by author1 author1

ถั่วดาวอินคา

ดาวอินคา ประโยชน์ดี ๆ สรรพคุณเด่น ๆ และข้อมูลงานวิจัย

ถิ่นกำเนิดดาวอินคา

ดาวอินคา เป็นพืชวงศ์ Euphorbiaceae เช่นเดียวกับ ยางพารา สบู่ดำ หรือมันสำปะหลัง ถั่วดาวอินคาในปัจจุบันก็มีการเพาะปลูกดาวอินคาในแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีการนำดาวอินคามาแปรรูป เช่น น้ำมันดาวอินคาที่ได้จากการสกัด ถั่วดาวอินคาอบเกลือ หรือถั่วดาวอินคาคั่ว

 

ประโยชน์และสรรพคุณดาวอินคา

  1. มีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลในเลือด
  2. สามารถต้านอนุมูลอิสระและป้องกันการออกซิเดชันของไขมัน
  3. ช่วยลดไขมันในเลือดและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
  4. ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมมาบำรุงกระดูกได้ดีขึ้น
  5. ช่วยรักษาความแข็งแรงของเยื่อหุ้มเซลล์
  6. ลดการอักเสบของหลอดเลือด

เมล็ดดาวอินคา สามารถใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว เช่น ถั่วคั่วเกลือ ถั่วทอด หรือ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร อาทิ ซอส ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว รวมถึงแปรรูปเป็นแป้ง

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ดาวอินคา

ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดรูปแบบ / ขนาดการใช้หรือขนาดรับประทานดาวอินคาอย่างแน่ชัด โดยบางงานวิจัยระบุว่า เมล็ดดาวอินคารับประทานไม่ได้

เนื่องจากมีสารกลุ่มที่ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ทริปซิน (trypsin inhibitor) แต่สามารถนำมาหีบเอาน้ำมันมาใช้รับประทานเพื่อให้ได้ประโยชน์จากน้ำมันดาวอินคา และบางงานวิจัยระบุว่าเมล็ดดาวอินคาสามารถรับประทานได้เมื่อทำให้สุกแล้ว

 

องค์ประกอบทางเคมี

ส่วนคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดดาวอินคา (คั่วเกลือ ปริมาณ 100 กรัม)

เมล็ดดาวอินคาเป็นแหล่งของโปรตีน (ประมาณ 27%)

แหล่งที่มา : Wikipedin

  • พลังงาน 607 กิโลแคลอรี
  • โปรตีน 32.14 กรัม
  • ไขมันทั้งหมด 46.43 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 17.86 กรัม
  • น้ำตาล 3.57 กรัม
  • แคลเซียม 143 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 4.59 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 643 มิลลิกรัม

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

งานวิจัยทางคลินิกที่ศึกษาถึงผลของน้ำมันดาวอินคา ว่ามีคุณสมบัติที่สามารถนำมาใช้แทนโอเมก้า-3 ที่มีอยู่ในน้้ามันปลาได้หรือไม่  โดยมีงานวิจัยที่ศึกษาผลของน้ำมันจากดาวอินคาต่อการลดระดับไขมันในเลือด ทดลองในผู้ป่วยที่มีปัญหาคลอเรสเตอรอลในเลือดสูง โดยให้รับประทานน้ำมันที่สกัดจากดาวอินคา 5 หรือ10 มิลลิลิตรเป็นระยะเวลา 4 เดือน พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มมีผลคลอเรสเตอรอลทั้งหมดและไขมันที่ไม่จำเป็นในเลือดลดลง และเพิ่มระดับไขมันเอชดีแอล แสดงให้เห็นถึงว่ากรดไขมันโอเมก้า-3 ที่อยู่ในดาวอินคาออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่สกัดออกมาได้จากน้ำมันปลา

 

 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  • เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดขนาดการใช้ดาวอินคาอย่างแน่ชัด ดังนั้นในการใช้ป้องกันหรือบำบัดรักษาโรค ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
  • ไม่ควรใช้ติดต่อกันในปริมาณมากเป็นเวลานาน เพราะอาจส่งผลต่อระบบต่างๆในร่างกาย
  • ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปของดาวอินคา ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา

 

by author1 author1

อาหารทางสายยาง

การให้อาหารทางสายยาง (Tube Feeding)

สูตรอาหารทางสายยางมีอะไรบ้าง ?

