื่องสเปรย์ดราย

ต้นทุนการผลิตประกอบด้วยหลักๆ คือ วัตถุดิบป้อน ค่าแรงผู้ควบคุมเครื่อง ค่าพลังงานป้อนเครื่องสเปรย์ดราย

ค่าวัตถุดิบ เป็นต้นทุนหลัก ขบวนการแปรรูปวัตถุดิบเพื่อให้ได้ของเหลวพร้อมป้อนสเปรย์ดราย

หลายคนอาจไม่ทราบ แต่การเตรียมวัตถุดิบให้พร้อมกับการทำผงด้วยสเปรย์ดราย มีความจำเป็นมาก

ยิ่งวัตถุดิบมีราคาสูง หรือผลิตปริมาณที่มาก ยิ่งต้องทำการวิจัยให้เหมาะสม

ของเหลวที่มีความหนืด หรือมีความชื้นสูงมากไป จะทำให้สิ้นเปลืองต้นทุนการผลิต

ค่าแรง ขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องสเปรย์ดราย ลักษณะของการปฏิบัติงาน ความสามารถของผู้ควบคุม

โดยทั่วไปขนาดเครื่องใหญ่ไม่เกิน 50 ลิตร ต่อชั่วโมง ใช้คนควบคุมเพียง 1-2 คน

หากเป็นไลน์การผลิตที่ต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ไม่จำเป็นต้องมีผู้ควบคุมตลอดเวลาทำงาน

ค่าพลังงาน อยู่ที่ขนาดของเครื่องสเปรย์ดรายและเเหล่งที่มาของพลังงาน

ค่าไฟฟ้าใช้ป้อนส่วนตู้ควบคุมไฟฟ้าหน้าจอมอนิเตอร์ต่างๆ

ค่าพลังงานความร้อน หากเป็นสเปรย์ดรายขนาดเล็กมักเลือกใช้ฮีตเตอร์ไฟฟ้าซึ่งมีค่าไฟที่สูง

แต่สเปรย์ดรายจะมีราคาถูก และควบคุมได้ง่ายเพราะเป็นการปรับไฟฟ้าโดยตรง

ในเครื่องสเปรย์ดรายขนาดใหญ่กว่า 100 ลิตร มักใช้เชื้อเพลิงจากแก๊ส LPG NG Methane

จะมีค่าพลังงานที่ถูกกว่าฮีตเตอร์ไฟฟ้า 3-4 เท่าตัว

ต้นทุนอื่นๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าน้ำยาล้างเครื่อง ในส่วนนี้หากเป็นวัตถุดิบล้างยาก และล้างทุกวันก็จะใช้มาก

แต่ในเครื่องขนาดใหญ่ๆมักไม่ทำการล้างเครื่องกันบ่อยเพราะเปลือง

ค่าวัสดุสิ้นเปลืองเช่น หัวฉีด ซีลยาง ซีลปะเก็น โดยทั่วไปจะเปลี่ยนปีละครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะวัตถุดิบ

หากวัตถุดิบมีลักษณะการกัดกร่อน มีค่าPHสูงหรือต่ำมาก จะทำให้วัสดุเสื่อมเร็วกว่าปกติ

by satit.t satit.t

การเลือกขนาดเครื่องสเปรย์ดราย Spray dryer

มาตราฐานขนาดเครื่องจะวัดกันที่กำลังการผลิต หรือความสามารถในการระเหยน้ำ

เช่น เครื่องสเปรย์ดรายขนาดกำลังการระเหย 50 ลิตร ต่อชั่วโมง

spray dryer 50 litre

หากป้อนน้ำเปล่าเข้าเครื่องสเปรย์ดรายขนาด 50ลิตร น้ำจะระเหยหมดใน 1 ชั่วโมง

แต่ในวัตถุดิบแต่ละอย่างมีค่าวามร้อนที่เหมาะสมในการใช้ในเครื่องสเปรย์ดรายไม่เท่ากัน

