by author1 author1

ขั้นตอนแปรรูปการต้มสกัด,ระเหยแอลกอฮอล์,สเปรย์ดรายผงจากน้ำสมุนไพร

ขั้นตอนแปรรูปการต้มสกัด,ระเหยแอลกอฮอล์,สเปรย์ดรายผงจากน้ำสมุนไพร

1.สมุนไพรที่นำมาแปรรูป

2. สมุนไพรที่นำมาแปรรูป แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการต้มสกัด ถังต้มกวนผสม ( HEATING MIXING TANK )ถังกวนผสมใช้กวนผสมของเหลว และให้ความร้อนด้วย HOT OIL

3.ผลิตภัณฑ์น้ำสมุนไพรที่ได้

4.แปรรูปด้วย เครื่องระเหยแอลกอฮอล์ (Alcohol Recovery Evaporator) ใช้ระเหยแอลกอฮอล์นำกลับมาใช้ซ้ำ

5.ผลิตภัณฑ์น้ำสารสกัดสมุนไพรที่ได้

6.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง


7.ผลิตภัณฑ์ผงสมุนไพรที่ได้

 

by author1 author1

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นและสเปรย์ดรายผงจากน้ำซุปปลา

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นและสเปรย์ดรายผงจากน้ำซุปปลา


1.น้ำซุปปลาที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องระเหยเข้มข้น (FALLING  FILM  EVAPORATOR) ระเหยน้ำออกจากวัตถุดิบที่มีลักษณะเป็นของเหลวเพื่อทำให้เข้มข้น

3.ผลิตภัณฑ์น้ำซุปปลาเข้มข้นที่ได้


4.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง


5.ผลิตภัณฑ์ผงน้ำซุปที่ได้

by author1 author1

สมุนไพร

ข้อระวังจากการใช้สมุนไพร 

สมุนไพร ขึ้นชื่อว่ามีประโยชน์ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ มากมาย แต่ในทางตรงกันข้าม สมุนไพรก็สามารถให้โทษ และอันตรายแก่ผู้ใช้ได้ หากไม่รู้จักใช้ หรือใช้ไม่ถูกต้อง

https://www.bangkokbiznews.com/news/956061

โทษและอันตรายจากการใช้สมุนไพร ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 3 ประการ ดังนี้

  1. อันตรายที่เกิดจากโรคที่ขาดการรักษา เช่น

โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคหืด ซึ่งแพทย์ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ช่วยได้เพียงการให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ และป้องกันโรคแทรกซ้อน บางคนอาจทานยาจนเบื่อ เลยหยุดทานยา และหันมารักษาด้วยสมุนไพรแทน แต่สมุนไพรหลายชนิดอาจไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรค

นอกจากนี้ โรคที่เป็นอาจไม่แสดงอาการชัดทำให้เข้าใจว่า โรคหายแล้ว จึงหยุดการรักษาที่ถูกวิธีไป ซึ่งนานไปโรคเดิมอาจกลับมากำเริบ และส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้

  1. อันตรายที่เกิดจากฤทธิ์ของสมุนไพรโดยตรง

สมุนไพรหลายชนิด จะมีสารเคมีที่เป็นพิษร้ายแรงปะปนอยู่ ถ้าได้รับเข้าไปจะทำให้เกิดอาการจากพิษนั้น ๆ เช่น มะเกลือ ผลของมันเมื่อแก่เต็มที่จนมีสีดำ อาจจะมีสาร naphthalene ซึ่งเป็นพิษต่อประสาทตาโดยตรง หรือ ยี่โถ เราพบว่า มีพิษอยู่ในใบของมัน หากได้รับสารนี้จะทำให้หัวใจเต้นช้าลง และอาจหยุดได้

  1. อันตรายจากสารเจือปนในสมุนไพร

ซึ่งทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ทำการตรวจวิเคราะห์ยาสมุนไพร เพื่อหาสารเจือปนที่จะเป็นอันตรายพบว่า ส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของ arsenic 60% และสาร steroids กว่า 30% นอกจากนั้นยังมีสารอันตรายอื่นๆ อีกมากมาย

