by author1 author1

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นจากน้ำแตงโม

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นจากน้ำแตงโม

1. น้ำแตงโมที่นำมาแปรรูป  แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการคั่น และการแยกน้ำแยกกาก

2.แปรรูปด้วย (เครื่องระเหยเข้มข้น (FALLING  FILM  EVAPORATOR) ระเหยน้ำออกจากวัตถุดิบที่มีลักษณะเป็นของเหลวเพื่อทำให้เข้มข้น

3.ผลิตภัณฑ์น้ำแตงโมเข้มข้นที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารแต่งกลิ่นเปลือกไม้แอปเปิ้ลรมควัน

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารแต่งกลิ่นเปลือกไม้แอปเปิ้ลรมควัน


1.เปลือกไม้ที่นำมาแปรรูป  แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการต้มสกัด


2.นำเข้าเครื่อง SPRAY DRYER แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

3. ผลิตภัณฑ์ผงสารแต่งกลิ่นเปลือกไม้แอปเปิ้ลรมควัน

by author1 author1

โปรไบโอติกส์ ( Probiotic )

โปรไบโอติกส์ ( Probiotic ) มีประโยชน์อย่างไรสำหรับสัตว์เลี้ยง ?

โปรไบโอติกส์ คือ แบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ของเรา  โดยมีหน้าที่หลัก คือ การรักษาสมดุลในลำไส้ ช่วยย่อยอาหารที่เราย่อยไม่ได้ เพื่อให้เราได้รับสารอาหารได้ครบถ้วน ยับยั้งแบคทีเรียที่จะก่อโรคได้ นอกจากนี้ยังทำให้เรามีร่างกายที่แข็งแรงเราสามารถรับแบคทีเรีย โปรไบโอติกส์เหล่านี้ จากอาหารที่เราทานอย่าง เช่น โยเกิร์ต กิมจิ หรือ แหนม  แต่อย่าสับสนกับ พรีไบโอติก (prebiotic)

พรีไบโอติก  คือ อาหารซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อย และไม่ถูกดูดซึมได้ในระบบทางเดินอาหาร ทั้งกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก แต่จะถูกย่อยด้วยแบคทีเรียบริเวณในลำไส้ใหญ่ โดยจะกระตุ้นการทำงานและส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์โปรไบโอติก (probiotic) มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จัดเป็นอาหารในกลุ่ม functional food

แล้วสูตรอาหารและของว่างน้อง ๆ ที่ผสมโปรไบโอติกส์ จะดีเหมือนกับที่เรารับประทานหรือไม่  ?

อยากให้ทุกคนทำความเข้าใจกันก่อนว่า แบคทีเรียในท้องของสัตว์เลี้ยงมีทั้งสายพันธุ์ที่เหมือนและต่างจากเรา  ระบบทางเดินอาหารของน้อง ๆ  ก็ต่างจากเรามากมาย  ดังนั้น การที่เราเลือกอาหารที่ผสมโปรไบโอติกส์ให้กับสัตว์เลี้ยง ต้องคำนึงถึงหลายสิ่งไม่เช่นนั้น  การทานโปรไบโอติกส์ก็จะเปล่าประโยชน์

https://www.tech-supply.co.th

 

by author1 author1

มะขามแดง

มะขามแดงสยาม

เป็นชื่อสายพันธุ์มะขามเปรี้ยวที่ให้เนื้อเป็นสีแดง แตกต่างจากมะขามเปรี้ยวที่เห็นโดยทั่วไป โดยทางสวนดวงจินดา ได้นำมาคัดเลือกสายพันธ์จากต้นแม่พันธุ์ในประเทศที่มีลักษณะเด่นในแง่ของการให้ผลดก

สำหรับความเป็นมาของมะขามเปรี้ยวเนื้อสีแดงนี้ สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากการกลายพันธุ์ แต่ไม่ทราบที่มาจากเป็นการกลายจากเมล็ดธรรมชาติหรือการผสมเกสร เมื่อไปพบต้นพันธุ์ จึงได้นำมาทดลองปลูก และดำเนินการคัดสายพันธุ์ จนได้พันธุ์ที่มีความนิ่ง ให้ผลผลิตสูง และตั้งชื่อว่าให้ว่า มะขามแดงสยาม

 

 

ลักษณะการให้ผลผลิต ปีแรกของการออกปลูกจะเริ่มติดดอก แต่จะเริ่มเก็บผลผลิตในปีที่ 2 โดยปริมาณผลผลิตมากน้อยตามอายุและความสมบูรณ์ของต้น ปกติต้นมะขามที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไปและมีการจัดการดูแลดี จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 50 – 60 กิโลกรัมต่อต้น การติดของฝักจะมีตลอดทั้งปี ฝักจะมีขนาดใหญ่ ให้เนื้อหนา ตามปกติฝักจะสุกในช่วงฤดูหนาว สามารถปลูกได้ในทุกสภาพพื้นที่ และชอบแสงแดด