โดยทั่วไปในอาหารจะใช้อุณหภูมิที่ 150-180 องศาเซลเซียส

ดังนั้นการตั้งค่าเครื่องสเปรย์ดรายต้องปรับอุณหภูมิลงมา ทำให้กำลังการระเหยจะลดลง

จากการระเหยน้ำสูงสุด 50 ลิตรต่อชั่วโมง อาจลดลงเหลือ 30 ลิตรต่อชั่วโมง

ก่อนเลือกขนาดที่เหมาะสมควรน้ำวัตถุดิบนั้นๆมาทดสอบให้ได้ค่าอุณหภูมิที่ดีที่สุด

เพราะหากเลือกค่าที่ต่ำจะส่งผลให้จำเป็นต้องเลือกขนาดของเครื่องสเปรย์ดรายที่ใหญ่เกินจำเป็น

ยกตัวอย่าง น้ำนม ที่มีเนื้อนมอยู่ 10% สเปรย์ดราย 100 กิโลกรัม จะได้นมผง 10 กิโลกรัม

น้ำที่ต้องระเหยออกประมาณ 100-10 = 90 กิโลกรัม

หากป้อนเข้าเครื่องสเปรย์ดราย 50ลิตร ที่ 180องศาเซลเซียส

จะใช้เวลาประมาณ 90/30 = 3 ชั่วโมง ในการสเปรย์ดราย

จากตัวอย่างจะเห็นได้ชัดว่าการทดลองหาจุดที่ดีที่สุด optimum point เป็นเรื่องสำคัญมาก

หากเป็นโปรเจคใหญ่ยิ่งส่งผลต่องบการลงทุนสูงเป็นหลักล้าน

บางครั้งในอุตสาหกรรมใหญ่ใช้อุณหภูมิสูงถึง 600 องศาเซลเซียส เนื่องจากวัตถุมีคุณสมบัติทนต่ออุณหภูมิที่สูงมาก

by satit.t satit.t

โครงการแนวทางการพัฒนาเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม

ผู้บริหารและตัวแทน บริษัท ยูโร เบสท์ เทคโนโลยี จำกัด เข้าร่วมโครงการแนวทางการพัฒนาเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม

ตามแนวทาง   RESHAPE THE FUTURE ของกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พระราม 6

ในวัน 25 เม.ย. 2567 ณ โรงแรมชลจันทร์ บีช รีสอร์ท จ.ชลบุรี

by satit.t satit.t

ตัวอย่างรายการวัตถุดิบที่นำมาเเปรรูปด้วยเครื่องสเปรย์ดราย

สเปรย์ดรายสามารถนำมาใช้กับวัตถุดิบหลากหลายกลุ่มเช่น อาหาร อาหารเสริม สมุนไพร ยา เคมีภัณฑ์