  • arsenic ถือว่าเป็นยาอันตราย ในตำราแพทย์โบราณ เชื่อว่าสารนี้มีคุณสมบัติกระตุ้นให้กระชุ่มกระชวย แต่ถ้ารับมากไปอาจจะเกิดพิษได้ ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษนี้อาจมีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากขึ้นด้วย
  • steroids มีคุณสมบัติบรรเทาอาการของโรคหลายชนิด หากใช้นาน ๆ จะมีอาการข้างเคียง และอันตรายมาก หากใช้ติดต่อกันนานจะทำให้ติดยา และถ้าหยุดยาเฉียบพลัน อาจทำให้ช็อคได้
  • สารปรอท หากมีผสมในสมุนไพร จะทำให้เกิดพิษ มีอาการปากเปื่อย เหงือกอักเสบ ไตวาย เป็นต้น
  • สารตะกั่ว ตะกั่วเป็นพิษทำให้มีอาการปวดท้อง โลหิตจาง กล้ามเนื้ออ่อนแรงจากปลายประสาทผิดปกติ เป็นต้น
  • การใช้สมุนไพร เปรียบเสมือนดาบสองคม สิ่งใดก็ตามที่มีประโยชน์มาก สิ่งนั้นก็อาจมีโทษได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นการใช้สมุนไพรก็ควรจะใช้อย่างระมัดระวัง ศึกษาสรรพคุณให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ หรือปรึกษาผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้

 

แหล่งที่มา : https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/

by author1 author1

ขั้นตอนการสกัดด่วนและระเหยเข้มข้นจากน้ำใบชาแดง

ขั้นตอนการสกัดด่วนและระเหยเข้มข้นจากน้ำใบชาแดง


1.ใบชาแดงที่นำมาแปรรูป


2.แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการต้มสกัด เครื่องสกัดด่วน (HI SPEED EXTRACTOR) สามารถใช้สกัดสารสำคัญจากวัตถุดิบออกมาเป็นน้ำสกัดได้อย่างรวดเร็ว

3.ผลิตภัณฑ์น้ำสกัดจากใบชาที่ได้

4. แปรรูปด้วย เครื่องระเหยเข้มข้น (FALLING  FILM  EVAPORATOR) ระเหยน้ำออกจากวัตถุดิบที่มีลักษณะเป็นของเหลวเพื่อทำให้เข้มข้น

5. ผลิตภัณฑ์น้ำใบชาแดงเข้มข้นที่ได้

by author1 author1

โหระพา

โหระพา ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

ประโยชน์และสรรพคุณโหระพา

โหระพา เป็นพืชที่มีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหารหลากชนิดในประเทศไทย ซึ่งช่วยปรุงแต่งกลิ่นรสของอาหารให้น่ากินยิ่งขึ้น ช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารหลาย ใบและยอดอ่อนใช้กินเป็นผักสด เป็นเครื่องแนมอาหารคาวหรืออาหารว่างได้เป็นอย่างดี นิยมนำมาใช้เป็นผักจิ้มหรือกินสดมากกว่ากะเพรา รวมถึงนิยมใช้กินร่วมกับอาหารที่มีรสจัดและกลิ่นแรง

ส่วนในประเทศทางตะวันตก  นิยมกินใบแห้งเป็นเครื่องเทศ และน้ำสลัดที่ใช้โหระพาเป็นส่วนผสม (pesto) เป็นน้ำสลัดที่ใช้ประจำในอาหารอิตาเลียน ส่วนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก็นิยมกินใบโหระพา แต่ใช้โหระพาจากอียิปต์ ฝรั่งเศส และมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีกลิ่นต่างจากโหระพาของไทย แลใช้น้ำมันโหระพาใช้แต่งกลิ่นซอสมะเขือเทศ ขนมผิง ลูกอม ผักดอง ไส้กรอก และเครื่องดื่ม

นอกจากนี้ โหระพามีประโยชน์ด้านอื่นๆ อีกเช่นใบและลำต้นของโหระพาเมื่อนำมากลั่นจะได้น้ำมันหอมระเหยซึ่งใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ใช้แต่งกลิ่นอาหารพวกลูกกวาด ซอสมะเขือเทศ ผักดอง น้ำส้ม ไส้กรอก เครื่องดื่มชนิดต่างๆ ฯลฯ ใช้แต่งกลิ่นยาสีฟันและยาที่ใช้กับปากและคอ  ทำโลชั่น ครีม แชมพู สบู่ ฯลฯและน้ำมันโหระพายังใช้ไล่แมลง หรือฆ่าแมลงบางชนิดได้ เช่น ยุงและแมลงวันได้อีกด้วย

สำหรับสรรพคุณทางยาของโหระพานั้น ตามตำรายาไทยระบุว่า

ใบ : มีกลิ่นฉุน รสร้อน แก้ลมวิงเวียน ขับลม แก้ท้องขึ้น ท้องอืด แก้ปวดท้อง ช่วยย่อยอาหาร

