Operation cost estimation การคำนวนหาค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการ/การผลิต
สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ input องค์ประกอบต่างๆในการเดินเครื่องจักร องค์ประกอบหลักโดยทั่วไปได้แก่
- วัตถุดิบป้อนเข้า raw material
- ไฟฟ้า Electricity
- แก๊ส LPG/ Methane
- ไอน้ำ Steam
- ลมอัด compressed air
- น้ำประปา/น้ำอ่อน water/soft water
- คนควบคุมเครื่องจักร Operator
ตัวอย่างที่ 1
ใน 1 วัน เวลาทำงาน 8 ชั่วโมง เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ Spray dryer อบแห้งที่อุณหภูมิ 170◦c จากความร้อนสูงสุด 350◦c ใช้ไฟฟ้า 3เฟส4สาย 380โวลต์ วัตถุดิบป้อน 100 ลิตรต่อชม. ลิตรละ 50 บาท ผู้ควบคุม 2 คน
- ค่าวัตถุดิบ 100x50x8 = 40,000 บาทต่อวัน
- ฮีตเตอร์ 60 กิโลวัตต์ แต่ใช้อุณหภูมิ 170◦c ใช้ไฟฟ้ากำลังไฟฟ้า 50% ≈ 30 กิโลวัตต์
- ลมอัดได้จากปั๊มอัดลม 2 กิโลวัตต์
- พัดลม, ปั๊มน้ำ, ไฟฟ้าควบคุม รวม 5 กิโลวัตต์
- รวมค่าไฟฟ้า (30+2.2+5)x4x8= 1,190.4 บาทต่อวัน
ค่าหน่วยไฟฟ้าแต่ละประเภทขนาดกิจการแตกต่างกัน กรณีนี้คิดหน่วยละ 4 บาท
- ผู้ควบคุม2คน ค่าแรงวันละ 500 รวม 500×2= 1,000 บาทต่อวัน
- ล้างเครื่องมี ค่าน้ำ, ค่าน้ำยาล้าง cip ≈ 40 บาท
รวมค่าใช้จ่ายการผลิตต่อวัน คิดเป็นเงินประมาณ 40,000 + 1,190.4 + 1,000 + 40 = 42,230.4 บาท
ตัวอย่างที่ 2 เครื่องกำเนิดไอน้ำ steam boiler ขนาด 500 กิโลกรัมต่อชม. เดินเครื่อง 6ชม.ต่อวัน
- ใช้เชื้อเพลิงแก๊ส LPG 26 กก./ชม. ราคา22บาท/กก.
= 26 x 22 x 6 = 3,432 บาทต่อวัน
- ค่าไฟฟ้าพัดลม, ปั๊มน้ำ, หัวพ่นไฟ, ไฟฟ้าควบคุม รวม 45 กิโลวัตต์
= 2.45 x 4 x 6 = 58.8 บาทต่อวัน
- ค่าน้ำ 500 ลิตรต่อชม. 1000 ลิตร ≈ 15บาท
= 500x6x15/1000 = 45 บาทต่อวัน
- ผู้ควบคุมเครื่องกำเนิดไอน้ำขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้ผู้ควบคุมเครื่องตลอดเวลา เพียงตรวจเช็คเครื่องก่อนเดินเครื่อง และปิดเครื่องหลังใช้งาน จึงคิดค่าแรงตามชั่วโมงประมาณ 300 บาทต่อวัน
รวมค่าใช้จ่ายการเดินเครื่องกำเนิดไอน้ำต่อวัน คิดเป็นเงินประมาณ 3,432 + 58.8 + 45 + 300 = 3,535.8 บาท
ตรวจสอบค่าไฟฟ้าได้ที่เว็บไซด์การไฟฟ้านครหลวง http://www.mea.or.th/
ตรวจสอบค่าไฟฟ้าได้ที่เว็บไซด์การประปานครหลวง https://www.mwa.co.th/