พริกไทยสด น้ำสารสกัดโกโก้ โพรฟีนอล
น้ำขมิ้น น้ำปลาร้า น้ำ DE โพลีนอล
น้ำเห็ดหลินจือ ผงข้าวโพด น้ำจุลินทรีย์
ด่างทับทิม น้ำไตปลาทูน่า น้ำเปลือกไม้ต้มสกัด
สารสกัดน้ำแห้ว น้ำมันมะพร้าว เปลือกไม้ยูคาลิปตัส
สารสกัดโปรตีน น้ำกีวี น้ำยางพารา
น้ำสมุุนไพรปรับธาตุ นม โปแตสเซียมโอลิเอต
น้ำสาหร่ายสไปรูลิน่า ไข่น้ำ โปแตสเซียม สเตียเรต
น้ำขิง น้ำกาแฟ Sodium Stearate
สมุนไพร (ชาเขียว) น้ำชาแดง น้ำยางพารา
มะระขี้นก น้ำอาหารทางสายยาง Mustard essential oil
น้ำพลูคาล น้ำซุปปลา จิ้งหรีด
น้ำมะนาว น้ำสับปะรด น้ำโซดาไฟ
น้ำมะขามแดงเข้มข้น น้ำผึ้้ง กาบมะพร้าวอ่อน
ฟ้าทะลายโจร น้ำกะทิ กาบมะพร้าวแก่
น้ำขมิ้น น้ำกาแฟ กากน้ำตาล
น้ำสกัดจากลำไย น้ำสกัดกาแฟ น้ำครีมยีสต์
น้ำขิง โปรตีนมะพร้าว น้ำสีธรรมชาติ
น้ำชา น้ำซุุปปลาระเหยข้น น้ำเคลือบเซรามิค
น้ำถังเช่าสกัดด่วน น้ำซุปกุ้ง น้ำยีสต์
น้ำนมข้น น้ำส้มคั้น น้ำสารแต่งกลิ่น (กลิ่นเนื้อ)
น้ำหวานดอกมะพร้าว น้ำเสาวรส น้ำเชื่้อแบคทีเรียบาซิลลัส
น้ำปลา + อีมัลชั่น น้ำรังนก Sodium Silicate
เห็ดหลินจือ น้ำครีมมะขาม น้ำจับเลี้ยงผสมหญ้าหวาน
น้ำกระชายดำ น้ำตะกอนยีสส์ (น้ำกากส่า) สารละลาย Aero gel
น้ำนมออร์แกนิค โยเกิร์ต (นมแพะ) สารละลายโซเดียมซัลเฟต
เสลดพังพอน น้ำซุปหมู น้ำข้าวผสมโพรไบโอติก(ไม่มีเชื้อ)
ไพล น้ำกากมัน น้ำข้าวผสมโพรไบโอติก(มีเชื้อ)
กระเจี๊ยบแห้งบด อาหารเหลวผู้ป่วย น้ำสารสกัดจุลินทรีย์
ยาบำรุงเพ็ญภาค น้ำผึ้ง น้ำสารละลายเซลลูโลส
ฟ้าทะลายโจร น้ำจันทร์เทศ น้ำปุ๋ย
น้ำสารสกัดข้าวโพดม่วง น้ำวาซาบิ โพแทสเซียมคลอไรด์
น้ำกระชายดำ น้ำผลไม้รวม น้ำเรซิ่น
น้ำสีสารสกัดจากใบหูกวาง ซุปไก่ น้ำเคมีระเหยข้น (สีย้อมผ้า)
น้ำขมิ้นชัน ข้อไก่สด เคอซิติน
น้ำเก็กฮวย น้ำนมไก่ น้ำจุลินทรีย์
น้ำพริกสกัดด่วน น้ำซุปปลา น้ำแลคติก
น้ำพญายอ น้ำใบข้าว น้ำตาลโอลิโก
น้ำใบบัวบก น้ำมันกุ้ง Meat Flavor
น้ำมัลเบอรี่ น้ำเต้าหู้ น้ำสารแต่งกลิ่น (กลิ่นมะนาว)
น้ำขมิ้น น้ำจิ้มซีฟู้ดส์
น้ำพริกกะเหรี่ยง ต้นอ่อนทานตะวัน
น้ำใบบัวบก น้ำโปรตีนปลา
น้ำส้มควันไม้ น้ำนม Lactose free
น้ำจับเลี้ยง เมล็ดกาแฟอาราบิก้าบด
น้ำกระชายดำ เมล็ดกาแฟโรบัสต้าบด
น้ำกราวเครือแดง น้ำกล้วยไข่
น้ำใบแมงลักต้ม น้ำกล้วยหอม
น้ำสกัดข้าวไรซ์เบอรี่ น้ำทุเรียน
น้ำสกัดข้าวหอมนิล น้ำฟักข้าว
น้ำเชื่อมกล้วยหอมทอง เกล็ดเลือดปลาทูน่า
น้ำสารสกัดใบไผ่ โปรไบโอติก
น้ำสมุนไพรตรีผลา น้ำอิมิลชั่นวาซาบิ
หม่อนเบอรี่ น้ำกาวไหม
น้ำรังนก น้ำสมุนไพรตรีผลา
น้ำพริกหยวก น้ำกะทิ
น้ำพริกชี้ฟ้า น้ำซอสพริก
น้ำแก่นยอป่า ไข่แดงเค็ม
น้ำระเหยข้นไส้ปลา ไข่ขาวเค็ม
น้ำสารสกััดจากแห้ว โยเกิร์ต
สารสกัดน้ำสมุนไพรรางจืด น้ำสารสกัดข้าวโพด
พลูคาว น้ำซุปก๋วยเตี๋ยวน้ำใส
น้ำสารสกัดข้าวดำ น้ำบัวหลวง
น้ำบีทรูท นมโปรตีนสูง
น้ำมะขามป้อม น้ำซุปเห็ดหอม
น้ำคอลลาเจน (หมู) น้ำซุปเห็ดออรินจิ
น้ำคอลลาเจน (วัว) น้ำเกลือผสมมอลโต
น้ำขิง น้ำซุปไก่ดำตุ๋นสมุนไพร
น้ำสารสกัดข้าวโพดม่วง+ใบพืชสมุนไพร น้ำลำไยเข้มข้น
น้ำกระชายผสมน้ำมะนาวและน้ำผึ้ง สารละลายโปรตีนสูง
น้ำมะขามเปียก น้ำเอนไซม์เคราติเนส
ผงส้มแขก น้ำเลือดปลา
ผงมังคุด น้ำอัลมอนด์
น้ำชาสมุนไพร (เก๊กฮวย) น้ำซุปกุ้ง
น้ำหัวหอมใหญ่ น้ำตับปลา
น้ำชาสมุุนไพร (มะตูม) น้ำโปรตีนไข่ขาว
น้ำกล้วยหอมทอง น้ำฟักทอง
น้ำมะระขี้นก น้ำสมุนไพร Detox
รังนก น้ำสกัดข้าวหอมนิล
มะขามเปียก น้ำซุปก๋วยเตี๋ยวน้ำตกหมู
น้ำถั่งเช่า น้ำซุปก๋วยเตี๋ยวน้ำตกไก่
น้ำซอสผัด
น้ำซุปโบราณ
น้ำเลือด
น้ำนมเนื้อไก่
น้ำแป้งมอลโต
น้ำเชื่อมมอลโตเดกซ์ตริน
นมโปรตีนสูง
น้ำชานม
น้ำผึ้้ง
น้ำแป้งสาลี+เนย+นม+ไข่
น้ำหมักปลา
น้ำต้มกระดูกหมู
เลือดหมู
น้ำสีจากพืช
น้ำระเหยโปรตีนไข่ขาว
น้ำซุปหมู
น้ำกะทิมะพร้าว
น้ำนมวัว
น้ำปลาร้า
น้ำกะปิ
นมสดพาสเจอร์ไรซ์
น้ำนมระเหยข้น
น้ำเกลือ
น้ำหัวไชเท้า
น้ำผึ้ง
นมข้นหวาน
น้ำเมล่อน
น้ำแป้งข้าวจ้าว
น้ำขนุน
ไข่แดง (ไข่สด)
ไข่แดง (พาสเจอร์ไรซ์)
by satit.t satit.t