ทั้งต้น : แก้พิษตานซาง แก้เด็กนอนสะดุ้งผวาเพราะโทษน้ำดี

เมล็ด : แก้บิด ทำให้อุจจาระไม่เกาะลำไส้ เป็นยาระบาย ใช้พอกฝีรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

 

ส่วนในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน   มีผลการศึกษาวิจัยระบุว่า  ใบโหระพา มีบีต้าแคโรทีนสูง  สามารถช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดและมะเร็งได้  โดยโหระพา 1 ขีด มีบีตาแคโรทีน ถึง 452.16 ไมโครกรัม

องค์ประกอบทางเคมี

ใบโหระพา มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณร้อยละ 0.1-1.5 เมื่อทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างจาก headspace  และตรวจสอบด้วย gas chromatography พบว่า ในน้ำมันหอมระเหยประกอบด้วยสารเมทิลชาวิคอล (methylchavicol) เป็นสารหลัก (ร้อยละ 93) และสารกลุ่มเทอร์พีน ได้แก่ลินาโลออล (linalool) และซินีออล(1,8-cineol)

นอกจากนี้ ยังมีสารยูจีนอล (eugenol) กรดกาเฟอิก (caffeic acid) และกรดโรสมารินิก (rosmarinic acid)Ocimine, alpha-pinene, eucalyptol , geraniol,limonene, eugenol methyl ether.methyl cinnaminate, 3- hexen -1- ol, estragole

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของโหระพา

ที่มา : Wikipedia

 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  • หญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่กำลังให้นมบุตรสามารถรับประทานโหระพาในปริมาณปกติ ที่พบได้จากอาหารทั่วไปได้อย่างปลอดภัย แต่การใช้ในปริมาณมากอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
  • สำหรับสตรีมีครรภ์และเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี รวมถึงผู้สูงอายุ ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันหอมระเหยจากโหระพาเพราะทำให้เกิดอาการแพ้ง่าย
  • ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติอาจเสี่ยงมีเลือดออกมากยิ่งขึ้นเมื่อรับประทานน้ำมันโหระพาหรือสารสกัดจากโหระพา เนื่องจากมีฤทธิ์ชะลอการแข็งตัวของเลือด
  • เมื่อดื่มน้ำโหระพาคั้น อาจจะมีอาการข้างเคียง คือ จะทำให้มึนงงและระคายเคืองคอเล็กน้อย
  • โหระพาอาจมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต เพื่อความปลอดภัย ผู้มีความดันโลหิตต่ำควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ เพราะอาจส่งผลให้มีความดันลดต่ำเกินไปจนเป็นอันตรายได้
  • ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดควรหยุดใช้โหระพาหรืออาหารเสริมโหระพาในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้มีเลือดออกมากในระหว่างการผ่าตัด

แหล่งที่มา : https://www.disthai.com/

 

 

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารแต่งกลิ่นโหระพา

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารแต่งกลิ่นโหระพา

1.โหระพาที่นำมาแปรรูป  แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการต้มสกัด


2.นำเข้าเครื่อง SPRAY DRYER แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงสารแต่งกลิ่นโหระพาที่ได้

by author1 author1

กระชายดำ

ประโยชน์ดีๆกระชายดำ

กระชายดำมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้หนาแน่นในแถบมาเลเซีย สุมาตรา เกาะบอร์เนียว อินโดจีน และในประเทศไทย และมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเอเชียเขตร้อน ในประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย และพม่า สำหรับประเทศไทยนั้นมีการปลูกกระชายดำมากได้แก่จังหวัด พิษณุโลก เพชรบูรณ์ น่านเลย ตาก กาญจนบุรี และจังหวัดอื่นๆ ทางภาคเหนือ

ประโยชน์และสรรพคุณกระชายดำ

  • ใช้บำรุงกำลัง
  • แก้ปวดเมื่อยและอาการเหนื่อยล้า
  • ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • ช่วยขับลมพิษ
  • เป็นยาอายุวัฒนะ
  • แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง
  • ใช้กวาดคอเด็ก แก้โรคตานซางในเด็ก
  • บำรุงประสาท
  • แก้อาการนอนไม่ค่อยหลับในตอนกลางคืน
  • บำรุงโลหิตของสตรี
  • รักษาโรคภูมิแพ้
  • ช่วยขับลม แก้ท้องอืด
  • ช่วยรักษากลากเกลื้อนและติดเชื้อผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา
  • รักษาโรคเกาต์
  • แก้อาการเหน็บชา
  • ใช้ต้มกับน้ำให้สตรีหลังคลอดบุตรดื่ม จะช่วยขับน้ำนม รักษาอาการตกเลือด