  1. อาหารสูตรน้ำนมผสม (Milk based formula)

 

แหล่งที่มา : http://www.kluaynamthai2.com

อาหารสูตรนี้ใช้นมและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นส่วนผสมสำคัญ ประกอบกับส่วนผสมอื่น เช่น น้ำตาล น้ำมันพืช ไข่ เพื่อให้ผู้รับประทานได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนของวัตถุดิบที่น้ำมาใช้จะขึ้นอยู่กับพลังงานและสารอาหารที่แพทย์กำหนด

อาหารสูตรน้ำนมผสมเตรียมง่าย ใช้เวลาน้อย เหมาะสำหรับผู้ป่วยเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากมีส่วนประกอบของนมเป็นหลัก มักจะก่อให้เกิดอาการท้องเสียสำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ดื่มนมมาเป็นระยะเวลานาน และไม่มีน้ำย่อยน้ำตาลแลคโตส (Lactose) แล้ว

  1. อาหารสูตรปั่นผสม (Blenderized formula)

อาหารสูตรนี้มีคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วน ใช้วัตถุดิบจากอาหาร 5 หมู่ ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำตาล และไขมัน นำมาทำให้สุก แล้วปั่นผสมเข้าด้วยกัน จากนั้นจึงกรองเอาส่วนที่ปั่นไม่ละเอียดออกเพื่อให้อาหารสามารถไหลผ่านสายให้อาหารได้

อาหารสูตรปั่นผสมเหมาะสำหรับผู้ใหญ่เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการแพ้นมวัว (Lactose intolerance) สามารถปรับเปลี่ยนวัตถุดิบได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการเตรียม แต่สุดท้ายจะต้องได้คุณค่าครบถ้วนตามที่แพทย์กำหนด โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน

  1. อาหารสูตรสำเร็จ (Commercial formula)

อาหารสูตรนี้ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร มีสัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน ให้คุณค่าสารอาหารแตกต่างกันตามรายละเอียดที่ระบุไว้ที่ภาชนะบรรจุ มีทั้งชนิดผงและน้ำ สามารถนำไปละลายน้ำตามสัดส่วนที่กำหนด หรือเปิดภาชนะบรรจุก็ใช้ได้ทันที

 

แบ่งเป็น 5 สูตรตามสารอาหาร ดังนี้

  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนจากนม (Milk-protein base formula) ใช้นมเป็นแหล่งโปรตีน มักเป็นนมสด (Whole milk) หรือนมขาดมันเนย (Non-fat milk) มีลักษณะเป็นผง
  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลือง (Soy-protein base formula) ใช้ถั่วเหลืองเป็นแหล่งของโปรตีน (Soy Protein Isolate) มีลักษณะเป็นผง
  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนจากนมและถั่วเหลืองผสมกัน (Milk and soy-protein base formula) ใช้ทั้งนมและนมถั่วเหลืองเป็นแหล่งของโปรตีน มีทั้งชนิดผงและชนิดน้ำ
  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนขนาดโมเลกุลเล็ก (Protein hydrolysate) เป็นสูตรนมที่นำโปรตีนมาย่อยสลายด้วยเอนไซม์ส่วนหนึ่งให้มีขนาดเล็กลงเป็นสายโมเลกุลสั้นๆ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่แพ้โปรตีนจากทั้งนมวัวและนมถั่วเหลือง
  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนอยู่ในสภาพกรดอะมิโน (Amino acid-based formula) เป็นสูตรนมที่มีโปรตีนซึ่งผ่านกระบวนการย่อยเป็นกรดอะมิโน ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ทันที

แหล่งที่มา : https://hd.co.th/tube-feeding

 

อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้อาหารทางสายยาง

  1. อาหารเหลว หรือ อาหารสำเร็จรูป (ตามคำสั่งของแพทย์ )
  2. กระบอกให้อาหารทางสายยาง
  3. สำลี แอลกอฮอล์
  4. สบู่ล้างมือ หรือแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ

 

