สำหรับ บริษัท ยูโร เบสท์ เทคโนโลยี จำกัด ผู้รังสรรค์ครุภัณฑ์คุณภาพเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
กระทรวงพาณิชย์ 7 มี.ค. 2566
ผู้บริหารบริษัท ยูโร เบสท์ เทคโนโลยี จำกัด และคณะกรรมการอุตสาหกรรมเครื่องจักรการเกษตร เข้าพบปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในวันอังคารที่ 7 มีนาคม 2566
เครื่องระเหยข้นแบบฟิล์มบาง Falling film evaporator
เครื่องระเหยข้นแบบฟิล์มบาง Falling film evaporator รุ่นระเหยน้ำ 40 ลิตรต่อชั่วโมง
ระเหยทำให้ของเหลวข้นด้วยความร้อนต่ำ ภายใต้สภาวะสุญญากาศ
ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่อง พร้อมขนส่งติดตั้ง
เครื่องต้มสกัด ขนาด 2000 ลิตร
เครื่องต้มสกัด ขนาด 2000 ลิตร จำนวน 2 เครื่อง
ตัวถังเป็นแบบ dimple plate jacket หุ้มฉนวน ให้ความร้อนด้วยไอน้ำ
ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่อง พร้อมขนส่งติดตั้ง
เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย
เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย (ESSENTIAL OIL DISTILLER) ขนาด 500 ลิตร
ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่อง พร้อมขนส่งติดตั้ง
ฟ้าทะลายโจร
ฟ้าทะลายโจร
ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees) เป็นสมุนไพรที่ได้รับการบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (บัญชียาจากสมุนไพร) กระทรวงสาธารณสุข มีข้อบ่งใช้ คือ แก้ไข้ เจ็บคอ รักษาอาการท้อง
เสียไม่ติดเชื้อ โดยใช้เป็นแคปซูล/ยาเม็ด/ยาเม็ดลูกกลอน
ส่วนที่ใช้ประโยชน์: ส่วนเหนือดิน (ทั้งต้น)
สารสำคัญ
สารสำคัญในการออกฤทธิ์ คือ สารกลุ่ม Lactone เช่น สารแอน-โดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) นีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (Neoandrographolide) ดิออกซีแอนโดรกราโฟไลด์ (14-Deoxyandrographolide) และดิออกซีไดดีไฮโดรแอนโดรกราโฟไลด์ (14-Deoxy-11,12-didehydroandrographolide) เป็นต้น ซึ่งมีสูตรโครงสร้างทางเคมี ดังนี้
ข้อบ่งใช้ในปัจจุบันและอนาคต
ปัจจุบันในบัญชียาจากสมุนไพร ปี 2549 ได้แบ่งยาจากสมุนไพรเป็น 2 ชนิด ได้แก่
- บัญชียาจากสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้เดิม เช่น ยาหอมนวโกฐ ยาประสะมะแว้ง ยาถ่ายดีเกลือฝรั่ง เป็นต้น
- บัญชียาพัฒนาจากสมุนไพร ได้แก่ ขมิ้นชัน ขิง ชุมเห็ดเทศ ฟ้าทะลายโจร บัวบก พริก ไพล เป็นต้น
ในบัญชียาจากสมุนไพรนี้ได้ระบุข้อบ่งใช้ของฟ้าทะลายโจรว่า ใช้รักษาอาการท้องเสียไม่ติดเชื้อ รักษาอาการเจ็บคอ (pharyngotonsillitis) บรรเทาอาการของโรคหวัด (common cold) เช่น เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ น้ำมูกไหล เป็นต้น
รูปแบบและความแรง แคปซูล /ยาเม็ด/ ยาลูกกลอน ที่บรรจุผงฟ้าทะลายโจรอบแห้ง 250, 300 และ 350 มก.
ขนาดและวิธีใช้: (รักษาอาการท้องเสียไม่ติดเชื้อ) ครั้งละ 0.5-2 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน ใช้รักษาไม่เกิน 2 วัน, (รักษาอาการเจ็บคอ) วันละ 3 – 6 กรัม แบ่งให้วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน ใช้รักษาไม่เกิน 7 วัน
แหล่งที่มา : http://www.eht.sc.mahidol.ac.th/article/1818
Coraninder seed / ลูกผักชี
Coraninder seed / ลูกผักชี
ลูกผักชี เป็นเมล็ดของ ผักชี (Cilantro) ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Coriandrum sativum เป็นพืชในตระกูล พาร์สลี (parsley) แต่คำว่า colander ใช้เฉพาะส่วนของเมล็ด
เมล็ดผักชีนำมาใช้เป็นเครื่องเทศ มีสีขาวหม่นหรือน้ำตาลซีด มีกลิ่นหอม ของน้ำมันหอมระเหย (essential oil) ความหอมจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความแก่ของเมล็ด ลูกผักชีจะมีกลิ่นรสคล้ายพืชตระกูลส้ม มะนาว
เนื่องจากมีสารในกลุ่ม terpenes linalool และ pinene คำที่ใช้อธิบายกลิ่นรสของชะเอม ได้แก่ warm, nutty, spicy,และ orange-flavoured.
