by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารแต่งกลิ่นเปลือกไม้แอปเปิ้ลรมควัน

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารแต่งกลิ่นเปลือกไม้แอปเปิ้ลรมควัน

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารแต่งกลิ่นเปลือกไม้แอปเปิ้ลรมควัน

1.แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการต้มสกัด เครื่องสกัดด่วน (HI SPEED EXTRACTOR) สามารถใช้สกัดสารสำคัญจากวัตถุดิบออกมาเป็นน้ำสกัดได้อย่างรวดเร็ว

2.แปรรูปด้วยเครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงสารแต่งกลิ่นเปลือกไม้แอปเปิ้ลรมควัน

by author1 author1

ขั้นตอนการสกัดและระเหยเข้มข้นจากน้ำใบชาแดง

ขั้นตอนการสกัดและระเหยเข้มข้นจากน้ำใบชาแดง

1.ใบชาที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการต้มสกัด เครื่องสกัดด่วน (HI SPEED EXTRACTOR) สามารถใช้สกัดสารสำคัญจากวัตถุดิบออกมาเป็นน้ำสกัดได้อย่างรวดเร็ว

3.ผลิตภัณฑ์น้ำสกัดจากใบชาที่ได้

4. แปรรูปด้วย เครื่องระเหยเข้มข้น (FALLING  FILM  EVAPORATOR) ระเหยน้ำออกจากวัตถุดิบที่มีลักษณะเป็นของเหลวเพื่อทำให้เข้มข้น

5. ผลิตภัณฑ์น้ำใบชาแดงเข้มข้นที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นและแปรรูปผงจากน้ำซุปปลา

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นและแปรรูปผงจากน้ำซุปปลา

1.น้ำซุปปลาที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องระเหยเข้มข้น (FALLING  FILM  EVAPORATOR) ระเหยน้ำออกจากวัตถุดิบที่มีลักษณะเป็นของเหลวเพื่อทำให้เข้มข้น


3.ผลิตภัณฑ์น้ำซุปปลาเข้มข้นที่ได้


4.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

5.ผลิตภัณฑ์ผงน้ำซุปปลาที่ได้

by author1 author1

สารสกัดจากเมล็ดองุ่น

สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed extract)

 

 

แหล่งที่มา : https://www.boon-herb.com/herballibrary/grape-seed-extract

ตั้งแต่อดีต คนโบราณไม่เพียงแต่ใช้องุ่นเพื่อการรับประทานและการดื่มเท่านั้น แต่ยังมีการนำเอาองุ่นไปทำเป็นยาอีกด้วย หลายส่วนของต้นองุ่นได้ถูกนำไปใช้สำหรับทำเป็นยาหรือสมุนไพร จนกระทั่งในปี ค.ศ.1970 นักชีวเคมีชาวฝรั่งเศสได้นำเอาเมล็ดองุ่นไปทำการสกัดและในที่สุดได้พบสารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากชื่อว่า   “โอลิโกเมอริก โปรแอนโธไซยานิดินส์ (Oligomeric Proanthocyanidins) หรือ OPCs”

 

OPCs คืออะไร

 

แหล่งที่มา : https://www.cbinterlab.com/product/static-cat0Product2

OPCs เป็นสารสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มของไบโอฟลาโวนอยด์ มีคุณสมบัติที่สำคัญในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง และละลายน้ำได้ดี ดังนั้นจึงมีประสิทธิภาพมากในการปกป้องเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายจากการถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ รวมถึงมีประสิทธิภาพในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าวิตามินซีถึง 20 เท่า และมากกว่าวิตามินอีถึง 50 เท่า

 

หน้าที่ของสารสกัดเมล็ดองุ่น

  1. หัวใจและหลอดเลือด
  • ยับยั้งการเกาะตัวของคอเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือด จึงป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
  • เพิ่มความสามารถในการไหลเวียนของโลหิต
  1. ดวงตา
  • ป้องกันการเสื่อมของดวงตา ต้อกระจก ช่วยให้สายตาปรับการมองเห็นในที่มืดได้ดี
  1. ภูมิแพ้
  • ลดอาการภูมิแพ้ OPC มีคุณสมบัติในการต้านสารฮีสตามีน จึงช่วยลดอาการภูมิแพ้ หอบหืด
  1. สมอง
  • ป้องกันโรคสมองเสื่อมหรือ อัลไซน์เมอร์ โดยที่ OPCs จะเข้าไปขัดขวางการทำลายเซลล์สมองจากอนุมูลอิสระ
  1. ผิว
  • ช่วยลดริ้วรอย ฝ้าและกระให้จางลง โดย OPCs จะช่วยต้านอนุมูลอิสระที่จะมาทำลายคอลลาเจนอิลาสตินและการผลิตเม็ดสี อันเป็นสาเหตุทำให้ผิวเสื่อมสภาพ และเกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร

 

ข้อควรระวัง : ไม่แนะนำสำหรับผู้ที่มีภาวะเลือดแข็งตัวช้าหรือใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และควรหยุดการรับประทานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนและหลังการผ่าตัดหรือทำฟัน

 