  • การขยายพันธุ์

โดยการทาบกิ่ง

  • การใช้ประโยชน์

ฝักอ่อนเนื้อสีแดง ใช้ปรุงอาหารได้อร่อย อีกทั้งยังนำไปตากแห้ง บดให้เป็นผงชงรับประทานได้  ส่วนใบอ่อน ดอก  ให้รสเปรี้ยว ใส่ต้มยำ ต้มโคล้ง   ,  ฝักแก่  ใช้ทำเป็นมะขามเปียก

แหล่งที่มา : https://guikaset.blogspot.com/2016/02/blog-post_1.html

by author1 author1

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นจากน้ำแตงโม

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นจากน้ำแตงโม


1. น้ำแตงโมที่นำมาแปรรูป  แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการคั่น และการแยกน้ำแยกกาก


2.แปรรูปด้วย เครื่องระเหยเข้มข้น (FALLING  FILM  EVAPORATOR) ระเหยน้ำออกจากวัตถุดิบที่มีลักษณะเป็นของเหลวเพื่อทำให้เข้มข้น


3.ผลิตภัณฑ์น้ำแตงโมเข้มข้นที่ได้

by author1 author1

ซิลิกา (Silica)

ประโยชน์ของ ซิลิกา ( Silica / SiO2 ) และการนำไปใช้อุตสาหกรรมต่างๆ

1. ซิลิกา ( Silica / SiO2 ) ซิลิกาเป็นวัตถุดิบสำหรับเป็นส่วนผสมในวัสดุก่อสร้าง

2. ซิลิกาอสัณฐาน ( Amorphous Silica )

    • ใช้เป็นองค์ประกอบตัวเร่งปฏิกิริยา
    • ใช้เป็นสารเพิ่มความแข็งแรง และความหนาแน่นในผลิตภัณฑ์ยาง พลาสติก และโพลีเมอร์ เป็นต้น
    • ใช้เป็นสารเพิ่มแรงยึดติดในผลิตภัณฑ์กาว
    • ใช้เป็นสารลดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างของแข็งที่แขวนลอยในของเหลว
    • ใช้เป็นสารเพิ่มความหนืดในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น จารบี หมึกพิมพ์ สี ยา และเครื่องสำอาง เป็นต้น
    • ใช้เป็นสารอิมัลซิไฟเออร์ทำให้สารที่ไม่ละลายกันผสมเข้ากันได้ดี เช่น น้ำกับน้ำมัน
    • ใช้เป็นสารป้องกันการเกิดโฟม
    • ใช้เป็นสารปรับสภาพพื้นผิวให้มีคุณสมบัติชอบน้ำ
    • ใช้เป็นสารเพิ่มความเงา
    • ใช้เป็นสารดูดความชื้น
    • ใช้เป็นสารเติมแต่ง

แหล่งที่มา : https://farm.vayo.co.th/blog/silica/

by author1 author1

ขั้นตอนการทำ FLUIDIZED BED GRANULATOR จาก ผงมะขามแดง

ขั้นตอนการทำ FLUIDIZED BED GRANULATOR จาก ผงมะขามแดง

1.มะขามแดงที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องทำแกรนูลแบบฟลูอิดไดซ์เบด (Fluidized Bed Granulator) อบผงด้วยลมร้อนในตัวถังเกาะกลุ่มด้วยสารช่วยยึดเกาะ

3.ผลิตภัณฑ์ผงมะขามแดงเกาะกลุ่มที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการทำ FLUIDIZED BED GRANULATOR จาก ผงน้ำซุปปลา

ขั้นตอนการทำ FLUIDIZED BED GRANULATOR จาก ผงน้ำซุปปลา


1.ผงน้ำซุปปลาที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องทำแกรนูลแบบฟลูอิดไดซ์เบด (Fluidized Bed Granulator) อบผงด้วยลมร้อนในตัวถังเกาะกลุ่มด้วยสารช่วยยึดเกาะ

3.ผลิตภัณฑ์ผงน้ำซุปปลาเกาะกลุ่มที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นและสเปรย์ดรายจากน้ำอ้อยสกัด

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นและสเปรย์ดรายจากน้ำอ้อยสกัด

 


1.น้ำอ้อยสกัดที่นำมาแปรรูป แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการคั่น และการแยกน้ำแยกกาก


2.แปรรูปด้วย เครื่องระเหยเข้มข้น (FALLING  FILM  EVAPORATOR) ระเหยน้ำออกจากวัตถุดิบที่มีลักษณะเป็นของเหลวเพื่อทำให้เข้มข้น