ขั้นตอนการให้อาหารทางสายยาง มีดังต่อไปนี้

  1. เตรียมของเครื่องใช้ในการให้อาหารทางสายยาง อาหารเหลวและยาที่เตรียมให้ผู้ป่วย
  2. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีเสมหะขับออกเองไม่ได้ ให้ดูดเสมหะก่อน เพื่อป้องกันผู้ป่วยไอสำลักอาหารขณะให้อาหารทางสายยาง
  3. การจัดท่า –ถ้าลุกนั่งได้ให้อยู่ในท่านั่ง ถ้าช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ให้จัดท่าศีรษะสูง อย่างน้อย 60 องศา
  4. ล้างมือ
  5. จับบริเวณปลายสายยาง พับสายยางไว้เพื่อป้องกันลมเข้ากระเพาะอาหาร ผู้ป่วยจะได้ไม่มีอาการท้องอืด
  6. ทดสอบดูว่า ปลายสายยางให้อาหาร ยังอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่ โดยเปิดจุกแล้วเอากระบอกที่มีลูกสูบมาต่อ จากนั้นปล่อยสายที่พับไว้ลัวดึงลุกสูบ เพื่อประเมินอาหารหรือน้ำที่ยังคงเหลือค้างในกระเพาะอาหาร
  • ถ้ามีอาหารหรือน้ำเหลือค้างมากกว่า 50 ซีซี ให้ดันอาหารกลับเข้าไปอย่างช้าๆ และเลื่อนเวลาออกไปครั้งละ 1 ชั่วโมง แล้วมาประเมินใหม่อีกครั้ง
  • ถ้ามีอาหารหรือน้ำเหลือค้างน้อยกว่า 50 ซีซี ให้ดันอาหารกลับเข้าไปอย่างช้าๆ และให้อาหารได้เลย
  • ถ้าไม่มีอาหารและน้ำเหลือค้าง สามารถให้อาหารได้เลย

** หมายเหตุ     ในกรณีดึงอาหารออกมาแล้ว สีอาหารเปลี่ยนไปเปลี่ยนเป็นสีแดง,สีน้ำตาล,สีดำ ควรปรึกษาศูนย์สาธารณะสุขหรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน

  • หลังจากประเมินอาหารเสร็จ สามารถให้อาหารได้ ให้พับสายยางและปลดกระบอกออก จากนั้นนำปลายสายถุงอาหารมาต่อกับจุก แขวนถุงอาหารไว้กับเสาสูงๆและหมุนตัวล็อคขึ้นให้อาหารไหล
  • พออาหารหมด ให้หมุนตัวล็อคลงเพื่อปิด และให้พับสายไว้และปลดสายถุงอาหารออก นำกระบอกที่ไม่มีลูกสูบมาต่อกับจุกเติมน้ำลงไปประมาณ 10 -20 ซีซี ปล่อยสายที่พับไว้เพื่อให้น้ำไหลจนกระทั่งน้ำเหลือในกระบอกประมาณ 10 ซีซี ให้พับสายไว้ จากนั้นนำยาที่บดละลายน้ำไว้เทเติมลงไป (ระวังยาจะอุดตัน) ปล่อยสายที่พับไว้ พอยาไหลเกือบหมดกระบอก ให้พับสายและเติมน้ำลงไปอีกประมาณ 30 ซีซี ปล่อยสายที่พับไว้ ให้น้ำไหลจนหมดและไม่เห็นน้ำเหลือค้างในสายยาง (ตั้งแต่ปลายสายจนถึงจมูกผู้ป่วย ) จากนั้นปิดจุก
  • หลังจากให้อาหารและยาเสร็จเรียบร้อย ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูง 60 องศาต่อไปอีกประมาณ 1 ชั่วโมง
  • การเก็บอาหารปั้น โดยปกติจะเก็บได้ 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง ในช่องธรรมดา ถ้าจะนำอาหารมาให้ผู้ป่วยต้องอุ่นก่อน โดยนำถุงอาหารปั้นไปแช่น้ำร้อน

แหล่งที่มา : http://www.kluaynamthai2.com


การดูแลรักษาสายยางให้อาหาร
 

  1. เปลี่ยนพลาสเตอร์ที่ติดสายยางกับจมูกทุก 2 – 3วัน หรือเมื่อหลุด
  2. ทำความสะอาดรูจมูก และรอบจมูกด้วยไม้พันสำลี หรือผ้าชุบน้ำ
  3. ระวังสายยางเลื่อหลุด ควรทำเครื่องหมายไว้เป็นจุดสังกตด้วย
  4. ถ้าสายยางเลื่อนหลุดไม่ควรใส่เอง เพราะอาจใส่ผิดไปเข้าหลอดลม ให้มาพบแพทย์
  5. ควรนำมาพบแพทย์เพื่อเปลี่ยนสายให้อาหารเมื่อสกปรก หรือ ทุก 1 เดือน

