by author1 author1

ขั้นตอนการระเหยแอลกอฮอล์จากกระชายดำ

ขั้นตอนการระเหยแอลกอฮอล์จากกระชายดำ

1.กระชายดำที่นำมาแปรรูป  แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการหมักแอลกอฮอล์ และแยกกากแยกน้ำ

2.แปรรูปด้วย เครื่องระเหยแอลกอฮอล์ (Alcohol Recovery Evaporator) ใช้ระเหยแอลกอฮอล์นำกลับมาใช้ซ้ำ


3.ผลิตภัณฑ์สารสกัดกระชายดำที่ได้

by author1 author1

ชาแดงไต้หวัน

ชาแดงไต้หวันและประโยชน์มากมายที่คุณไม่เคยรู้

รู้หรือไม่ ว่า “ชาแดงไต้หวัน” เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวไต้หวัน ประเทศเล็กๆ ที่อาศัยอยู่บนเกาะ มีวัฒนธรรม และความโดดเด่นทางด้านอาหาร โดยเฉพาะใบชา  ที่หลายๆ คน ชอบดื่ม ด้วยรสชาติที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะชาแดงไต้หวัน ซึ่งเป็นชาสารพัดประโยชน์มากมาย ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

ชาแดง คือ การนำยอดอ่อนของชาอู่หลง มาผ่านกระบวนการนวด หลังจากนั้นจึงนำไปอบให้แห้ง เพื่อทำให้เกิดสีและรสชาติที่อยู่ระหว่างกลางของชาเขียวและชาดำ แต่ชาแดงจะมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในเรื่องของสีที่แดงสว่าง และกลิ่นของชาที่หอมละมุน

4 ประโยชน์ของ ชาแดงไต้หวัน

  • ป้องกันโรคหัวใจ การดื่มชาแดงเป็นประจำทุกวัน สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และลดระดับคอเลสตอรอลได้ถึง 5 เปอร์เซ็นต์
  • ป้องกันโรคมะเร็ง  เนื่องจากในชาแดงจะมีสารชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “ฟลาโวนอยด์” โดยสารชนิดนี้มีคุณสมบัติช่วยป้องกันหรือยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็งได้
  • ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน  ช่วยเพิ่มสารอินซูลินในการเผาผลาญไขมัน มากขึ้นถึง 150 เท่า
  • ดื่มชาเพื่อลดน้ำหนัก   เพราะ ในชามีสารที่ช่วยยับยั้งไขมัน และเผาผลาญไขมันได้มากถึง 78 แคลอรี่ อีกทั้งยังช่วยให้ระบบขับข่ายทำงานได้ดีขึ้น ควรดื่มชา วันละ 2-3 ถ้วย จะยิ่งได้ผลดีมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากดื่มชาในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจทำให้มีโทษได้เหมือนกัน ดังนั้นควรดื่มชาให้เหมาะสมในแต่ละวัน เพื่อความกลมกล่อมและสุขภาพที่ดีของตัวคุณเอง

 

แหล่งที่มา : https://crmrkitchen.com

by author1 author1

ขั้นตอนแปรรูปการต้มสกัด,ระเหยเข้มข้น และสเปรย์ดรายผงจากมะขามแดง

ขั้นตอนแปรรูปการต้มสกัด,ระเหยเข้มข้น และสเปรย์ดรายผงจากมะขามแดง


1.มะขามแดงที่นำมาแปรรูป

2. สมุนไพรที่นำมาแปรรูป แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการต้มสกัด ถังต้มกวนผสม ( HEATING MIXING TANK )ถังกวนผสมใช้กวนผสมของเหลว และให้ความร้อนด้วย HOT OIL

3.ผลิตภัณฑ์น้ำมะขามแดงที่ได้

4.แปรรูปด้วย เครื่องระเหยเข้มข้น (FALLING  FILM  EVAPORATOR) ระเหยน้ำออกจากวัตถุดิบที่มีลักษณะเป็นของเหลวเพื่อทำให้เข้มข้น

5.ผลิตภัณฑ์น้ำมะขามแดงเข้มข้นที่ได้

6.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

7.ผลิตภัณฑ์ผงมะขามแดงที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการสเปรย์ดรายผงจากกระชายขาว