ในการใช้กระชายดำแบบพื้นบ้านในสมัยก่อนนั้น จะนำมาทำเป็นยาลูกกลอน คือ เอาผงแห้งมาผสมน้ำผึ้งและปั้นเป็นลูกๆ หรือนำมาดองเหล้า (ในอัตราส่วน 1 กิโลกรัม : เหล้าขาว 3 ขวด : น้ำผึ้ง 1 ขวด) ดองทิ้งไว้ประมาณ 9 – 15 วัน แล้วนำมาใช้ดื่มวันละ 1 – 2 เป๊กกระชายดำไม่ได้เป็นยาปลุกอารมณ์ทางเพศ แต่ระยะเวลาการแข็งตัวที่นานขึ้น และสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาดังกล่าวก็สามารถรับประทานเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรกขึ้นได้)หากสุภาพสตรีทานแล้วจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนทางเพศ

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของกระชายดำ

  1. ฤทธิ์ต้านอักเสบ สาร 5,7 – ได้เมธอกซีฟลาโวน (5,7-DMF) ที่แยกได้จากเหง้ากระชายดำมีฤทธิ์ต้านการอักเสบเทียบได้กับยามาตรฐานหลายชนิด คือ แอสไพริน , อินโดเมธาซิน , ไฮไดรคอร์ติโซน และเพรดนิโซโลน จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบของสารนี้ ในสัตว์ทดลองด้วยวิธีการต่าง ๆ พบว่าสาร 5,7-DMF สามารถต้านการอักเสบแบบเฉียบพลันได้ดีกว่าแบบเรื้อรัง โดยแสดงฤทธิ์ยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าหนูขาวจากสารคาราจีนแนน และเคโอลินได้ดีกว่าฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง granuloma จากการฝังสำลีใต้ผิวหนัง นอกจากนี้ พบว่า สาร 5,7-DMF มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด exudation และการสร้างสาร prostaglandin อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบในช่องปอดของหนูขาว (rat pleurisy) (วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล และอำไพ ปั้นทอง,2528)
  2. ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ สาร 5,7,4′-trimethoxyflavone และ 5,7,3′ ,4′ –tetramethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย ส่วนสาร 3,5,7,4′-tetramethoxyflavone และ 5,7,4′-trimethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Candida albicans และแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Mycobacterium อย่างอ่อน (Wattanapitayakui S, Nawinprasert A, Herunsalee A, et al,2003)
  3. พิษต่อเซลล์มะเร็ง (cytotoxic activity) จากการทดสอบผลของฟลาโวนอยด์ 9 ชนิดของกระชายดำต่อเซลล์มะเร็ง เช่น KB , BC หรือ NCI-H187 ไม่พบว่ามีสารใดทำให้เกิดพิษต่อเซลล์มะเร็งที่ทดสอบ (วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล และอำไพ ปั้นทอง,2528)
  4. ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดง มีรายงานการวิจัยว่า สารสกัดด้วยเอธานอลของกระชายดำมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta) ละลดการหดเกร็งของ ลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) ของหนูขาว และยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของคน. (Yenchai C, Prasaphen K, Doodee S, et al,200)

 

แหล่งที่มา : https://tuemaster.com/blog/

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำสารสกัดกระชายขาว

1.กระชายขาวที่นำมาแปรรูป  แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการต้มสกัด

2.นำเข้าเครื่อง SPRAY DRYER แปรรูปด้วยเครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงสารสกัดกระชายขาวที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำจุลินทรีย์

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำจุลินทรีย์

1.น้ำจุลินทรีย์ที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วยเครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงจุลินทรีย์ที่ได้

 

by author1 author1

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นจากน้ำแตงโม

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นจากน้ำแตงโม

1. น้ำแตงโมที่นำมาแปรรูป  แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการคั่น และการแยกน้ำแยกกาก

2.แปรรูปด้วยเครื่องระเหยเข้มข้น (FALLING  FILM  EVAPORATOR) ระเหยน้ำออกจากวัตถุดิบที่มีลักษณะเป็นของเหลวเพื่อทำให้เข้มข้น

3.ผลิตภัณฑ์น้ำแตงโมเข้มข้นที่ได้