แหล่งที่มา : https://www.saintlouis.or.th/article/show/_11-0-2022-13:16

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำสารสกัดเมล็ดองุ่น

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำสารสกัดเมล็ดองุ่น


1.องุ่นนำมาแปรรูป

 

2.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

 

3.ผลิตภัณฑ์ผงสารสกัดเมล็ดองุ่นที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการหั่นย่อย,สกัดแอลกอฮอล์,ต้มสกัด,สเปรย์ดรายจากขมิ้นชัน

ขั้นตอนการหั่นย่อย,สกัดแอลกอฮอล์,ต้มสกัด,สเปรย์ดรายจากขมิ้นชัน


1.ขมิ้นชันที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องหั่นเห็ดหลินจือ/เครื่องหั่นกิ่งใบ เครื่องจักรที่ใช้ในการหั่นผลิตภัณฑ์ให้มีขนาดตามที่ต้องการ และมีขนาดที่สม่ำเสมอ เป็นเครื่องที่ใช้สำหรับหั่นใบอ่อนและแข็งของสมุนไพรหลายชนิด

3.ผลิตภัณฑ์ขมิ้นชันหั่นย่อยที่ได้

4.แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการต้มสกัดแอลกอฮอล์ เครื่องสกัดด่วน (HI SPEED EXTRACTOR) สามารถใช้สกัดสารสำคัญจากวัตถุดิบออกมาเป็นน้ำสกัดได้อย่างรวดเร็ว

5.ผลิตภัณฑ์น้ำสกัดขมิ้นชันที่ได้

6.ใบหม่อนที่นำมาแปรรูป แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการต้มสกัด ถังต้มกวนผสม ( HEATING MIXING TANK )ถังกวนผสมใช้กวนผสมของเหลว และให้ความร้อนด้วย HOT OIL

7.ผลิตภัณฑ์น้ำขมิ้นที่ได้

8.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

9.ผลิตภัณฑ์ผงขมิ้นชันที่ได้

 

by author1 author1

โกโก้ (Cocoa)

โกโก้ (Cocoa) ทานอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

โกโก้ (Cocoa) คืออะไร ?

โกโก้ เป็นเมล็ดของพืชชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาผลิตช็อกโกแลต ภายในโกโก้ มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งอาจนำมาใช้รักษา หรือป้องกันโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง ทั้งนี้แม้ว่าโกโก้จะเต็มไปด้วยคุณประโยชน์สารพัด แต่ผู้บริโภคก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดตามมาได้อีกด้วย

โกโก้ (Cocoa) และ ช็อกโกแลต (Chocolate) มีที่มาเดียวกัน คือ มาจากเมล็ดโกโก้ เพียงแต่โกโก้ผ่านกระบวนการแปรรูป และรีดไขมันออกจนเหลือเพียง 0-25%

 

แหล่งกำเนิดของโกโก้

แหล่งกำเนิดโกโก้นั้น มาจากต้นโกโก้ (Cocoa tree) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Theobroma cacao” ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกาใต้ มีอยู่ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Forastero, Criollo และ Trinitario

ส่วนของต้นโกโก้ที่นำมาสกัดเป็นโกโก้ให้เรารับประทานนั้น คือ เมล็ดซึ่งอยู่ในผลโกโก้ โดยเมล็ดจะต้องถูกนำไปหมักให้มีกลิ่นหอม แล้วนำไปตากแห้งเพื่อให้ความชื้นลดลง จากนั้นจะถูกนำไปคั่ว จนได้สิ่งที่เรียกว่า “คาเคา นิบส์ (Cocoa nib)” ซึ่งเป็นเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอม รสชาติขมเป็นเอกลักษณ์

 

 

ประโยชน์ของโกโก้

โกโก้ ประกอบไปด้วยแคลอรี่  ไขมัน, โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, ใยอาหาร และแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงสารอีกหลายชนิด เช่น สารต้านอนุมูลอิสระฟลาโวนอยด์, สารอีพิคาเทชิน, สารคาเทชิน, สารโพรไซยานิดีน เป็นต้น สารสำคัญต่าง ๆ ในโกโก้ย่อมส่งผลดีต่อร่างกายไม่มากก็น้อย ดังนี้