การทำงานของเครื่องสเปรย์ดราย Spray dryer

ของเหลววัตถุดิบป้อนเข้าเครื่องสเปรย์ดรายที่ถังป้อน Feed tank

ของเหลวจะถูกปั๊มป้อนด้วยปั๊ม Feed pump ไปยังหัวฉีดภายในถังอบแห้ง Drying chamber

ของเหลวที่ผ่านหัวฉีดจะเป็นละอองฝอยละเอียด เมื่อละอองฝอยได้รับความร้อนภายในถังอบแห้ง

ของเหลวละอองฝอยจะแห้งกลายเป็นผงละเอียด ผงที่ได้จะตกลงไปด้านล่างของถังอบแห้ง

และถูกดูดไปยังไซโคลน Cyclone จะทำหน้าที่แยกผงลงมาเก็บในถังเก็บใต้ไซโคลน

ผงจะถูกเก็บในถังเก็บผง Powder bucket โดยมีวาล์วกันลมย้อนที่ด้านบนถัง

ส่วนไอน้ำที่ระเหยออกจะถูกดูดออกเครื่องสเปรย์ดรายไปด้วยพัดลม Blower

ลมร้อนที่อยู่ในระบบของเครื่องสเปรย์ดรายจะถูกสร้างขึ้นด้วยเครื่องผลิตลลมร้อน Hot air generator