แหล่งที่มา : https://biopharm.co.th/

by author1 author1

ขั้นตอนการทำแห้งแบบลูกกลิ้งจากอาหารทางสายยาง

ขั้นตอนการทำแห้งแบบลูกกลิ้งจากอาหารทางสายยาง

 

1.อาหารทางสายยางที่นำมาแปรรูป


2.แปรรูปด้วย เครื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้งคู่ ( TWIN DRUM DRYER ) ทำวัตถุดิบของเหลวให้แห้งโดยเทวัตถุดิบของเหลวลงในช่องระหว่างลูกกลิ้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงอาหารทางสายยางที่ได้

by author1 author1

กล้วยน้ำว้าดิบ

กล้วยน้ำว้าดิบ พบสารสำคัญสรรพคุณล้นในการรักษาโรค

ขึ้นชื่อว่ากล้วย ผลไม้รสชาติหวาน อร่อย กินได้ง่ายทุกเพศ ทุกวัย หากินได้ทั่วทุกแห่งในโลก แต่สำหรับประเทศเรานั้นมีกล้วยเพียงไม่กี่ชนิดที่คนนิยมกินมาก เช่น กล้วยหอม กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง และกล้วยน้ำว้า โดยเฉพาะกล้วยอย่างหลังสุด “กล้วยน้ำว้า” มีสรรพคุณทางยามากมาย จนมีการศึกษาและงานวิจัยออกมายืนยันสรรพคุณอยู่เรื่อย ๆ เราจึงรวบรวม งานวิจัยผงกล้วยน้ำว้าดิบ ที่เรียกได้ว่าสรรพคุณล้นหลามในการรักษาโรค

สารสำคัญในกล้วยน้ำว้าดิบผง

แหล่งที่มา : http://www.thaicrudedrugom

ในผงกล้วยน้ำว้าดิบ  นั้นจะประกอบไปด้วยสารสำคัญอย่าง  สารแทนนิน (Tannin)  ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารตกตะกอนโปรตีน  มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี  จึงช่วยเคลือบป้องกันผนังกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่ให้ถูกทำลายโดยอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน  อาหารที่ส่งผลต่อการระคายเคืองที่กระเพาะ รวมถึงกรดในกระเพาะในช่วงที่ท้องว่าง

 นอกจากนี้กล้วยดิบ  ยังช่วยรักษาอาการท้องเสียได้ด้วย

ซึ่งสารอีกตัวหนึ่งที่สำคัญมากที่พบได้ในกล้วยดิบ นั่นคือ  เซโรโทนิน  ออกฤทธิ์กระตุ้นให้ผนังเยื่อบุกระเพาะอาหารหลั่งเมือกออกมาเคลือบกระเพาะ ป้องกันการถูกกรดในกระเพาะอาหารย่อยอีกทีหนึ่ง

ยังมีงานวิจัยศึกษาว่า กล้วยน้ำว้าดิบ  ช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร โดยทำการทดลองกับหนูขาวด้วยการป้อนกล้วยน้ำว้าดิบ  พบว่า กล้วยนั้นสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะ โดยกลไกการออกฤทธ์น่าจะเกิดการกระตุ้นให้เซลล์ในเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจากการหลั่งสารจำพวก Mucin ที่หลั่งออกมาเพื่อเคลือบกระเพาะ ซึ่งได้ผลที่ดีกว่ายาปฏิชีวนะอย่าง Aluminium hydroxide, Cimetidine และ Poslagiandin

 

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในผู้ที่อ้วนลงพุง โดยพบว่า การกินผงกล้วยดิบมีผลช่วยลดขนาดรอบสะโพก (hip circumference) ลดระดับน้ำตาลในเลือดและความดัน  การกินผงกล้วยดิบมีผลช่วยให้รูปร่างและค่าทางชีวเคมีในเลือดของผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินและมีภาวะอ้วนลงพุงดีขึ้นได้ แต่ไม่ได้ผลในกลุ่มผู้ที่น้ำหนักเกิน แต่ไม่ถึงกับอ้วนลงพุง

แหล่งที่มา : https://www.krodlaiyon.com/research-banana-namwa/

 

แหล่งที่มา : https://www.kasettambon.com

วิธีการทำแป้งกล้วย

  • นํากล้วยดิบตัดแยกเป็นผล ล้างด้วยน้ำให้สะอาด
  • ลวกในน้ำเดือดเป็นเวลา 45 วินาทีและแช่ในน้ำเย็นทันที
  • ปอกเปลือกและหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แช่ในสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ความเข้มข้น ร้อยละ 0.1 เป็นเวลา 30 นาที (การเตรียมทําโดยชั่ง โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ 1 กรัม เติมน้ำทำให้ได้สารละลาย 1 ลิตร และคนให้ละลาย) นําขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำ เกลี่ยบนถาดซึ่งเป็นตะแกรงโปร่ง
  • นําไปทําให้แห้ง โดยนําเข้าอบในตู้อบแห้งแบบใช้ลมร้อน ควบคุมอุณหภูมิ 55-60°C หรือตากให้แห้ง โดยใช้แสงแดด หรือเครื่องอบแห้งพลังแสงอาทิตย์จนแห้งกรอบ
  • นําไปบดให้เป็นผง แล้วร่อนผ่านตะแกรงร่อน ขนาด 80 Mesh บรรจุในภาชนะบรรจุปิดสนิท