  • ช่วยเสริมสร้างหัวใจให้แข็งแรง
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยคลายเครียด
  • ช่วยทำให้ผิวสวย
  • บำรุงสมอง
  • ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า
  • เร่งการเผาผลาญ

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ผงโกโก้ 100 กรัม ให้พลังงาน 228 กิโลแคลอรี่ ประกอบไปด้วย

  • โปรตีน : 19.60 กรัม
  • ไขมัน : 13.70 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต : 57.90 กรัม
  • ไฟเบอร์ : 37 กรัม
  • น้ำตาล : 1.75 กรัม

 

การรับประทานโกโก้ให้ได้ประโยชน์

  • กินผงโกโก้วันละ 1 ช้อนโต๊ะ จะช่วยเสริมสร้างให้หัวใจแข็งแรง โดยอาจโรยหน้าขนม หรือชงเป็นเครื่องดื่มก็ได้
  • ควรกินโกโก้ที่เป็นโกโก้แท้ 100% และไม่ควรใส่ส่วนผสมอย่างนม หรือน้ำตาล เพิ่มเข้าไป
  • หากอยากผิวสวย ให้ดื่ม หรือกินโกโก้ติดต่อกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์

 

ข้อควรระวังในการรับประทานโกโก้

  • การกินโกโก้แบบเพิ่มนม และน้ำตาล จะทำให้ระดับน้ำตาล และไขมันในเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โกโก้มีสารทีโอโบรมายสูง มีฤทธิ์คล้ายคาเฟอีนอ่อนๆ ถ้ากินเข้าไปปริมาณมากอาจทำให้ใจสั่น และนอนไม่หลับได้

หากคำนึงถึงสุขภาพเป็นหลัก ควรเลือกรับประทานโกโก้ในรูปแบบดาร์กช็อกโกแลต ซึ่งมีปริมาณเนื้อโกโก้สูง และมีไขมันจากนมกับน้ำตาลต่ำ แม้รสชาติจะขมไปบ้าง แต่ก็ดีต่อสุขภาพมากกว่าช็อกโกแลตนม และไวท์ช็อกโกแลตอย่างแน่นอน

 

แหล่งที่มา : https://www.sgethai.com/article/

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำจุลินทรีย์

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำจุลินทรีย์


1.น้ำจุลินทรีย์ที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

 

3.ผลิตภัณฑ์ผงจุลินทรีย์ที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการทำ FLUIDIZED BED GRANULATOR จากผงกล้วย

ขั้นตอนการทำ FLUIDIZED BED GRANULATOR  จากผงกล้วย

1.ผงกล้วยที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องทำแกรนูลแบบฟลูอิดไดซ์เบด (Fluidized Bed Granulator) อบผงด้วยลมร้อนในตัวถังเกาะกลุ่มด้วยสารช่วยยึดเกาะ

3.ผลิตภัณฑ์ผงกล้วยเกาะกลุ่มที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการทำแห้งแบบลูกกลิ้งจากน้ำแป้งกล้วยดิบ

ขั้นตอนการทำแห้งแบบลูกกลิ้งจากน้ำแป้งกล้วยดิบ


1.แป้งกล้วยที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้งคู่ ( TWIN DRUM DRYER ) ทำวัตถุดิบของเหลวให้แห้งโดยเทวัตถุดิบของเหลวลงในช่องระหว่างลูกกลิ้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงน้ำแป้งกล้วยดิบที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารแต่งกลิ่นเปลือกไม้แอปเปิ้ลรมควัน

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารแต่งกลิ่นเปลือกไม้แอปเปิ้ลรมควัน


1.เปลือกไม้ที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

 