อากาศภายนอกจะถูกกรองด้วยแผ่นกรองอากาศ Air filter

อากาศจะไหลผ่านฮีตเตอร์ Heater หรือหัวพ่นไฟ Burner ทำให้อากาศเป็นลมร้อน

ลมร้อนที่ได้จะผ่านเข้าทางด้านบนถังอบแห้งของเครื่องสเปรย์ดราย

อุปกรณ์กระจายลมร้อน Hot air distributor จะกระจายลมเข้าไปเจอกับของเหลวละอองฝอย

by admin admin

การเลือกสเปรย์ดรายเออร์ (Spray dryer)

spray-dryer

ขนาดของเครื่องสเปรย์ดรายเออร์(Spray dryer)

สเปรย์ดรายเออร์(Spray dryer) จะวัดขนาดกันที่อัตราการระเหยของน้ำ ที่อุณหภูมิต่างๆ ซึ่งผู้ผลิตจะออกแบบตามการใช้งานในแบบแตกต่างกันออกไป เช่น เครื่องรุ่น SDE-50 ขนาดอัตราการระเหย 50ลิตรต่อชั่วโมง ที่350องศาเซลเซียส ซึ่งอัตราการระเหยน้ำจะลดลงไปตามอุณหภูมิที่ลดลง เราจำเป็นต้องรู้ลมอุณหภูมิขาเข้า-ขาออก ที่ใช้สเปรย์ดรายเออร์(Spray dryer) อบทำผงแห้งสำหรับ วัตถุดิบของเรา โดยทั่วไปอุณหภูมิลมขาเข้าที่ใช้กับวัตถุดิบประเภท อาหาร ยา สมุนไพร อยู่ที่170-230องศาเซลเซียส ลมขาออก95-110องศาเซลเซียส ซึ่งระเหยน้ำได้ประมาณ25-30ลิตรต่อชั่วโมง ปริมาณผงที่ได้ขึ้นอยู่ประมาณของแข็งในของเหลว ยกตัวอย่างเช่นนมวัว เข้มข้น10-13% ในน้ำนม100กิโลกรัม มีเนื้อนมของแข็งประมาณ10กิโลกรัม น้ำที่จะต้องทำการระเหยประมาณ90กิโลกรัม ถ้าใช้เครื่องรุ่น SDE-50 ขนาด 50ลิตรต่อชั่วโมง ที่350องศาเซลเซียส โดยตั้งค่าอุณหภูมิความร้อนขาเข้าที่200องศาเซลเซียส จะใช้เวลาประมาณ 90ลิตร/25ลิตรต่อชม. = 3.6ชั่วโมงในการสเปรย์ดรายอบแห้ง จากตัวอย่างข้างต้นเราสามารถนำปริมาณของเหลวที่เราป้อน กับชั่วโมงการทำงาน ไปคำนวนหาขนาดเครื่องที่เราต้องการใช้งาน เครื่องสเปรย์ดรายเออร์(Spray dryer)ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมเคมีที่มีความทนทานต่อความร้อนได้สูงอาจใช้เครื่องสเปรย์ดรายเออร์(Spray dryer) รุ่นที่ทำอุณหภูมิได้สูงถึง 600 องศาเซลเซียส ถ้าใช้อุณหภูมิได้สูงขนาดเครื่องสเปรย์ดรายเออร์(Spray dryer)ก็เลือกใช้ขนาดที่เล็กลงได้ ดังนั้นเราควรทดสอบกับวัตถุดิบของเหลวที่อุณหภูมิที่แตกต่างกัน เพื่อนำไปตรวจสอบอุณหภูมิสูงสุดที่สามารถทำได้โดยที่ยังสามารถคงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไว้ได้ เพื่อเลือกขนาดการลงทุนเครื่องสเปรย์ดรายเออร์(Spray dryer) ได้อย่างเหมาะสม