สารสำคัญ เป็นนํ้ามันหอมระเหยพวก “alcohol” ประกอบด้วย 60-70% ของ
d-linalool มี geraniol และ borneol เล็กน้อย นอกจากนั้นพบ 20%ของสารพวก hydro¬carbon มีสารสำคัญเป็น α และ r-terpinene
สรรพคุณทางสมุนไพร
ลูกผักชี → แก้พิษตานซาง แก้กระหายน้ำ แก้ลมวิงเวียน แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร แก้ปวดฟัน ช่วยย่อยอาหาร ขับลม บำรุงธาตุ แก้อาการคลื่นไส้
แหล่งที่มา : http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2800/coraninder-seed
อบเชยดีอย่างไร
อบเชยดีอย่างไร
สรรพคุณทางยาของอบเชย ที่คนส่วนใหญ่นำมาใช้กัน คือ นำเปลือกของต้นมาปรุงเป็นยา เนื่องจากเปลือกของต้นอบเชยมีรสหวาน และเป็นยาที่มีฤทธิ์ร้อน จึงมักนำมาทำเป็นยาช่วยบำรุงกำลัง สร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย อีกทั้งยังช่วยแก้ในเรื่องของอาการอ่อนเพลีย แก้อาการจุกเสียด และช่วยขับลมได้ ส่วนในทางการรักษานั้น มีการนำอบเชยไปใช้กับผู้ป่วยเบาหวานเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย
แหล่งที่มา : https://manyherbs.com/blogs/benefits/cinnamon
อบเชยกับระดับน้ำตาลในเลือด
ข้อควรระวังในการใช้อบเชยในประเทศอินเดีย มีการนำอบเชยไปใช้สำหรับรักษาโรคเบาหวาน และในปัจจุบัน ก็มีงานวิจัยทั้งในสัตว์ทดลองและในคน พบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (ภาวะเบาหวานเฉียบพลัน ที่อาจเกินขึ้นตามมาจากภาวะอ้วน และขาดการออกกำลังกาย) เมื่อได้รับสารสกัดจากอบเชยแล้ว มีระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดลง จึงสรุปได้ว่า อบเชยมีผลต่อการลดระดับของน้ำตาลในเลือดได้จริง
อบเช ถือเป็นสมุนไพรที่มีระดับความปลอดภัยค่อนข้างสูง และไม่ค่อยพบอาการไม่พึงประสงค์ แต่อย่างไรก็ดี ในทางการรักษาแล้ว อบเชยมีผลต่อการลดลงของระดับน้ำตาลในเลือด เพราะฉะนั้น จึงควรระวังในการใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด เพราะ ยาทั้งสองอาจเสริมฤทธิ์กัน จนทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และอาจเกิดผลข้างเคียงตามมาได้
แหล่งที่มา : https://manyherbs.com/blogs/benefits/cinnamon
สับปะรด : ผลไม้รักษาโรค
สับปะรด : ผลไม้รักษาโรค
สับปะรดเป็นผลไม้เขตร้อนที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และมีเอนไซม์บรอมมีเลน (bromelain) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจหลายอย่าง ปัจจุบันนอกจากการนำสับปะรดมาบริโภคในรูปแบบของผลไม้สดและใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารและขนมต่างๆ แล้ว ยังมีการนำสับปะรดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลายชนิด เช่น สับปะรดกระป๋อง สับปะรดอบแห้ง สับปะรดแช่แข็ง น้ำผลไม้ น้ำส้มสายชู ไวน์สับปะรด อุตสาห์กรรมเบียร์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และการใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้กับสับปะรดได้เป็นอย่างดี
ผลของสับปะรด มีสรรพคุณในการขับเหงื่อ ห้ามเลือด แก้ทางปัสสาวะ ขับพยาธิ ฆ่าพยาธิ แก้โลหิตระดู บำรุงโลหิต แก้นิ่ว ช่วยย่อยอาหาร แก้ปัสสาวะพิการ (ปัสสาวะขัด) ขับปัสสาวะ กัดเสมหะในลำคอ
สับปะรด 100 ก. จะให้พลังงานประมาณ 50 กิโลแคลลอรี สารสำคัญที่พบในสับปะรด คือ สารในกลุ่ม phytoestrogens, isoflavones, lignans, phenolics, กรดซิตริก, กรดมาลิก, วิตามินต่างๆ รวมทั้งเอนไซม์ บรอมมีเลน โดยสับปะรดแต่ละสายพันธุ์จะมีปริมาณสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้
ที่มา : https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/429/