ขั้นตอนการสเปรย์ดรายผงจากกระชายขาว

สกัดกระชายขาวด้วยแอลกอฮอล์ และการกลั่นแอลกอฮอล์นำกลับมาใช้

1.กระชายขาวที่นำมาแปรรูป


2.กระชายขาวที่นำมาแปรรูป แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการสกัดด้วยแอลกอฮอล์ เครื่องสกัดด่วน (HI SPEED EXTRACTOR) สามารถใช้สกัดสารสำคัญจากวัตถุดิบออกมาเป็นน้ำสกัดได้อย่างรวดเร็ว

3.ผลิตภัณฑ์น้ำสกัดจากกระชายขาวที่ได้

4.แปรรูปด้วย เครื่องระเหยแอลกอฮอล์ (Alcohol Recovery Evaporator) ใช้ระเหยแอลกอฮอล์นำกลับมาใช้ซ้ำ

5.ผลิตภัณฑ์สารสกัดกระชายขาวที่ได้

6.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

7.ผลิตภัณฑ์ผงกระชายขาวที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารละลาย Silica

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารละลาย Silica

1.สารละลาย silica ที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วยเครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงสารละลาย Silica ที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนแปรรูปการต้มสกัด,ระเหยแอลกอฮอล์,สเปรย์ดรายผงจากน้ำสมุนไพร

ขั้นตอนแปรรูปการต้มสกัด,ระเหยแอลกอฮอล์,สเปรย์ดรายผงจากน้ำสมุนไพร

1.สมุนไพรที่นำมาแปรรูป

2. สมุนไพรที่นำมาแปรรูป แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการต้มสกัด ถังต้มกวนผสม ( HEATING MIXING TANK )ถังกวนผสมใช้กวนผสมของเหลว และให้ความร้อนด้วย HOT OIL

3.ผลิตภัณฑ์น้ำสมุนไพรที่ได้

4.แปรรูปด้วย เครื่องระเหยแอลกอฮอล์ (Alcohol Recovery Evaporator) ใช้ระเหยแอลกอฮอล์นำกลับมาใช้ซ้ำ

5.ผลิตภัณฑ์น้ำสารสกัดสมุนไพรที่ได้

6.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง


7.ผลิตภัณฑ์ผงสมุนไพรที่ได้

 

by author1 author1

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นและสเปรย์ดรายผงจากน้ำซุปปลา

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นและสเปรย์ดรายผงจากน้ำซุปปลา


1.น้ำซุปปลาที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องระเหยเข้มข้น (FALLING  FILM  EVAPORATOR) ระเหยน้ำออกจากวัตถุดิบที่มีลักษณะเป็นของเหลวเพื่อทำให้เข้มข้น

3.ผลิตภัณฑ์น้ำซุปปลาเข้มข้นที่ได้


4.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง


5.ผลิตภัณฑ์ผงน้ำซุปที่ได้

by author1 author1

สมุนไพร

ข้อระวังจากการใช้สมุนไพร 

สมุนไพร ขึ้นชื่อว่ามีประโยชน์ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ มากมาย แต่ในทางตรงกันข้าม สมุนไพรก็สามารถให้โทษ และอันตรายแก่ผู้ใช้ได้ หากไม่รู้จักใช้ หรือใช้ไม่ถูกต้อง

https://www.bangkokbiznews.com/news/956061

โทษและอันตรายจากการใช้สมุนไพร ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 3 ประการ ดังนี้

  1. อันตรายที่เกิดจากโรคที่ขาดการรักษา เช่น

โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคหืด ซึ่งแพทย์ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ช่วยได้เพียงการให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ และป้องกันโรคแทรกซ้อน บางคนอาจทานยาจนเบื่อ เลยหยุดทานยา และหันมารักษาด้วยสมุนไพรแทน แต่สมุนไพรหลายชนิดอาจไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรค

นอกจากนี้ โรคที่เป็นอาจไม่แสดงอาการชัดทำให้เข้าใจว่า โรคหายแล้ว จึงหยุดการรักษาที่ถูกวิธีไป ซึ่งนานไปโรคเดิมอาจกลับมากำเริบ และส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้