Read more

by satit.t satit.t

พื้นที่ผิวสัมผัสกับการระเหย

พื้นที่ผิว Surface area มีสัมพันธ์ผันตรงกับความสามารถในการระเหย Evaporation

อธิบายให้เห็นภาพเข้าใจง่าย ตัวอย่างปริมาณน้ำที่เท่ากันวางในแก้วที่อุณหภูมิเท่ากัน

เปรียบเทียบกับการเทน้ำลงบนพื้น น้ำในแก้วใช้เวลาหลายวันกว่าจะระเหยหมด แต่หากเทน้ำลงพื้น

น้ำจะระเหยในอากาศภายในไม่กี่ชั่วโมง ยิ่งเทลงเป็นบริเวณกว้างยิ่งระเหยได้เร็ว

ทำไมน้ำถึงระเหยได้เร็วขึ้นเมื่อเทน้ำลงพื้น?

การเทน้ำทำให้พื้นที่หน้าสัมผัสกับอากาศ สัมผัสกับความร้อน ใหญ่มากขึ้น

พื้นที่ที่มากขึ้นจะทำให้โมเลกุลของน้ำได้รับพลังงานได้มากขึ้น

การได้รับพลังงานของโมเลกุลที่มากพอจะทำให้โมเลกุลเอาชนะแรงยึดเหี่ยวจากกัน

เมื่อโมเลกุลน้ำหลุดจากการยึดเหนี่ยวทำให้เปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส

หลักการเพิ่มพื้นผิวสัมผัสเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการระเหย ถูกนำมาสร้างเป็นเครื่องจักรในหลากหลายการใช้งาน

ในเครื่องสเปรย์ดราย Spray dryer ใช้การฉีดพ่นของเหลวให้การเป็นละอองฝอยเล็กๆ เพื่อเพิ่มหน้าสัมผัสกับลมร้อน

ในเครื่องระเหยฟิล์มบาง Falling film evaporator ของเหลวจะไหลผ่านท่อหรือแผ่นโลหะจำนวนมาก ทำให้ของเหลว

ได้รับความร้อนผ่านผิวโลหะเกิดการไหลเป็นฟิล์มบาง ทำให้สามารถระเหยได้มากขึ้นโดยไม่เพิ่มพลังงานความร้อน

หากใช้การให้ความร้อนแบบถังต้ม Boiling tank แบบเดิม ต้องใช้พลังงงานความร้อนสูงกว่าหลายเท่า

พลังงงานความร้อนที่มาก หมายถึงต้นทุนเชื้อเพลิงที่มาก

ในการผลิตภาคอุตสาหกรรม ต้นทุนการผลิตเป็นปัจจัยสำคัญต่อธุรกิจที่จะบอกว่าธุรกิจจะไปต่อได้หรือไม่

การเพิ่มพื้นที่ผิวด้วยการสเปรย์นั้น นอกจากเครื่องสเปรย์ดรายยังมีการนำการสเปรย์มาใช้อีกหลากหลายฟังชั่น

by satit.t satit.t

ใช้งานเครื่องสเปรย์ดรายมีมากกว่าการปรับอุณหภูมิ

แน่นอนการตั้งค่าเครื่องสเปรย์ดรายอุณหภูมิเป็นเรื่องแรกที่ต้องคำนึงถึง

หากเลือกอุณหภูมิไม่เหมาะสมอาจทำให้ผงไม่แห้ง หรือทำให้ผงไหม้

ในหลายครั้งที่เกิดเหตุการณืที่ตั้งค่าอุณหภูมิเท่ากัน แต่ป้อนเข้าเครื่องสเปรย์ดรายคนละเครื่อง

แต่กลับไม่ได้ผลลัพธ์จากการสเปรย์ดรายที่เหมือนกัน

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

ต้องเข้าใจก่อนว่าอุณหภูมิที่วัดได้จากตัวเครื่องคืออุณหภูมิของจุดๆหนึ่งในตัวเครื่อง