3.ผลิตภัณฑ์น้ำอ้อยสกัดเข้มข้นที่ได้

4. แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

5. ผลิตภัณฑ์ผงอ้อยที่ได้

by author1 author1

กากน้ำตาล

เรื่องน่ารู้ของ กากน้ำตาล กับประโยชน์สุขภาพที่คุณอาจจะยังไม่เคยรู้

กากน้ำตาล คืออะไร

กากน้ำตาล (Molasses) หมายถึง น้ำเชื่อมแบบข้นๆ ที่เราใช้เพื่อเติมความหวาน ในอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มต่างๆ กากน้ำตาลนี้ เป็นผลพลอยได้ที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลทราย โดยการต้มน้ำอ้อยจนงวด แล้วปล่อยให้ตกผลึกเป็นน้ำตาลทราย กากน้ำตาลจะเป็นส่วนน้ำเชื่อมข้นๆ ที่หลงเหลืออยู่จากการตกผลึกนั้น

 

 

กากน้ำตาลนั้นจะมีอยู่หลายประเภท เช่น

กากน้ำตาลอ่อน (Light molasses) เป็นกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวน้ำอ้อยครั้งแรก จะมีสีอ่อนสุด และมีรสหวานที่สุด โดยปกติมักจะใช้ในการอบขนม

กากน้ำตาลเข้ม (Dark molasses) เป็นกากน้ำตาลจากการเคี่ยวน้ำอ้อยครั้งที่สอง จะมีความข้นมากกว่า และมีความหวานน้อยกว่า สามารถใช้ในการอบขนมได้ แต่เรามักจะใช้เพื่อแต่งสีและกลิ่นมากกว่า

กากน้ำตาลดำ (Blackstrap molasses) หมายถึงกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวน้ำอ้อยในครั้งที่สาม เป็นกากน้ำตาลที่มีความข้นหนืดมากที่สุด และมีสีเข้มที่สุดจนเป็นสีดำ มีรสหวานของน้ำตาลเพียงแค่ประมาณ 50% และมักจะมีรสขมปนมาด้วย ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้เป็นอาหารสัตว์ หรือใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร

กากน้ำตาลมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด

กากน้ำตาลนั้นแตกต่างจากน้ำตาลทรายที่เรากินกันอยู่เป็นประจำ เนื่องจากภายในกากน้ำตาลนั้นจะมีวิตามินและแร่ธาตุอยู่ กากน้ำตาลในปริมาณ 1 ช้อนชา หรือประมาณ 20 กรัม จะมีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้

หน่วยเป็น % ของความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน ( % Daily Value)

นอกจากคุณค่าทางโภชนาการแล้ว กากน้ำตาลยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพ  ดังต่อไปนี้

ลดความดันโลหิต

โพแทสเซียมที่สามารถพบได้มากในกากน้ำตาลนั้น สามารถช่วยลดระดับของความดันโลหิตได้ โดยภายในกากน้ำตาล 1 ช้อนชา จะให้โพแทสเซียมมากถึง 293 มก. มิหนำซ้ำ โพแทสเซียมในกากน้ำตาลยังสามารถดูดซึมได้ง่ายกว่าสารให้ความหวานอื่นๆ อีกด้วย

ป้องกันมะเร็ง

สารประกอบที่พบในกากน้ำตาลนั้นมีสรรพคุณในการต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะสารประกอบที่เรียกว่า cyanidin-3-O-glucoside chloride ที่มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

กากน้ำตาลนั้นอุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร ที่สามารถช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง สามารถปกป้องร่างกายจากโรคได้ดียิ่งขึ้น เช่น สังกะสีที่ช่วยเสริมการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว

ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนนั้นเกิดจากการที่กระดูกขาดแคลเซียม และอ่อนแอไปตามกาลเวลา ภายในกากน้ำตาล 1 ช้อนชา จะมีแคลเซียมอยู่ 41 มก. และยังมีวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ ที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กระดูกอีกด้วย

กากน้ำตาลดีกว่าน้ำตาลทราย รึเปล่านะ ?

แม้ว่ากากน้ำตาลจะปลอดภัยสำหรับการรับประทาน และมีคุณค่าทางสารอาหารมากกว่าน้ำตาลทรายที่เราบริโภคกันตามปกติ แต่สุดท้ายแล้ว กากน้ำตาลก็ยังคงเป็นน้ำตาลประเภทหนึ่ง ดังนั้นการรับประทานกากน้ำตาล จึงยังคงมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการรับประทานน้ำตาลตามปกติ

การรับประทานกากน้ำตาลในปริมาณมาก อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบต่อระบบการย่อยอาหาร และทำให้เกิดอาการท้องเสียได้

นักโภชนาการส่วนใหญ่นั้น ไม่แนะนำการรับประทานกากน้ำตาลเป็นอาหารเสริม หรือรับประทานเพื่อคุณค่าทางสารอาหารเหล่านั้น แต่หากคุณตั้งใจจะกินน้ำตาลอยู่แล้ว กากน้ำตาลก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีในการเพิ่มความหวาน เพราะจะทำให้คุณได้คุณค่าทางโภชนาการเพิ่มมากอีกด้วย

 

แหล่งที่มา : https://hellokhunmor.com