  1. อันตรายที่เกิดจากฤทธิ์ของสมุนไพรโดยตรง

สมุนไพรหลายชนิด จะมีสารเคมีที่เป็นพิษร้ายแรงปะปนอยู่ ถ้าได้รับเข้าไปจะทำให้เกิดอาการจากพิษนั้น ๆ เช่น มะเกลือ ผลของมันเมื่อแก่เต็มที่จนมีสีดำ อาจจะมีสาร naphthalene ซึ่งเป็นพิษต่อประสาทตาโดยตรง หรือ ยี่โถ เราพบว่า มีพิษอยู่ในใบของมัน หากได้รับสารนี้จะทำให้หัวใจเต้นช้าลง และอาจหยุดได้

  1. อันตรายจากสารเจือปนในสมุนไพร

ซึ่งทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ทำการตรวจวิเคราะห์ยาสมุนไพร เพื่อหาสารเจือปนที่จะเป็นอันตรายพบว่า ส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของ arsenic 60% และสาร steroids กว่า 30% นอกจากนั้นยังมีสารอันตรายอื่นๆ อีกมากมาย

  • arsenic ถือว่าเป็นยาอันตราย ในตำราแพทย์โบราณ เชื่อว่าสารนี้มีคุณสมบัติกระตุ้นให้กระชุ่มกระชวย แต่ถ้ารับมากไปอาจจะเกิดพิษได้ ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษนี้อาจมีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากขึ้นด้วย
  • steroids มีคุณสมบัติบรรเทาอาการของโรคหลายชนิด หากใช้นาน ๆ จะมีอาการข้างเคียง และอันตรายมาก หากใช้ติดต่อกันนานจะทำให้ติดยา และถ้าหยุดยาเฉียบพลัน อาจทำให้ช็อคได้
  • สารปรอท หากมีผสมในสมุนไพร จะทำให้เกิดพิษ มีอาการปากเปื่อย เหงือกอักเสบ ไตวาย เป็นต้น
  • สารตะกั่ว ตะกั่วเป็นพิษทำให้มีอาการปวดท้อง โลหิตจาง กล้ามเนื้ออ่อนแรงจากปลายประสาทผิดปกติ เป็นต้น
  • การใช้สมุนไพร เปรียบเสมือนดาบสองคม สิ่งใดก็ตามที่มีประโยชน์มาก สิ่งนั้นก็อาจมีโทษได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นการใช้สมุนไพรก็ควรจะใช้อย่างระมัดระวัง ศึกษาสรรพคุณให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ หรือปรึกษาผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้

 

แหล่งที่มา : https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/

by author1 author1

ขั้นตอนการสกัดด่วนและระเหยเข้มข้นจากน้ำใบชาแดง

ขั้นตอนการสกัดด่วนและระเหยเข้มข้นจากน้ำใบชาแดง


1.ใบชาแดงที่นำมาแปรรูป


2.แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการต้มสกัด เครื่องสกัดด่วน (HI SPEED EXTRACTOR) สามารถใช้สกัดสารสำคัญจากวัตถุดิบออกมาเป็นน้ำสกัดได้อย่างรวดเร็ว

3.ผลิตภัณฑ์น้ำสกัดจากใบชาที่ได้

4. แปรรูปด้วย เครื่องระเหยเข้มข้น (FALLING  FILM  EVAPORATOR) ระเหยน้ำออกจากวัตถุดิบที่มีลักษณะเป็นของเหลวเพื่อทำให้เข้มข้น

5. ผลิตภัณฑ์น้ำใบชาแดงเข้มข้นที่ได้

by author1 author1

โหระพา

โหระพา ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

ประโยชน์และสรรพคุณโหระพา

โหระพา เป็นพืชที่มีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหารหลากชนิดในประเทศไทย ซึ่งช่วยปรุงแต่งกลิ่นรสของอาหารให้น่ากินยิ่งขึ้น ช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารหลาย ใบและยอดอ่อนใช้กินเป็นผักสด เป็นเครื่องแนมอาหารคาวหรืออาหารว่างได้เป็นอย่างดี นิยมนำมาใช้เป็นผักจิ้มหรือกินสดมากกว่ากะเพรา รวมถึงนิยมใช้กินร่วมกับอาหารที่มีรสจัดและกลิ่นแรง