ไม่ใช่อุณหภูมิความร้อนที่วัตถุดิบได้รับ หรือพูดอีกนัยนึงคือไม่ใช่ปริมาณความร้อนที่วัตถุดิบได้รับ

ส่วนอื่นที่เป็นปัจจัยนอกจากองค์ประกอบทางกายภาพของตัวเครื่อง

ยังมีอีกหลายปัจจัย เช่น หัวฉีดพ่นฝอย ปั๊มป้อนของเหลว ปริมาณการป้อน ปริมาณลมร้อน ความเร็วลม

การฉีดพ่นฝอยละอองที่มีขนาดอนุภาคที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการสเปรย์ดรายที่แตกต่าง

การป้อนของเหลวที่มากเกินไปทำให้ผงไม่แห้ง หรือน้อยเกินอาจไม่ได้เป็นลักษณะผงที่ดี

ปริมาณลมร้อนที่แตกต่างจะทำให้การระเหยแห้งสเปรย์ดรายแตกต่าง แม้ว่าจะเป็นอุณหภูมิที่เท่ากัน

หากสแกนความร้อนภายในตัวเครื่องสเปรย์ดรายเราจะเห็นได้ว่าจุดต่างๆของเครื่องสเปรย์ดรายนั้น

มีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ไม่ได้มีอุณหภูมิที่เท่ากันเป็นระนาบเดียวกันหมด

เราต้องควบคุมพลังงานความร้อนที่ของเหลวละอองได้รับที่พอเหมาะ

แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันยังไม่มีเซ็นเซอร์ที่ทำให้สามารถควบคุมเครื่องจักรควบคุมส่วนนี้ได้

ดังนั้นนอกจากอุณหภูมิแล้วเราต้องควบคุมปริมาณของลมร้อนให้ได้ค่าที่เหมาะสมด้วย

by satit.t satit.t

ความท้าทายในการสร้างเครื่องสเปรย์ดรายขนาดเล็ก

เครื่องสเปรย์ดรายขนาดเล็กในระดับแล็ปทดลอง มีความจำเป็นต่องานวิจัยหลายส่วน

วัตถุดิบบางชนิดเป็นของหายาก หรือมีราคาสูง หรือผลิตได้ยาก

เพราะฉะนั้น การที่จะนำวัตถุดิบมาสเปรย์ดรายจำเป็นต้องใช้เครื่องสเปรย์ดรายขนาดเล็กมาก

หากนำวัตถุดิบป้อนเข้าเครื่องในปริมาณที่ไม่เหมาะสมกับขนาดเครื่องสเปรย์ดราย

จะทำให้ผงแห้งจากการทำให้แห้งด้วยสเปรย์ดรายไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดี

การออกแบบเครื่องเครื่องสเปรย์ดรายขนาดเล็กขนาดเล็กนั้นมีความยากอยู่หลายส่วน

อันดับแรก การพ่นฝอยปริมาณน้อยมาก น้อยกว่า1ลิตรต่อชั่วโมง

หัวฉีดแรงดันต้องใช้ปั๊มน้ำแรงดันปั๊มน้ำผ่านหัวฉีด หากวัตถุดิบเหลวน้อยเกินจะไม่สามารถปั๊มออกไปได้

จึงต้องหาวิธีอื่นในการทำให้ของเหลวสามารถพ่นละอองฝอยได้

อันดับที่สอง ขนาดถังอบแห้งที่เล็กทำให้ละอองของเหลวจะถูกพ่นไปติดกับผิวถังด้านใน

หากของเหลวไปเกาะตามขอบถังอบจะทำให้การสเปรย์ไม่ออกมาเป็นผงแห้งที่ดี

อีกทั้งการไปติดอยู่ในขอบถังอบแห้งนานจะทำให้วัตถุดิบสัมผัสกับความร้อนนานเกินไปจนอาจเสียได้

ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถทำให้ตัวถังใหญ่เกินไปได้เพราะจะทำให้ความร้อนไม่ทั่วถึง