3.ผลิตภัณฑ์ผงสารแต่งกลิ่นเปลือกไม้แอปเปิ้ลรมควัน

by author1 author1

ใบย่านาง

ใบย่านาง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้เถาเลื้อย เถากลมขนาดเล็ก มีเนื้อไม้ เลื้อยพันตามต้นไม้ หรือกิ่งไม้ เถามีสีเขียว ยาว 10-15 เมตร เถาอ่อนสีเขียว เมื่อเถาแก่จะมีสีคล้ำ แตกเป็นแนวถี่ เถาอ่อนมีขนนุ่มสีเทา มีเหง้าใต้ดิน กิ่งก้านมีรอยแผลเป็นรูปจานที่ก้านใบหลุดไป มีขนประปราย หรือเกลี้ยง ใบเดี่ยว หนา สีเขียวเข้มเป็นมัน เรียงแบบสลับ รูปไข่ ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ฐานใบมน ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ผิวใบเรียบมัน ไม่มีหูใบ เนื้อใบคล้ายกระดาษ แต่แข็ง เหนียว มีเส้นใบกึ่งออกจากโคนใบรูปฝ่ามือ 3-5 เส้น และมีเส้นแขนงใบ 2-6 คู่  ออกเป็นพวง ตามข้อและซอกใบ ติดบนก้านยาว 3-4 มิลลิเมตร เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มและแดงสด เมล็ดรูปเกือกม้า พบตามป่าเต็งรัง ป่าดิบใกล้ทะเล ตามริมน้ำในป่าละเมาะ พบมากในที่รกร้าง ไร่ สวน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน

 

สรรพคุณ

ตำรายาไทย  ใช้ ราก รสจืด รสจืดขม ใช้ในตำรับยาแก้ไข้เบญจโลกวิเชียร (ประกอบด้วยรากย่านาง รวมกับรากเท้ายายม่อม รากมะเดื่อชุมพร รากคนทา รากชิงชี่ อย่างละเท่าๆกัน)

  • แก้ไข้ (ใช้รากแห้งครั้งละ 1 กำมือ หรือประมาณ 15 กรัม ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็น) ใบ รสจืดขม รับประทานถอนพิษ แก้ไข้ อีสุกอีใส หัด ลิ้นกระด้างคางแข็ง เป็นยากวาดคอ
  • แก้พิษเมาเบื่อ กระทุ้งพิษไข้ แก้เมาสุรา ถอนพิษผิดสำแดง นำมาต้มกินเป็นยาแก้อีสุกอีใส ตุ่มผื่น แก้ไข้ ขับพิษต่างๆ
  • แก้ท้องผูก ก้านที่มีใบผสมกับพืชอื่นใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย

ชาวบ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ น้ำคั้นจากใบ มีรสขม ปรุงใส่แกงหน่อไม้แกงอ่อม หรือแกงอีสานต่างๆ เป็นเครื่องชูรสได้ดีชนิดหนึ่ง เส้นใยจากเถา เหนียวมาก ใช้ทำเชือก หรือใช้มัดตับหญ้าคาที่ใช้มุงหลังคาได้

การศึกษาพิษวิทยา

สารสกัดใบย่านางด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ 50 ฉีดเข้าไปใต้ผิวหนังของหนู ปริมาณ 10 กรัม ต่อน้ำหนักตัวของหนู 1 กิโลกรัม (คิดเป็นปริมาณ 6,250 เท่าของปริมาณที่คนได้รับ) ไม่แสดงความเป็นพิษ

 

 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  • เมื่อทำน้ำย่านางเสร็จแล้วควรดื่มทันที เพราะถ้าทิ้งไว้นานเกินไปจะเกิดกลิ่นเหม็นเปรี้ยวหรือเกิดการบูดขึ้นได้ แต่สามารถนำมาแช่ตู้เย็นได้ และควรดื่มให้หมดภายใน 3 วัน
  • ในการดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนอาหารหรือตอนท้องว่างประมาณครึ่งแก้ว 3 ครั้งต่อวัน
  • บางคนที่รู้สึกว่าน้ำย่านาง เหม็นเขียว รับประทานยากสามารถนำน้ำย่านางไปต้มให้เดือดแล้วนำมาดื่มหรือจะผสมกับน้ำสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ก็ได้ เช่น ขิง ตะไคร้ ขมิ้น หรือจะผสมกับน้ำมะพร้าว น้ำมะนาว น้ำตาล หรือแม้แต่น้ำหวานก็ได้เช่นกัน
  • ควรดื่มปริมาณแต่พอดี หากดื่มแล้วรู้สึกแพ้ พะอืดพะอม ก็ควรลดความเข้มข้นของสมุนไพรที่ใส่ลงไปให้น้อยลง

แหล่งที่มา : http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=148

แหล่งที่มา : https://www.disthai.com/16941446