ส่วนในประเทศทางตะวันตก  นิยมกินใบแห้งเป็นเครื่องเทศ และน้ำสลัดที่ใช้โหระพาเป็นส่วนผสม (pesto) เป็นน้ำสลัดที่ใช้ประจำในอาหารอิตาเลียน ส่วนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก็นิยมกินใบโหระพา แต่ใช้โหระพาจากอียิปต์ ฝรั่งเศส และมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีกลิ่นต่างจากโหระพาของไทย แลใช้น้ำมันโหระพาใช้แต่งกลิ่นซอสมะเขือเทศ ขนมผิง ลูกอม ผักดอง ไส้กรอก และเครื่องดื่ม

นอกจากนี้ โหระพามีประโยชน์ด้านอื่นๆ อีกเช่นใบและลำต้นของโหระพาเมื่อนำมากลั่นจะได้น้ำมันหอมระเหยซึ่งใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ใช้แต่งกลิ่นอาหารพวกลูกกวาด ซอสมะเขือเทศ ผักดอง น้ำส้ม ไส้กรอก เครื่องดื่มชนิดต่างๆ ฯลฯ ใช้แต่งกลิ่นยาสีฟันและยาที่ใช้กับปากและคอ  ทำโลชั่น ครีม แชมพู สบู่ ฯลฯและน้ำมันโหระพายังใช้ไล่แมลง หรือฆ่าแมลงบางชนิดได้ เช่น ยุงและแมลงวันได้อีกด้วย

สำหรับสรรพคุณทางยาของโหระพานั้น ตามตำรายาไทยระบุว่า

ใบ : มีกลิ่นฉุน รสร้อน แก้ลมวิงเวียน ขับลม แก้ท้องขึ้น ท้องอืด แก้ปวดท้อง ช่วยย่อยอาหาร

ทั้งต้น : แก้พิษตานซาง แก้เด็กนอนสะดุ้งผวาเพราะโทษน้ำดี

เมล็ด : แก้บิด ทำให้อุจจาระไม่เกาะลำไส้ เป็นยาระบาย ใช้พอกฝีรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

 

ส่วนในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน   มีผลการศึกษาวิจัยระบุว่า  ใบโหระพา มีบีต้าแคโรทีนสูง  สามารถช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดและมะเร็งได้  โดยโหระพา 1 ขีด มีบีตาแคโรทีน ถึง 452.16 ไมโครกรัม

องค์ประกอบทางเคมี

ใบโหระพา มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณร้อยละ 0.1-1.5 เมื่อทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างจาก headspace  และตรวจสอบด้วย gas chromatography พบว่า ในน้ำมันหอมระเหยประกอบด้วยสารเมทิลชาวิคอล (methylchavicol) เป็นสารหลัก (ร้อยละ 93) และสารกลุ่มเทอร์พีน ได้แก่ลินาโลออล (linalool) และซินีออล(1,8-cineol)

นอกจากนี้ ยังมีสารยูจีนอล (eugenol) กรดกาเฟอิก (caffeic acid) และกรดโรสมารินิก (rosmarinic acid)Ocimine, alpha-pinene, eucalyptol , geraniol,limonene, eugenol methyl ether.methyl cinnaminate, 3- hexen -1- ol, estragole

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของโหระพา

ที่มา : Wikipedia

 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  • หญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่กำลังให้นมบุตรสามารถรับประทานโหระพาในปริมาณปกติ ที่พบได้จากอาหารทั่วไปได้อย่างปลอดภัย แต่การใช้ในปริมาณมากอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
  • สำหรับสตรีมีครรภ์และเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี รวมถึงผู้สูงอายุ ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันหอมระเหยจากโหระพาเพราะทำให้เกิดอาการแพ้ง่าย
  • ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติอาจเสี่ยงมีเลือดออกมากยิ่งขึ้นเมื่อรับประทานน้ำมันโหระพาหรือสารสกัดจากโหระพา เนื่องจากมีฤทธิ์ชะลอการแข็งตัวของเลือด
  • เมื่อดื่มน้ำโหระพาคั้น อาจจะมีอาการข้างเคียง คือ จะทำให้มึนงงและระคายเคืองคอเล็กน้อย
  • โหระพาอาจมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต เพื่อความปลอดภัย ผู้มีความดันโลหิตต่ำควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ เพราะอาจส่งผลให้มีความดันลดต่ำเกินไปจนเป็นอันตรายได้
  • ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดควรหยุดใช้โหระพาหรืออาหารเสริมโหระพาในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้มีเลือดออกมากในระหว่างการผ่าตัด

แหล่งที่มา : https://www.disthai.com/