แหล่งที่มา : https://www.kasettambon.com

 

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากอาหารทางสายยาง

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากอาหารทางสายยาง

1.น้ำอาหารทางสายยางนำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงอาหารทางสายยางที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการบีบน้ำมันจากเมล็ดถั่วดาวอินคา

ขั้นตอนการบีบน้ำมันจากเมล็ดถั่วดาวอินคา

 

1.ถั่วดาวอินคาที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วยเครื่อง OIL PRESS เครื่องหีบน้ำมันแบบเย็น เป็นเครื่องสกัดน้ำมันแบบเย็นโดยแรงบีบอัดแบบเกลียวเพื่อสกัดน้ำมันออกจากวัตถุดิบ

3.ผลิตภัณฑ์น้ำมันถั่วดาวอินคาที่ได้

by author1 author1

ถั่วดาวอินคา

ดาวอินคา ประโยชน์ดี ๆ สรรพคุณเด่น ๆ และข้อมูลงานวิจัย

ถิ่นกำเนิดดาวอินคา

ดาวอินคา เป็นพืชวงศ์ Euphorbiaceae เช่นเดียวกับ ยางพารา สบู่ดำ หรือมันสำปะหลัง ถั่วดาวอินคาในปัจจุบันก็มีการเพาะปลูกดาวอินคาในแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีการนำดาวอินคามาแปรรูป เช่น น้ำมันดาวอินคาที่ได้จากการสกัด ถั่วดาวอินคาอบเกลือ หรือถั่วดาวอินคาคั่ว

 

ประโยชน์และสรรพคุณดาวอินคา

  1. มีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลในเลือด
  2. สามารถต้านอนุมูลอิสระและป้องกันการออกซิเดชันของไขมัน
  3. ช่วยลดไขมันในเลือดและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
  4. ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมมาบำรุงกระดูกได้ดีขึ้น
  5. ช่วยรักษาความแข็งแรงของเยื่อหุ้มเซลล์
  6. ลดการอักเสบของหลอดเลือด

เมล็ดดาวอินคา สามารถใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว เช่น ถั่วคั่วเกลือ ถั่วทอด หรือ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร อาทิ ซอส ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว รวมถึงแปรรูปเป็นแป้ง

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ดาวอินคา

ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดรูปแบบ / ขนาดการใช้หรือขนาดรับประทานดาวอินคาอย่างแน่ชัด โดยบางงานวิจัยระบุว่า เมล็ดดาวอินคารับประทานไม่ได้

เนื่องจากมีสารกลุ่มที่ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ทริปซิน (trypsin inhibitor) แต่สามารถนำมาหีบเอาน้ำมันมาใช้รับประทานเพื่อให้ได้ประโยชน์จากน้ำมันดาวอินคา และบางงานวิจัยระบุว่าเมล็ดดาวอินคาสามารถรับประทานได้เมื่อทำให้สุกแล้ว

 

องค์ประกอบทางเคมี

ส่วนคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดดาวอินคา (คั่วเกลือ ปริมาณ 100 กรัม)

เมล็ดดาวอินคาเป็นแหล่งของโปรตีน (ประมาณ 27%)

แหล่งที่มา : Wikipedin

  • พลังงาน 607 กิโลแคลอรี
  • โปรตีน 32.14 กรัม
  • ไขมันทั้งหมด 46.43 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 17.86 กรัม
  • น้ำตาล 3.57 กรัม
  • แคลเซียม 143 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 4.59 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 643 มิลลิกรัม

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

งานวิจัยทางคลินิกที่ศึกษาถึงผลของน้ำมันดาวอินคา ว่ามีคุณสมบัติที่สามารถนำมาใช้แทนโอเมก้า-3 ที่มีอยู่ในน้้ามันปลาได้หรือไม่  โดยมีงานวิจัยที่ศึกษาผลของน้ำมันจากดาวอินคาต่อการลดระดับไขมันในเลือด ทดลองในผู้ป่วยที่มีปัญหาคลอเรสเตอรอลในเลือดสูง โดยให้รับประทานน้ำมันที่สกัดจากดาวอินคา 5 หรือ10 มิลลิลิตรเป็นระยะเวลา 4 เดือน พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มมีผลคลอเรสเตอรอลทั้งหมดและไขมันที่ไม่จำเป็นในเลือดลดลง และเพิ่มระดับไขมันเอชดีแอล แสดงให้เห็นถึงว่ากรดไขมันโอเมก้า-3 ที่อยู่ในดาวอินคาออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่สกัดออกมาได้จากน้ำมันปลา

 

 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  • เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดขนาดการใช้ดาวอินคาอย่างแน่ชัด ดังนั้นในการใช้ป้องกันหรือบำบัดรักษาโรค ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
  • ไม่ควรใช้ติดต่อกันในปริมาณมากเป็นเวลานาน เพราะอาจส่งผลต่อระบบต่างๆในร่างกาย
  • ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปของดาวอินคา ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา